ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2519"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ปรับปรุงเนื้อหาครั้งใหญ่
บรรทัด 1:
{{เพิ่มอ้างอิง}}
 
{{Infobox military conflict
| conflict = รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2519
| partof = [[เหตุการณ์ 6 ตุลา]]
| partof =
| image =
| caption =
| caption = พลเอก [[ประยุทธ์ จันทร์โอชา]] พร้อมผู้บัญชาการเหล่าทัพ ประกาศยึดอำนาจการปกครองประเทศ ทาง[[โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย]]
| date = 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519, 18.00 น.
| สาเหตุ = [[เหตุการณ์ 6 ตุลา]]
เส้น 26 ⟶ 25:
}}
 
'''รัฐประหาร 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519''' เกิดขึ้นในเวลา 18.00 น. ของวันที่ [[6 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2519]]<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2519/A/120/1.PDF แถลงการณ์ของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน (แถลงการณ์การยึดอำนาจการปกครอง)]</ref> อันเนื่องจากเหตุการณ์การสังหารหมู่ที่[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] [[ท่าพระจันทร์]] ที่เกิดขึ้นมาตลอดช่วงวันนั้นที่เรียกว่า [[เหตุการณ์ 6 ตุลา]] รัฐบาลพลเรือนโดย [[หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช]] [[นายกรัฐมนตรีไทย|นายกรัฐมนตรี]]และรัฐมนตรีว่าการ[[กระทรวงมหาดไทย]] ไม่อาจควบคุมสถานการณ์ให้อยู่ในความสงบเรียบร้อยได้ คณะนายทหาร 3 เหล่าทัพและ[[รายนามอธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ|อธิบดีกรมตำรวจ]] นำโดย พลเรือเอก[[สงัด ชลออยู่]] รัฐมนตรีว่าการ[[กระทรวงกลาโหม (ประเทศไทย)|กระทรวงกลาโหม]] จึงจำเป็นต้องยึดอำนาจการปกครองไว้ โดยใช้ชื่อว่า '''คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน'''
 
โดยคณะนายทหารได้เชิญ ม.ร.ว.[[เสนีย์ ปราโมช]] นายกรัฐมนตรีไปปรึกษาหารือที่[[กองบัญชาการทหารสูงสุด]]ที่[[สนามเสือป่า]] รวมทั้งได้ร่วมรับประทาน[[โต๊ะจีน]]และพักค้างคืนด้วยกัน จนกระทั่งรุ่งเช้าของวันที่ [[7 ตุลาคม]] ม.ร.ว.[[เสนีย์ ปราโมช]] จึงลากลับไป
 
คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินได้ออกประกาศคณะปฏิรูปออกมาหลายฉบับ โดยมากมีเนื้อหาควบคุมเพื่อสถานการณ์ให้อยู่ในความสงบเรียบร้อย โดยประกาศฉบับหนึ่งที่ความสำคัญคือ ประกาศฉบับที่ 5 ที่ว่าด้วยการควบคุมสื่อมิให้เผยแพร่ภาพและเนื้อหาที่เกิดขึ้นใน[[เหตุการณ์ 6 ตุลา]] เป็นเวลา 3 วัน คือตั้งแต่วันที่ [[6 ตุลาคม]] - [[9 ตุลาคม]] ซึ่งในช่วงเวลา 3 วันนั้นเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวจนบัดนี้ที่[[หนังสือพิมพ์]]หลายฉบับถูกห้ามตีพิมพ์และจัดจำหน่าย และประกาศคณะปฏิรูปฉบับนี้ได้ครอบคลุมรวมถึงสื่อทุกสื่อรวมถึง[[โทรทัศน์]]ด้วย<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2519/A/120/15.PDF คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 5] (มีสถานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ คำสั่งให้สื่อมวลชนอยู่ในความควบคุมของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน)</ref>
 
คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินได้แต่งตั้งให้[[ธานินทร์ กรัยวิเชียร]]ดำรงตำแหน่ง[[นายกรัฐมนตรี]] โดยนายทหารในคณะปฏิรูปการปกครองได้เปลี่ยนสถานะของตัวเองเป็น '''สภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน''' มีสมาชิก 340 คน ทำหน้าที่เหมือนรัฐสภาและฝ่ายนิติบัญญัติ ให้การสนับสนุนรัฐบาลธานินทร์ โดยที่คณะรัฐมนตรีธานินทร์มีรัฐมนตรี 17 คนเท่านั้น และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้แก่ พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ นั่นเอง ซึ่งนายธานินทร์ได้ให้สัมภาษณ์[[สื่อมวลชน]]ต่อมาว่า รัฐบาลเสมือน[[หอย]]ที่อยู่ในเปลือก โดยมีนัยถึงเป็นรัฐบาลที่มีคณะนายทหารคอยให้ความคุ้มกัน จึงได้รับฉายาว่า '''รัฐบาลหอย'''
 
