ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระสยามเทวาธิราช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Awksauce (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Awksauce (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 4:
| common_name = พระสยามเทวาธิราช
| image_object = พระสยามเทวาธิราช.jpg
| short_describtion =
| school_of_art = กษัตริยาธิราช
| type_of_object = [[เทวรูป]]
| width = 2 นิ้ว
| tall = 8 นิ้ว
| material = [[ทองคำ]]แท้
| place_of_enshrined = [[พระที่นั่งไพศาลทักษิณ]] [[พระบรมมหาราชวัง]]
| important = สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง [[กรุงรัตนโกสินทร์]]
| footnote =
}}
 
'''พระสยามเทวาธิราช''' เป็น[[เทวรูป]] หล่อด้วย[[ทองคำ]]สูง 8 นิ้ว ประทับยืนทรงเครื่องกษัตริยาธิราช ทรงฉลองพระองค์อย่างเครื่องของ[[เทพารักษ์]] มี[[มงกุฎ]]เป็น[[เครื่องศิราภรณ์]] พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงขรรค์ พระหัตถ์ ซ้ายยกขึ้นจีบดรรชนีเสมอพระอุระ องค์พระสยามเทวาธิราชประดิษฐานอยู่ในเรือนแก้วทำด้วย[[ไม้จันทน์]] ลักษณะแบบวิมาน[[เก๋งจีน]] มีคำจารึกเป็นภาษาจีนที่ผนังเบื้องหลัง แปลว่า "ที่สถิตย์แห่งพระสยามเทวาธิราช" เรือนแก้วเก๋งจีนนี้ประดิษฐานอยู่ในมุขกลางของพระวิมานไม้แกะสลักปิดทอง ตั้งอยู่เหนือลับแลบัง[[พระทวารเทวราชมเหศวร์]] ตอนกลาง[[พระที่นั่งไพศาลทักษิณ]] ใน[[พระบรมมหาราชวัง]]
 
พระวิมานไม้แกะสลักปิดทองนี้ เรียกว่า '''พระวิมานไม้แกะสลักปิดทองสามมุข''' ด้านหน้าขององค์พระสยามเทวาธิราชตั้งรูป[[พระสุรัสวดี]] หรือพระพราหมี เทพเจ้าแห่งการดนตรีและขับร้อง มุขตะวันออกของพระวิมาน ตั้งรูป[[พระอิศวร]]และ[[พระอุมา]] มุขตะวันตกของพระวิมาน ตั้งรูป[[พระนารายณ์]]ทรง[[ครุฑ]]
 
== ประวัติ ==
[[หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล]] พระธิดาใน[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] ทรงเล่าว่า [[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]โปรดการศึกษาประวัติศาสตร์ มีพระราชดำริว่าประเทศไทยมีเหตุการณ์ที่เกือบจะต้องเสียอิสรภาพมาหลายครั้ง แต่เผอิญให้มีเหตุรอดพ้นภยันตรายมาได้เสมอ คงจะมีเทพยดาที่ศักดิ์สิทธิ์คอยอภิบาลรักษาอยู่ สมควรที่จะทำรูปเทพยดาองค์นั้นขึ้นสักการบูชา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้[[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ]]ปั้นหล่อเทวรูปสมมุติขึ้น ถวายพระนามว่าพระสยามเทวาธิราช ประดิษฐาน ณ [[พระที่นั่งทรงธรรม]]ในหมู่พระที่นั่งพุทธมณเฑียร ใน[[พระอภิเนาว์นิเวศน์]]
 
 
[[ไฟล์:พระที่นั่งไพศาลทักษิณ.jpg|left|thumb|250px|[[พระที่นั่งไพศาลทักษิณ]] สถานที่[[ประดิษฐาน]]พระวิมาน'''พระสยามเทวาธิราช''' (ทางด้านขวาของภาพ)]]
เส้น 27 ⟶ 26:
หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล ทรงพระนิพนธ์ไว้ว่า
 
