ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อนุสาวรีย์เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Liger (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ภาพ:Leg_text2_04.gif|thumb]]
ด้วยความปรารถนาจะสร้างอนุสรณ์สถานเพื่อเทิดพระเกียรติ พลโท '''[[เจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต]]''' ดังนั้นใน วันที่ ๒๕ ตุลาคม [[พ.ศ. 2516|พ.ศ. ๒๕๑๖]] สมัยนายสุเชฎฐ วิชชวุต เป็นอาจารย์ใหญ่และ นายสุนทร สุวรรณอัตถ์ เป็นนายกสมาคม ได้ประชุมคณะกรรมการสมาคมนักเรียนเก่าโรงเรียนบุญวาทย์ฯ ร่วมกับคณะผู้บริหารโรงเรียน ที่ประชุมลงมติให้จัดสร้างพระอนุสาวรีย์ พลโท เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต ขึ้น เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณและสักการบูชา เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อท่านผู้สถาปณาโรงเรียน ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ สมัยนายเจือ หมายเจริญ เป็นอาจารย์ใหญ่ นายพินิจ จันทรสุรินทร์ เป็นนายกสมาคมฯ มีมติให้จัดทำเหรียญพ่อเจ้าบุญวาทย์ฯ ให้ประชาชนชาวลำปาง เช่าบูชาโดยกราบนิมนต์ ครูบาเจ้า หลวงพ่อเกษม เขมโก ปห่งแห่งสุสานไตรลักษณ์ แผ่เมตตาปลุกเสกการจัดทำเหรียญดังกล่าวมาสำเร็จในสมัย นายสมชาย นพเจริญ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน โดยผ่านการติดต่อประสานงานทาง เจ้าบุญส่ง ณ ลำปาง และเจ้าประเวทย์ ณ ลำปาง ครูบาเจ้าหลวงพ่อเกษม เขมโก ได้เมตตาปลุกเสก พร้อมทั้งเมตตามอบทุนจำนวน ๔๐๐,๐๐๐ บาท โดยกำหนดวัตถุประสงค์ว่าให้เป็นทุนสำหรับการสร้างพระอนุสาวรีย์ ๒๐๐,๐๐๐ บาท และสร้างอาคารสมาคม ๒๐๐,๐๐๐ บาท แต่หากเงินสำหรับสร้างอาคารสมาคมฯมาสมทบได้
 
กองหัตถศิลป์ กรมศิลปากรได้เป็นผู้ออกแบบและปั้นพระอนุสาวรีย์ [[สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ]] [[สมเด็จพระสังฆราช]] ได้ทรงเป็นประธานเททองหล่อ ศาสตราจารย์นายแพทย์บุญสม มาร์ติน รัฐมนตรีว่าการ[[กระทรวงศึกษาธิการ]]ในสมัยนั้น เป็นประธานในพิธีวาง[[ศิลาฤกษ์]]ฐาน[[อนุสาวรีย์]]และอัญเชิญพระอนุสาวรีย์ ขึ้นประดิษฐาน เมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๒๑ และได้กระทำพิธีเปิดพระอนุสาวรีย์เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน [[พ.ศ. 2521|พ.ศ. ๒๕๒๑]]