รัฐบาล[[ธานินทร์ กรัยวิเชียร]] ดำเนินนโยบายทางการเมืองอย่างขวาตกขอบ มีการจับกุมและทำร้ายผู้ที่สงสัยว่าอาจกระทำการเป็น[[คอมมิวนิสต์]]อย่างรุนแรง โดยอาศัย[[s:รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2519]] มาตราที่ 21 จึงทำให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจสูงสุด
 
แต่ทว่า การดำเนินงานของรัฐบาล[[ธานินทร์ กรัยวิเชียร]] ประสบกับปัญหาตลอด ทั้งเหตุการณ์การก่อการร้ายโดย[[คอมมิวนิสต์]] และปัญหาภายในรัฐบาลเอง เช่น การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เป็นไปด้วยความล่าช้าอีกทั้งบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญที่ออกมามีแผนพัฒนา[[ประชาธิปไตย]]นานถึง 3 ขั้น กินเวลา 12 ปี ไม่ทันการกับสถานการณ์ปัจจุบัน หรือ การเกิดเหตุการณ์[[กบฏ 26 มีนาคม 2520]] โดย พลเอก [[ฉลาด หิรัญศิริ]] การปราบปรามผู้ที่รัฐบาลเห็นว่าเป็นคอมมิวนิสต์อย่างเข้มข้น จนหลายครั้งปราศจากการตรวจสอบ ส่งผลให้มีนักศึกษาและปัญญาชนจำนวนมากที่มีความคิดทางการเมืองแตกต่างจากรัฐบาลต้องหลบหนีเข้าป่าเข้าร่วมกับ[[พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย]] (พคท.) สถานการณ์ของประเทศเกิดความแตกแยกอย่างรุนแรง ในที่สุดคณะนายทหารในสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินชุดเดิมที่นำโดย พล.ร.อ.[[สงัด ชลออยู่]] จึง[[รัฐประหาร 20 ตุลาคมในประเทศไทย พ.ศ. 2520|รัฐประหารได้ยึดอำนาจการปกครองประเทศอีกครั้ง]]ในวันที่ [[20 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2520]] และแต่งตั้ง พล.อ.[[เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์]] ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน สถานการณ์ต่าง ๆ จึงเริ่มคลี่คลาย เมื่อรัฐบาลพล.อ.[[เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์]] ได้ออกกฎหมายนิรโทษกรรม กลุ่มนักศึกษาปัญญาชนที่หลบหนีเข้าป่า จึงเริ่มทยอยกลับคืนสู่เมืองอีกครั้ง
 
อนึ่ง ในวันรัฐประหารเมื่อคืนวันที่ [[6 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2519]] นั้น ม.ร.ว.[[เสนีย์ ปราโมช]] ได้บันทึกไว้ในหนังสือชีวลิขิต ซึ่งเป็นหนังสืออัตชีวประวัติของท่าน ได้บอกว่า คณะปฏิรูป ฯ จะให้ท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป แต่ท่านตอบปฏิเสธ จึงได้ขอให้ท่านรับเป็นหัวหน้าในการรัฐประหารครั้งนี้ ซึ่งท่านก็ตอบปฏิเสธอีก พล.ร.อ.[[สงัด ชลออยู่]] ได้บอกกับท่านว่า มีความจำเป็นต้องยึดอำนาจ ไม่เช่นนั้นทหารอีกกลุ่มจะทำการในเวลา 04.00 น. ของวันที่ [[7 ตุลาคม]] ซึ่ง ม.ร.ว.เสนีย์ สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นคณะของ พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ อีกทั้งก่อนหน้านั้น พล.ร.อ.สงัดได้เคยเตือนท่านมาครั้งหนึ่งว่า ทหารจะรัฐประหารและมีผู้ชักชวนท่านให้ทำการด้วย อีกทั้งท่านยังสงสัยในพฤติกรรมของบุคคลร่วมรัฐบาลบางคน ในการประชุมสถานการณ์ในเช้าวันที่ 6 ตุลาคม ที่[[ทำเนียบรัฐบาล]] เนื่องจากเข้า ๆ ออก ๆ ที่ประชุมตลอด ว่าอาจรู้เห็นเป็นใจกับกลุ่มบุคคลที่เข้าทำร้ายกลุ่มนักศึกษาผู้ชุมนุมหรือรู้เห็นเป็นใจกับคณะนายทหารอีกคณะหนึ่งที่ พล.ร.อ.สงัดอ้างว่าจะรัฐประหาร (ในหนังสือ ม.ร.ว.เสนีย์ ระบุว่าเป็นสมาชิก[[พรรคชาติไทย]] อันได้แก่ พล.ต.อ.[[ประมาณ อดิเรกสาร]] และ พล.ต.[[ชาติชาย ชุณหะวัณ]])<ref name="ชีวลิขิต">{{อ้างหนังสือ
|ผู้แต่ง=ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
|ชื่อหนังสือ=ชีวลิขิต
เส้น 47 ⟶ 46:
|ISBN= 974-9353-50-1
|จำนวนหน้า=90
}}</ref>
</ref>
 
== อ้างอิง ==