ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Awksauce (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล พุทธศาสนสถาน
| full_name = วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ
| common_name = วัดพระฝาง, วัดมหาธาตุ<ref>[[ราชกิจจานุเบกษา]], [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2444/032/613_3.PDF ข่าวเสด็จพระราชดำเนินประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือ (ต่อแผ่นที่ ๓๑ หน้า ๕๗๗)], เล่ม ๑๘, ตอน ๓๒, ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๔, หน้า ๖๑๖</ref>
| image_temple = พระฝาง.gif
| short_describtion = องค์พระฝางประดิษฐานบนบุษบกหน้าพระวิหารสมเด็จ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานครฯ
บรรทัด 9:
| principal_buddha = [[พระฝาง (พระพุทธรูป)|พระฝางทรงเครื่องจำลอง]]
| important_buddha = หลวงพ่อเชียงแสน
| abbot = (ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส) <ref>พระมหาวิจารณ์ มหาปญฺโญ. (2554). '''ข้อมูลพระสังฆาธิการจังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. 2554'''. อุตรดิตถ์ : สำนักงานเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์. อัดสำเนา</ref>
| venerate =
| pre_road =
| road_name =
| sub_district = ตำบลผาจุก
| district = อำเภอเมือง
| province = จังหวัดอุตรดิตถ์
| zip_code = 53000
| tel_no =
| pass_buses =
| pass_boats =
| pass_rails =
| open_time =
| entrance_fee = ไม่เสียค่าเข้าชม
| shouldnt_miss = นมัสการพระบรมธาตุ ชมโบราณสถานภายในวัด
| activities = - งานปริวาสกรรม วันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๔
| local_tourguide =
| foods_beverages =
| do_not_do =
| photography =
| car_parks = สถานที่จอดรถภายในวัด
| local_attraction = [[วัดคุ้งตะเภา]], [[ที่พักสงฆ์บ้านหนองบัว]], [[โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า อุตรดิตถ์]]
| mapia_url =
| mapia_name =
| footnote = ในอดีตเป็นวัดที่ชุมนุมของ [[ชุมนุมพระเจ้าฝาง]]ในสมัยธนบุรี
}}
'''วัดพระฝาง''' หรือชื่อเต็มว่า '''วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ''' ตั้งอยู่ที่บ้านฝาง หมู่ที่ 3 ต.ผาจุก [[อำเภอเมืองอุตรดิตถ์|อ.เมือง]] [[จ.อุตรดิตถ์]] เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างมาตั้งแต่[[สมัยสุโขทัย]] ตามทะเบียนวัดระบุว่า ประมาณปี [[พ.ศ. 1700]] (ก่อนสมัย[[พ่อขุนรามคำแหงมหาราช]]) <ref>สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอุตรดิตถ์. (2555). '''จำนวนวัดจังหวัดอุตรดิตถ์ ปี 2554'''. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงได้จาก : [http://utt.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=133&Itemid=121]. เข้าถึงเมื่อ 30-3-55</ref> วัดพระฝางนับว่าเป็นกลุ่มโบราณสถานของเมืองฝางสวางคบุรี '' (สว่างคบุรี เพี้ยนมาจาก สวรรคบุรี) ''เพียงแห่งเดียวที่ยังหลงเหลืออยู่ วัดนี้ได้รับพระราชทาน[[วิสุงคามสีมา]]ในสมัยสุโขทัย และเป็นวัดพระมหาธาตุประจำเมืองสว่างคบุรี ซึ่งในอดีตได้รับการนับถือเทียบเท่ากับพระธาตุเจดีย์หริภุญชัย<ref>พิเศษ เจียจันทร์พงษ์, สามนคร น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ : อุตรดิตถ์ เมืองแห่งท่าน้ำ, (กรุงเทพมหานคร : กองวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, ๒๕๓๓), หน้า ๑๑๗. ISBN 974-7500-34-3</ref> และพระพุทธบาทสระบุรี<ref> Pallegoix, Jean Baptiste. (1854). '''Description du Royaume Thai ou Siam'''. Paris : Mission de Siam.</ref> นอกจากนี้ วัดพระฝางนั้น ยังเคยเป็นวัดที่จำพรรษาของ “[[เจ้าพระฝาง]]” เมืองสวางคบุรี ผู้นำชุมนุมเจ้าพระฝางในคราวเสียสมัยกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2<ref>_________________. (ม.ป.ป.). [http://dl.kids-d.org/bitstream/handle/123456789/2625/nlt-rarebook-politiclaw-00091.pdf?sequence=1 พระราชพงษาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ระหว่างจลาจล จุลศักราช ๑๑๒๙-๑๑๓๐]. กรุงเทพฯ : (ม.ป.ท.).</ref> อีกด้วย
 