''"...ตอนมหาอำนาจทางตะวันตกทำการเปิดประตูค้ากับพวกตะวันออก ในระยะเวลาต้นๆต้น ๆ ศตวรรษที่ 19 ของคริสต์ศักราชนั้น พวกเมืองข้างเคียงไม่รู้ทันเหตุการณ์ภายนอกว่า ทางตะวันตกมีอำนาจปืนเรือพอที่จะเอาชนะได้อย่างง่ายดาย จึงพากันไม่ยอมทำสัญญาด้วย ซ้ำยังขับไล่ ใช้อำนาจจนเกิดเป็นสงครามขึ้น ก็เป็นธรรมดาที่คนมีแต่มีดจะต้องแพ้ผู้มีปืน แล้วถูกเป็นเมืองขึ้นไปโดยสะดวก ฝ่ายทางเมืองไทยเรานั้นมหาอำนาจตกลงกันให้[[สหราชอาณาจักร|อังกฤษ]]มาเป็นผู้เปิดประตูทำสัญญาค้าขาย ซึ่งตามที่จริงก็เคยมีไมตรีกันมาแต่ครั้ง[[กรุงศรีอยุธยา]]แล้ว แต่เมื่อบ้านเมืองมีเหตุการณ์ศึกสงครามเกิดขึ้นชาวต่างประเทศไปมาค้าขายไม่สะดวกได้ ก็จำต้องหยุดการติดต่อกันไปเป็นพัก ๆ การเป็นเช่นนี้แก่ทุกบ้านทุกเมือง ฉะนั้น เมื่อเสร็จศึกกับพม่าในรัชกาลที่ 1 แล้ว ถึงรัชกาลที่ 2 ชาว[[โปรตุเกส]]ก็เข้ามาจากเมือง[[มาเก๊า]] เพื่อขอทำสัญญาค้าขายใน พ.ศ. 2363 โปรดเกล้าฯ ให้รับสัญญาเพราะเรายังต้องการซื้อปืนไฟจากชาวตะวันตกอยู่ ต่อมาอีก 2 ปี มิสเตอร์ จอน ครอเฟิด (John Crawford) ทูตอังกฤษเข้ามาขอทำสัญญาจากผู้สำเร็จราชการ[[อินเดีย]]ใน พ.ศ. 2365''
 
''ถึงรัชกาลที่ 3 อังกฤษเกิดรบกันขึ้นกับ[[พม่า]]เป็นครั้งแรก ครั้นชนะแล้วจึงให้กัปตันเฮนรี่ เบอร์เนย์ (Henry Burney) เข้ามาทำสัญญาเมื่อ พ.ศ. 2368 ทูต[[อเมริกัน]] มิสเตอร์ เอ็ดมอนด์ โรเบิต (Edmond Roberts) เข้ามาทำสัญญาเมื่อ พ.ศ. 2375 มิสเตอร์ริดชัน (Ridson) ทูตอังกฤษเข้ามาทำสัญญาขอซื้อช้างเมื่อ พ.ศ. 2381 และเซอร์เจมส์ บรู้ค (Sir James Brooke) ผู้เคยเป็นรายา (White Raja) ผู้ครองเกาะ[[ซาราวัก]] (Sarawak) เข้ามาขอทำสัญญาอีกเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2393 ซึ่งเป็นปีที่[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 3 เสด็จสวรรคต รวมทูตอังกฤษที่เข้ามาทำสัญญากับเมืองไทยถึง 4 ครั้ง แต่ก็ได้ทำแต่เรื่อง เล็ก ๆ น้อย ๆ เช่นเรื่องผ่านแดนไทยกับพม่า และสัญญาซื้อขายช้าง ม้า และแลกเปลี่ยนสินค้าบางอย่าง ไม่ได้ทำสัญญากับเมืองไทยโดยตรงอย่างเมืองอื่น ๆ ส่วนทางเมืองไทยก็ยังไม่มีใครเชื่อว่าจะมีผู้ใดจะเกะกะทางนี้ได้ บางคนนึกเลยไปว่าเหล็กจะลอยน้ำได้อย่างไร ในเมื่อมีใครมาเล่าว่าทางมหาอำนาจตะวันตกนั้นมีเรือรบที่ทำด้วยเหล็ก ไทยจึงไม่เต็มใจจะเปิดประตูค้ากับผู้ใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นแต่รับข้อที่จำเป็นในเวลานั้นเท่านั้น แต่ในที่สุดเราก็ได้พบรายงานของเซอร์เจมส์ บรู๊ค ผู้ซึ่งเข้ามาครั้งสุดท้ายในรัชกาลที่ 3 ว่า''
 
