ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอพนัสนิคม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘โพธิ์สัตว์’ ด้วย ‘โพธิสัตว์’
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘ขมักเขม้น’ ด้วย ‘ขะมักเขม้น’
บรรทัด 50:
พฤติการณ์ที่เจ้าอนุวงศ์ทรงคิดกบฏแข็งเมืองต่อราชอาณาจักรสยามครั้งนี้ ได้เป็นที่ไม่พอใจของท้าวพญาและชาวเวียงจันทน์ด้วยกันเอง ได้แก่พระอินทอาษาหรือท้าวทุม ชาวเวียงจันทน์ ไม่เข้าด้วยกับพวกเจ้าอนุวงศ์จึงได้รวบรวมท้าวพญาและเหล่าครอบครัวชาวลาวเวียงจันทน์ พากันเดินทางจากกรุงเวียงจันทน์เข้ามาสู่ราชอาณาจักรสยามจนถึงกรุงเทพฯ เพื่อขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้โปรดรับไว้และจัดให้ออกไปตั้งภูมิลำเนาอยู่ที่ชายเมืองระหว่าง[[เมืองชลบุรี]]กับ[[เมืองฉะเชิงเทรา]]ต่อกัน
 
พระอินทอาษากับเหล่าท้าวพญาและครอบครัวชาวลาวกรุงเวียงจันทน์ เมื่อได้รับพระราชทานที่ทางทำมาหากินเช่นนั้น ก็พากันขมักเขม้นขะมักเขม้นสร้างที่ดินซึ่งขณะนั้นเป็นป่าอยู่ทั่วๆไป ได้ประกอบการทำมาหากินโดยซื่อสัตย์สุจริต จนตั้งหลักฐานเป็นหมู่บ้านใหญ่มีผู้คนอยู่กันเป็นปึกแผ่นแน่นหนาและเรียกชื่อในขณะนั้นว่าบ้านแดนป่าพระรศตามนิยายเก่าเรื่องพระรถ-เมรี
 
เมื่อมีผู้คนพลเมืองมากขึ้นเพื่อสะดวกแก่การปกครอง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้ยกหมู่บ้านแดนป่าพระรศ ขึ้นเป็นเมืองเรียกว่า "เมืองพนัสนิคม" เป็นชื่อฟังเพราะเหมาะสม และมีความหมาย ที่ได้ความอยู่ในตัว คือ "พนัส" แปลว่าป่า นิคมแปลว่าหมู่บ้านใหญ่หรือตำบล เมื่อรวมความตามศัพท์ พนัสนิคม ก็แปลได้ใจความว่า หมู่บ้านใหญ่หรือตำบลที่มีภูมิประเทศเป็นป่า ในเรื่องการปกครองเมื่อได้ยกแดนป่าพระรศซึ่งพระอินทอาษาได้พาพรรคพวกมาตั้งภูมิลำเนาแล้ว โปรดเกล้าให้ตั้งพระอินทอาษาเป็นผู้ปกครองเมือง เรียกกันในสมัยนั้นว่าผู้สำเร็จราชการเมืองพนัสนิคม และให้เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองโดยการสืบสายสกุล เมืองพนัสนิคมได้มีผู้สำเร็จราชการสืบสายสกุลกันมาได้ 4 ชั่วอายุ คือ