ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฟ. ฮีแลร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 38:
ในเรื่องของการสร้างตึกเพื่อขยายสถานศึกษานั้น ท่านพบอุปสรรคนานัปการ โดยเฉพาะในช่วงขัดสนเงินทอง จะเรี่ยไรค่อนข้างยากลำบาก อาศัยวิธีกู้เงินจากผู้ปกครองนักเรียน คือใครอุทิศเงินให้โรงเรียนหนึ่งหมื่นบาท บุตรจะเรียนได้โดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียนเลย จนกว่าจะจบหลักสูตรวิธีการเช่นนี้ ทำให้มีการครหานินทาว่าโรงเรียนอัสสัมชัญเก็บเงิน[[แป๊ะเจี๊ยะ]]อยู่ในสมัยนั้นนานทีเดียว
 
ในช่วงหลัง[[สงครามโลก]] ชีวิตการงานของท่านดูจะไม่เหมือนเดิม ด้วยชีวิตที่รีบเร่งเกินไป เมืองไทยเปลี่ยนไปเร็วนักสำหรับท่าน คนโกงมากขึ้น คนไม่รับผิดชอบต่อการงานมากขึ้น ท่านเริ่มรู้สึกเหนื่อยและเบื่อหน่าย จนกระทั่งตอนเห็นพิธีเปิดหอประชุมสุวรรณสมโภช มีทั้งผู้ใหญ่และเพื่อนเก่า เช่น เจษฎาจารย์ไมเกิลได้เดินทางจาก[[ประเทศอินเดีย]]มาร่วมงานด้วย ท่านจึงรู้สึกว่า “คุ้มเหนื่อย” หลังจากนั้นไม่ถึงปี ท่านก็ป่วยเป็น[[โรคเบาหวาน]]ถึงกับต้องส่ง[[โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์]] เข้าใจกันว่าท่านคงจะไม่ฟื้นแล้ว [[เอกอัครราชทูต]]ฝรั่งเศสได้ให้เกียรติมอบ[[เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงโดเนอร์เลฌียงดอเนอร์]]ให้ท่าน
 
ระหว่างที่เป็นโรคชรามีอาการหลงลืมและมีอาการน่าเป็นห่วงหลายครั้ง แต่ท่านก็มีอายุมาถึง 87 ปี แล้ววาระสุดท้ายของท่านก็มาถึงเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2511 ตามคำวินิจฉัยของแพทย์ว่า[[เส้นโลหิตฝอยแตก]] ศิษยานุศิษย์ได้เชิญศพมาตั้ง ณ [[หอประชุมสุวรรณสมโภช]] โดยมี[[อัครมุขนายก]]ทำ[[พิธีมิสซา]]ปลงศพเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม ปีเดียวกัน