ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรีย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘(?mi)\{\{Link FA\|.+?\}\}\n?’ ด้วย ‘’: เลิกใช้ เปลี่ยนไปใช้วิกิสนเทศ
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘กรุง\[\[เคียฟ\]\]’ ด้วย ‘เคียฟ
บรรทัด 48:
ในวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2451 เกิดการขัดแย้งทางการเมืองภายในจักรวรรดิออตโตมัน พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ได้ประกาศตนเป็น "สมเด็จพระเจ้าซาร์" และทรงประกาศอิสรภาพบัลแกเรียจากจักรวรรดิออตโตมันอย่างสมบูรณ์<ref>Dimitrina Aslanian, Histoire de la Bulgarie de l'Antiquité à nos jours p.273 </ref>
 
ในปีพ.ศ. 2454 เจ้าชายบอริสทรงเดินทางไปยังประเทศต่างๆเพื่อเป็นตัวแทนของบัลแกเรียในเวทีโลก<ref>Constant Schaufelberger, La destinée tragique d’un roi. p.24 </ref> เช่น ทรงเข้าร่วมพระราชพิธีราชาภิเษกของ[[สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร]]ที่กรุง[[ลอนดอน]] และพระราชพิธีฝังพระศพ[[มาเรีย เพียแห่งอิตาลี สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส|สมเด็จพระราชินีมาเรีย เพียแห่งโปรตุเกส]]ที่เมือง[[ตูริน]] ทำให้มีการติดต่อกับระดับผู้นำประเทศตางๆ ในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2454 ทรงเข้าเยี่ยมพระบิดาอุปถัมภ์คือ [[สมเด็จพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย]] ทรงได้เป็นพยานในเหตุการณ์สำคัญคือ การลอบสังหาร[[พอยเทอ สตอฟพิน]] นายกรัฐมนตรีรัสเซีย ซึ่งทรงเห็นด้วยพระองค์เองที่โรงละครโอเปร่าในกรุง[[เคียฟ]]
 
ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2455 เจ้าชายบอริสทรงเฉลิมฉลองวันประสูติครบรอบ 18 ชันษา และทรงบรรลุนิติภาวะ ในเดือนเดียวกันพระองค์ได้ดำรงเป็นนายทหารและเป็นนายกองร้อยที่ 6<ref>Nikolaĭ Petrov Nikolaev, La destinée tragique d’un roi. p.119 </ref> 9 เดือนหลังจากเริ่มต้น[[สงครามบอลข่านครั้งที่ 1]]ที่ซึ่ง[[เซอร์เบีย]],[[กรีซ]],[[มอนเตเนโกร]]และ[[บัลแกเรีย]]ร่วมกันต่อต้าน[[จักรวรรดิออตโตมัน]]เพื่ออิสรภาพแห่ง[[ภูมิภาคมาซิโดเนีย]] โดยพระองค์ทรงเข้าร่วมรบในแนวหน้าของสมรภูมิ หลังจากได้รับชัยชนะแต่บัลแกเรียไม่ได้ผลประโยชน์เท่าที่ควร ทำให้บัลแกเรียตัดสินใจเข้าโจมตีอดีตพันธมิตรในพ.ศ. 2456 กลายเป็น[[สงครามบอลข่านครั้งที่ 2]] ซึ่งจบลงด้วยโรคระบาด กองทัพถูกทำลายยับเยินด้วยอหิวาตกโรค <ref>ibid. p.120</ref>