'''''‘..พระเจ้าแผ่นดินกำลังเสด็จอยู่บนพระแท่นสวรรคต และพระองค์ที่จะเสวยราชย์ใหม่ก็มีหวังจะพูดกันได้เรียบร้อย ฉะนั้น จึงขอรอการใช้กำลังบังคับไว้ก่อน...’'''''
 
''ตามรายงานนี้เห็นได้ชัดว่า เขาเตรียมจะใช้กำลังกับเราอยู่แล้ว เผอิญให้เกิดมีการสวรรคตและเปลี่ยนแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นมาเสวยราชย์ในเวลาที่ทรงทราบเหตุการณ์นอกประเทศดีอยู่แล้ว เพราะทรงมีเวลาศึกษาเพียงพอ ในเวลาที่ผนวชเป็นพระภิกษุถึง 27 ปี พอเสวยราชย์ได้ 4 ปี เซอร์จอน โบว์ริง (Sir John Bowring) เจ้าเมือง[[ฮ่องกง]] ก็มีจดหมายส่วนตัวเข้ามากราบทูลว่า คราวนี้ตัวเขาจะเข้ามาเป็นราชทูตแทน[[สมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร|พระองค์ควีน วิคตอเรีย]] ไม่ใช่เป็นแต่เพียงทูตมาจากผู้สำเร็จราชการอินเดียเช่นคนก่อน ๆ เพราะฉะนั้นจึงหวังว่าจะไม่มีเรื่องเดือดร้อนถึงต้องขัดใจกัน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบข้อไขอันนี้ดี จึงเปิดประตูรับในฐานะมิตร และเป็นผลให้เราได้พ้นภัยมาได้แต่ผู้เดียวในทางตะวันออกประเทศนี้''
 
[[ไฟล์:พระสยามเทวาธิราช องค์จริงประดิษฐานอยู่ ณ ที่พระที่นั่งไพศาลทักษิณ.jpg|150px|left|thumb|พระสยามเทวาธิราช ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ [[พระที่นั่งไพศาลทักษิณ]] ใน[[พระบรมมหาราชวัง]]]]
เส้น 41 ⟶ 40:
''..อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ต่าง ๆ ดังเราท่านได้ประสบมาด้วยตนเอง ยิ่งนานวันก็ยิ่งเห็นว่าพระสยามเทวาธิราชนั้นมีจริง เราจงพร้อมใจกันอธิษฐานด้วยกุศลผลบุญที่เราได้ทำมาแล้วด้วยดี ขอให้เทพเจ้าอันศักดิ์สิทธิ์พระองค์นี้ จงได้ทรงคุ้มครองป้องกันภัย และโปรดประสิทธิ์ประสาทความสมบูรณ์พูนสุขให้แก่ประชาชนชาวสยามทั่วกันเทอญ.."''
 
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงถวายเครื่องสังเวยเป็นราชสักการะเป็นประจำวัน เครื่องสังเวยที่ถวายเป็นประจำนั้น จะถวายเฉพาะวันอังคาร และวันเสาร์ก่อนเวลาเพล โดยจะมีพนักงานฝ่ายพระราชฐานชั้นใน เป็นผู้เชิญเครื่องตั้งสังเวยบูชา เครื่องสังเวยประกอบด้วย ข้าวสุกหนึ่งถ้วยเชิง หมูนึ่งหนึ่งชิ้น พร้อมด้วยน้ำพริกเผา ปลานึ่งหนึ่งชิ้นพร้อมด้วยน้ำจิ้ม ขนมต้มแดงและขนมต้มขาว กล้วยน้ำว้า มะพร้าวอ่อนหนึ่งผล ผลไม้ตามฤดูกาลสองอย่าง และน้ำสะอาดอีกหนึ่งถ้วย โปรดเกล้า ฯ ให้จัดพระราชพิธีสังเวยเทวดา ในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี
 
