ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คลื่นวิทยุ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Boom1221 (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 5961659 สร้างโดย Ratsamee (พูดคุย)
Ratsamee (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
[[เจมส์ เคลิร์ก แมกซ์เวลล์]] เป็นผู้ค้นพบระหว่างการตรวจสอบทางคณิตศาสตร์ เมื่อ ปี ค.ศ. 1865 จากการสังเกตคุณสมบัติของแสงบางประการที่คล้ายคลึงกับคลื่น และคล้ายคลึงกับผลการเฝ้าสังเกตกระแสไฟฟ้าและแม่เหล็ก เขาจึงนำเสนอสมการที่อธิบายคลื่นแสงและคลื่นวิทยุในรูปแบบของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เดินทางในอวกาศ ปี ค.ศ. 1887 [[เฮนริค เฮิร์ตซ]] ได้สาธิตสมการของแมกซ์เวลล์ว่าเป็นความจริงโดยจำลองการสร้างคลื่นวิทยุขึ้นในห้องทดลองของเขา หลังจากนั้นก็มีสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย และทำให้เราสามารถนำคลื่นวิทยุมาใช้ในการส่งข้อมูลผ่านห้วงอวกาศได้
 
[[นิโคลา เทสลา]] และ[[กูลเยลโม มาร์โกนี]] ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ประดิษฐ์ระบบที่นำคลื่นวิทยุมาใช้ในการสื่อสาร<ref>[http://inventors.about.com/od/rstartinventions/a/radio.htm The Invention of Radio]</ref><ref>[http://www.ece.umd.edu/~taylor/frame7.htm A Gallery of Electromagnetic Personalities]</ref><ref>http://th49.ilovetranslation.com/sIEQ0VQrfiS=d/</ref>
 
คลื่นวิทยุมีความถี่ช่วง 104 - 109 Hz( เฮิรตซ์ ) ใช้ในการสื่อสาร คลื่นวิทยุมีการส่งสัญญาณ 2 ระบบคือ
 
ระบบเอเอ็ม (A.M. = amplitude modulation)
ระบบเอเอ็ม มีช่วงความถี่ 530 - 1600 kHz( กิโลเฮิรตซ์ ) สื่อสารโดยใช้คลื่นเสียงผสมเข้าไปกับคลื่นวิทยุเรียกว่า "คลื่นพาหะ" โดยแอมพลิจูดของคลื่นพาหะจะเปลี่ยนแปลงตามสัญญาณคลื่นเสียง ในการส่งคลื่นระบบ A.M. สามารถส่งคลื่นได้ทั้งคลื่นดินเป็นคลื่นที่เคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงขนานกับผิวโลกและคลื่นฟ้าโดยคลื่นจะไปสะท้อนที่ชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ แล้วสะท้อนกลับลงมา จึงไม่ต้องใช้สายอากาศตั้งสูงรับ
 
ระบบเอฟเอ็ม (F.M. = frequency modulation)
ระบบเอฟเอ็ม มีช่วงความถี่ 88 - 108 MHz (เมกะเฮิรตซ์) สื่อสารโดยใช้คลื่นเสียงผสมเข้ากับคลื่นพาหะ โดยความถี่ของคลื่นพาหะจะเปลี่ยนแปลงตามสัญญาณคลื่นเสียง ในการส่งคลื่นระบบ F.M. ส่งคลื่นได้เฉพาะคลื่นดินอย่างเดียว ถ้าต้องการส่งให้คลุมพื้นที่ต้องมีสถานีถ่ายทอดและเครื่องรับต้องตั้งเสาอากาศสูง ๆ รับ
 
การส่งกระจายเสียง จะใช้คลื่นวิทยุที่มีความถี่โดยเฉพาะ เพราะถ้ามีการใช้คลื่นความถี่เดียวกันระยะใกล้ เข้าเครื่องรับพร้อมกันจะทำให้เกิดเสียงรบกวน แต่ถ้าส่งคลื่นวิทยุในระยะห่างกันมากๆ อาจทำสถานีทั้งสองสามารถใช้ความถี่เดียวกันได้และไม่เกิดเสียงรบกวน
 
คลื่นวิทยุที่มีความถี่นอกเหนือช่วงส่ง อาจนำไปใช้ในการสื่อสารเฉพาะกรณี เช่น การสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจ ระหว่างหน่วยงานราชการ เป็นต้น ปัจจุบันราชการไม่อนุญาติให้เอกชนมีเครื่องส่งวิทยุในครอบครอง ยกเว้นเพื่อการสาธารณะประโยชน์หรือกิจการวิทยุสมัครเล่น
 
 
 
 
== อ้างอิง ==
 
{{รายการอ้างอิง}}