ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จตุคามรามเทพ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
 
== ความหมายและความเชื่อ ==
ชาว[[นครศรีธรรมราช]] มีคติความเชื่อที่ว่า '''องค์จตุคาม''' คือ พระเสื้อเมือง '''จตุ''' หมายถึง สี่ คาม (คาม-มะ) '''เขตคาม''' หมายถึง อาณาเขตหรือบ้าน เมื่อรวมกันนัยความหมายที่มากกว่าความเป็นทิศทั้ง 4 ของบ้าน หรืออาณาเขต คือทิศทั้งสี่ซึ่งหมายถึงทิศที่มีท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ดูแลอยู่ ความหมายของจตุคามจึงเป็น ตำแหน่งของผู้เป็นใหญ่ทั้งสี่ทิศมีท้าวจตุมหาราช ปกป้องคุ้มครองดูแล พระเสื้อเมืองจึงมีความหมายที่ควรเป็นตำแหน่งๆตำแหน่ง ๆ หนึ่ง เพียงแต่ปราชญ์โบราณของเมืองสมมติขึ้นเป็นท้าวจตุคาม ผู้เป็นใหญ่ใน 4 ทิศ
 
องค์รามเทพ คำว่า ราม มีรากฐานมาจากพระราม ที่หมายถึง[[พระนารายณ์]]อวตารลงมาเป็นพระมหากษัตริย์ คำว่าเทพ ก็คือ[[เทวดา]] นัยความหมายคือเป็นพระมหากษัตริย์ที่เป็นสมมติเทพเมื่อองค์รามเทพเป็นพระทรงเมือง คำว่าทรงเมืองพ้องกับคำว่า ครองเมือง นั่งเมือง หรือผู้ปกครองบ้านเมืองซึ่งก็คือเจ้าเมืองหรือ[[พระมหากษัตริย์]]
 
เชื่อกันว่าเดิมนั้น องค์จตุคามรามเทพ เป็นกษัตริย์ในสมัย[[อาณาจักรนครศรีธรรมราช]] มีพระนามอย่างเป็นทางการว่า '''[[พระเจ้าจันทรภาณุ]]''' เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 2 ของ[[ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช]] เชื่อว่ามีพระวรกายเป็นสีเข้ม เป็นกษัตริย์นักรบที่แกร่งกล้า เมื่อสถาปนาอาณาจักรศรีวิชัยได้อย่างมั่นคงแล้ว จึงได้สมัญญานามว่า "ราชันดำแห่งทะเลใต้" หรือมีอีกราชสมัญญานามนึงว่า "พญาพังพกาฬ" และต่อมาสำเร็จวิชา[[จตุคามศาสตร์]] และทรงบำเพ็ญบุญเพื่อสร้างบารมีอธิษฐานจิตเป็น[[พระโพธิสัตว์]] เพื่อบรรเทาทุกข์แก่มนุษย์ทั้งปวง[[ไฟล์:trr.gif|thumb|right|ตราประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมีรูปพระบรมธาตุอยู่ตรงกลาง]] แต่หากเชื่อกันว่าจตุคามรามเทพคืออดีตกษัตริย์ศรีวิชัยแล้ว ดังเช่น[[พระเจ้าวิษณุราช]]ที่ปรากฏในหลักจารึกกรุงศรีวิชัย อยู่ในราว พ.ศ. 1318 ผู้สร้างพระบรมธาตุเมืองนครฯ จะดูขัดแย้งกันเพราะ เป็นยุคสมัยที่ห่างจากพระเจ้าจันทราภาณุจันทรภาณุ ก่อนถึง 400 ปี
 
พระบรมธาตุปรากฏชัดว่า มีสององค์ คือองค์จตุคามกับท้าวรามเทพ แต่ภายหลังได้รวมเป็นองค์จตุคามรามเทพเพียงองค์เดียว ก็มิได้ผิดจากหลักศาสตร์ของการสร้าง เฉกเช่นการอธิบายในหลักของตรีมูรติ ของศาสนาฮินดูที่เป็นการรวมกันของมหาเทพทั้ง 3 พระองค์ ดังนั้น จตุคามรามเทพ จึงหมายถึง ดวงพระวิญญาณแห่งอดีตบูรพกษัตริยาธิราชเจ้าผู้มาสถิตย์เป็นผู้คุ้มครองดูแลบ้านเมืองทั้งสี่ทิศทรงฤทธิ์อำนาจอย่างเต็มเปี่ยม ทั้งยังเพียบพร้อมไปด้วยบารมีธรรม 10 ประการ แห่งพระโพธิสัตว์ ผู้มีความเมตตาต่อมนุษย์ผู้ทุกนาม เป็นพระเทวราชโพธิสัตว์
บรรทัด 13:
จตุคามรามเทพ มีบริวารเป็นทหารกล้า 4 นาย คือ พญาชิงชัย, พญาหลวงเมือง, พญาสุขุม และพญาโหรา เป็นกำลังหลักในการปราบพราหมณ์ที่เคยปกครองเมืองอยู่ก่อน เมื่อได้บ้านเมืองแล้ว ก็ได้สร้างพระบรมธาตุ สถาปนาเมือง 12 นักษัตร หรือกรุงศรีธรรมาโศกราช ฝังรากฐานพระพุทธศาสนาอย่างถาวร จนได้รับเทิดพระเกียรติว่า พญาศรีธรรมาโศกราช หรือ พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช
 
ปัจจุบัน จตุคามรามเทพ ได้รับความนับถืออย่างกว้างขวาง โดยเชื่อว่าทรงฤทธานุภาพในทุก ๆ ด้าน ตามจารึกของชาวศรีวิชัยได้บอกว่า " มีอานุภาพดุจดังพระอาทิตย์และพระจันทร์ ที่ขจัดความมืดมัวในโลก "
การขออธิษฐานจากพระองค์นั้นทำได้โดยมีเงื่อนไข 3 ประการ