[[ไฟล์:พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.jpg|thumb|250px|พระบรมรูป[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ซึ่ง[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ฯ ทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้สร้างขึ้นเลียนแบบพระสยามเทวาธิราชแต่แปลงเค้าพระพักตร์ให้เหมือนสมเด็จ พระชนกาธิราช เพื่อทรงสักการะ พระบรมรูปองค์นี้ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ [[พระที่นั่งอัมพรสถาน]] [[พระราชวังดุสิต]]]]
 
ต่อมาในสมัย [[ไฟล์:พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.jpg|thumb|250px|]] มีพระบรมรูป[[ราชดำริว่า พระบาทสมเด็จอภิเนาว์นิเวศน์พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]พุทธมณเฑียร และพระที่นั่งทรงธรรม ซึ่ง[[เป็นโครงสร้างเสาไม้หุ้มปูน ที่ได้สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ฯ ได้ชำรุดทรุดโทรมลงมาก ยากที่จะบูรณะให้คงสภาพเดิมไว้ได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดฯโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเลียนแบบรื้อลงทั้งหมด และอัญเชิญพระสยามเทวาธิราชแต่แปลงเค้าพระพักตร์ให้เหมือนสมเด็จไปประดิษฐานไว้ พระชนกาธิราช เพื่อทรงสักการะ พระบรมรูปองค์นี้ปัจจุบันประดิษฐานอยู่วิมานทองสามมุขเหนือลับแลบังพระทวารเทวราชมเหศวร์ [[ในพระที่นั่งอัมพรสถาน]]ไพศาลทักษิณ [[พระราชวังดุสิต]]]]ตราบจนถึงทุกวันนี้
 
ต่อมาในสมัย [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] มีพระราชดำริว่า พระอภิเนาว์นิเวศน์พระพุทธมณเฑียร และพระที่นั่งทรงธรรม ซึ่งเป็นโครงสร้างเสาไม้หุ้มปูน ที่ได้สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ชำรุดทรุดโทรมลงมาก ยากที่จะบูรณะให้คงสภาพเดิมไว้ได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อลงทั้งหมด และอัญเชิญพระสยามเทวาธิราชไปประดิษฐานไว้ ณ พระวิมานทองสามมุขเหนือลับแลบังพระทวารเทวราชมเหศวร์ ในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ตราบจนถึงทุกวันนี้
พระราชพิธีบวงสรวงใหญ่พระสยามเทวาธิราช ตามประเพณีกำหนดไว้ในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี อันเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามจันทรคติแบบโบราณ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] หรือพระราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่เสด็จแทนพระองค์มาทรงถวายเครื่องสังเวยเป็นราชสักการะพระสยามเทวาธิราช และมีละครในจากกรมศิลปากรรำถวาย
 
ระหว่างวันที่ 7 - 30 เมษายน พ.ศ. 2525 เมื่อครั้งฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระสยามเทวาธิราชจากพระวิมานในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ขึ้นเสลี่ยงโดยประทับบนพานทอง 2 ชั้น สู่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ประดิษฐาน ณ บุษบกมุขเด็จ เพื่อทรงประกอบพระราชพิธีบวงสรวง ในวันพุธที่ 7 เมษายน 2525 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สาธุชนเข้าถวายสักการะพระสยามเทวาธิราชหลังเสด็จฯ กลับ จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2525 นับเป็นครั้งแรกที่ประชาชนมีโอกาสได้เข้าถวายสักการะพระสยามเทวาธิราชเฉพาะพระพักตร์
 
== อ้างอิง ==