ผลต่างระหว่างรุ่นของ "งูกะปะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 47:
ลักษณะหัวเป็น[[รูปสามเหลี่ยม]] คอเล็ก ลำตัวอ้วน หางเรียวสั้น มีลายเป็นรูปเหมือนหลังคาบ้านอยู่ด้านข้างตลอดลำตัว มีสีเทาอมชมพูลายสีน้ำตาลเข้ม เกล็ดมีขนาดใหญ่ จะงอยปากงอนขึ้นข้างบน หากินเวลาพลบค่ำและ[[กลางคืน]] โดยเฉพาะในเวลาที่มี[[ความชื้น]]ใน[[อากาศ]]สูง เช่น หลัง[[ฝน]]ตก ชอบอาศัยในดินปนทรายที่มีใบไม้หรือเศษซากไม้ทับถมกันเพื่อซ่อนตัว เป็นงูที่ไม่ปราดเปรียว เวลาตกใจจะงอตัวหรือขดนิ่ง แต่ฉกกัดรวดเร็วมาก กินอาหารได้แก่ สัตว์ขนาดเล็ก เช่น [[หนู]], [[นก]] หรือ[[สัตว์เลื้อยคลาน]]ขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ประมาณ 1 [[เมตร]] ออกไข่ครั้งละ 10-20 ฟอง<ref>[http://www.2snake2fish.com/snake/viperidae/malayan%20pit%20viper.html งูกะปะ]</ref>ในตัวที่มีสีคล้ำเรียกว่า "งูปะบุก"<ref>[http://dict.longdo.com/index.php?lang=en&search=*ปะบุก* ความหมายของคำว่า กะปะ ตาม[[พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542]]]</ref>
 
พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาค[[อินโดจีน]]ไปจนถึง[[แหลมมลายู]] สำหรับใน[[ประเทศไทย]]พบได้ทั่วทุกภาค แต่จะพบมากที่สุดใน[[ภาคใต้]] เป็นงูที่ปรับตัวให้อาศัยอยู่ในพื้น ๆ ที่มีการทำ[[เกษตรกรรม]]ได้ เช่น [[สวน]][[ยางพารา]]หรือสวน[[ปาล์มน้ำมัน]] จึงมักจะมีผู้ถูกกัดอยู่บ่อย ๆ นับเป็นงูพิษที่มีอันตรายต่อมนุษย์มากที่สุดที่พบในประเทศไทย ซึ่งพิษของงูกะปะนั้นมีผลต่อระบบประสาทเลือด เมื่อถูกกัดภายใน 10 [[นาที]]หลังบริเวณรอบแผลที่ถูกกัดจะบวมขึ้นย่างรวดเร็วจนกระทั่งแขนหรือขาข้างนั้นบวมไปหมดภายใน 1 ชั่วโมง โดยในรอยเขี้ยวจะมีเลือดไหลตลอดเวลา บริเวณแขนขาที่บวมจะมีสีเขียวคล้ำ ผิวหนังเกิดพองตอนแรกมีน้ำใสต่อมาภายหลังมีเลือด ภายหลังถูกกัดไม่กี่วันรอยเขี้ยวจะเกิดการเน่า ทำให้ผิวหนังมีเลือดออกเป็นรอยคล้ำ เลือดออกทางเดินอาหาร ผู้ที่โดนกัดจะ[[เสียชีวิต]]ได้จาก[[ความดันโลหิตต่ำ]]<ref>[http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/snake/malayanbite.htm งูพิษ/งูกะปะ]</ref>
 
== อ้างอิง ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/งูกะปะ"