ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฌ็อง ฟูแก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘(?mi)\{\{Link FA\|.+?\}\}\n?’ ด้วย ‘’: เลิกใช้ เปลี่ยนไปใช้วิกิสนเทศ
Alpinu (คุย | ส่วนร่วม)
→‎งาน: French spelling (fr:Étienne Chevalier)
บรรทัด 30:
ความสามารถที่เด่นที่สุดของฟูแกคือการวาดภาพใน[[หนังสือวิจิตร]] ซึ่งทำได้อย่างคมชัดและมีรายละเอียดที่สวยงาม ฟูแกสามารถแสดงภาพที่มีพลังในการแสดงออกในเนื้อทีที่จำกัด ความสำคัญของฟูแกจะเห็นได้จากการรวบรวมงานจากทั่วยุโรปมาจัดงานแสดงภาพเขียนที่หอสมุดแห่งชาติที่ปารีส
 
งานที่สำคัญที่สุดชิ้นหนื่งของฟูแกคืองาน[[บานพับภาพ|บานพับภาพสอง]] “เมอเลิง” (Melun) ที่เขียนราวปี ค.ศ. 1450 เดิมตั้งอยู่ภายในมหาวิหารเมลุน ภาพทาง[[:Image:Jean Fouquet 006.jpg|ปีกซ้าย]]เป็นภาพของเอเตียน เชอวาลีเย (EtienneÉtienne Chevalier) และ[[นักบุญสตีเฟน]]ผู้เป็นนักบุญผู้พิทักษ์ (ปัจจุบันอยู่ที่เกอเมลเดอกาเลอรี (Gemäldegalerie) กรุง[[เบอร์ลิน]]) ทางปีกขวาเป็นภาพ[[พระแม่มารีและพระบุตร]]ล้อมรอบด้วยเทวดา (ปัจจุบันอยู่ที่[[ราชพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งชาติ]] ที่เมือง[[แอนต์เวิร์ป]] [[ประเทศเบลเยียม]]) ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมาก็เป็นที่ทราบกันว่าพระแม่มารีในรูปเป็นภาพเหมือนของแอ็กเนส ซอเรล ([[:Image:AgnesSorel11.jpeg|รูป]])<ref>Snyder, J. (1985). Northern Renaissance art painting, sculpture, the graphic arts from 1350 to 1575. New York: Abrams; p. 247</ref> [[พิพิธภัณฑ์ลูฟร์]]เป็นเจ้าของภาพเหมือนของ[[พระเจ้าชาร์ลที่ 7]], เคานท์วิลเซค (Wilczek) และ Guillaume Jouvenal des Ursins รวมทั้งภาพเขียนดินสอสี
 
ภาพเหมือนแบบจุลจิตรกรรมเป็นงานภาพเหมือนภาพแรกของศิลปะยุโรปตะวันตก นอกจากว่าจะนับภาพที่เขียนโดยยาน แวน เอคซึ่งนักประวัติศาสตร์ศิลปะเชื่อกันว่าเป็นภาพแรก