วัดพระฝาง มีปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดคือพระมหาธาตุเจดีย์ บรรจุ[[พระบรมสารีริกธาตุ]] ตั้งอยู่กลางกลุ่มโบราณสถานวัดพระฝาง สันนิษฐานว่าพระเจดีย์องค์นี้สร้างในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นพระบรมธาตุศักดิ์สิทธิ์สำคัญของอาณาจักรมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในสมัย[[กรุงศรีอยุธยา]] [[มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์]] ราชทูตจากราชสำนักฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัย[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]] ได้บันทึกไว้ในหนังสือของท่านว่า พระมหาธาตุองค์นี้ได้รับการเคารพนับถือว่าเป็นพุทธปูชนียสถานสำคัญของอาณาจักรคู่กับ[[รอยพระพุทธบาทสระบุรี]] ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้เสด็จขึ้นทำศึกชนะเจ้าพระฝางและตั้งงานสมโภชพระมหาธาตุเมืองพระฝางถึง 3 วัน เทียบเท่างานนมัสการพระพุทธชินราช แต่ความศรัทธาในพระมหาธาตุเมืองฝางคงได้เสื่อมถอยลงในช่วงหลัง จากความเสื่อมของเมืองสวางคบุรี หลังชุมนุมเจ้าพระฝางถูกตีแตกใน[[สมัยธนบุรี]] จนในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์องค์เดิมได้ปรักหักพังไปมาก ทำให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณะพระมหาธาตุเมืองพระฝางใหม่ แปลงเป็นแบบเจดีย์ทรงลังกาดังที่เห็นในปัจจุบัน
บรรทัด 44:
 
== ประวัติ ==
วัดพระฝางปรากฏชื่ออยู่ใน[[ศิลาจารึก]]หลักที่ 2 ซึ่งได้กล่าวถึง[[พระมหาเถรศรีศรัทธา]] ซึ่งเชื่อว่าเป็นหลานของ[[พ่อขุนผาเมือง]] ว่าก่อนที่ท่านจะเดินทางไปจาริกแสวงบุญที่ลังกา ในสมัยพญาเลอไท ได้แวะมานมัสการ[[พระธาตุ]]วัดพระฝาง แล้วจึงเดินทางต่อไปยังเมือง[[แพร่]] [[ลำพูน]] และลงเรือที่อ่าวเมาะตะมะไปลังกา นอกจากนี้ในศิลาจารึกหลักที่ 3 ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อประมาณ [[พ.ศ. 1900]] ก็ได้ปรากฏชื่อเมืองฝางอยู่ด้วยเช่นกัน ในจดหมายเหตุ [[ลา ลูแบร์]] อัคร[[ราชทูต]]ของ[[พระเจ้าหลุยส์ที่ 14]] แห่ง[[ฝรั่งเศส]] ซึ่งเข้ามาทูลพระราชสาส์นในปลายรัชสมัย[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]] ( [[พ.ศ. 2230]] ) ก็ได้กล่าวถึงความศรัทธาของคน[[สยาม]]ต่อพระทันตธาตุเมืองพระฝางไว้เช่นเดียวกัน แสดงถึงความสำคัญของพระบรมธาตุเมืองฝางในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี
 
[[ไฟล์:หาดแม่น้ำน่านหน้าวัดพระฝาง..jpg|thumb|หาดแม่น้ำน่าน หน้าวัดพระฝาง ภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ 5]]
ในปี [[พ.ศ. 2310]] ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา วัดพระฝางมีความสำคัญมาก คือ เป็นศูนย์กลางของชุมชนพระฝาง ซึ่งมี "เจ้าพระฝาง" (เรือน) เป็นหัวหน้าสามารถขยายอาณาเขตกว้างขวางจากทิศเหนือ ถึงเมืองแพร่ เมืองน่าน ทิศใต้ถึงเมืองพิษณุโลก ทิศตะวันออกถึงลาว และทิศตะวันตกถึงเมืองศรีสัชนาลัย เป็นชุมชนที่เข้มแข็ง และเป็นชุมนุมสุดท้ายที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงรวบรวมเป็นอาณาเขตเดียวกันกับกรุงธนบุรี เมื่อ [[พ.ศ. 2313]]
วันที่ [[25 ต.ค.]] [[พ.ศ. 2444]] พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ([[รัชกาลที่ 5]]) ได้เสด็จฯ มาสักการะวัดพระฝาง ปรากฏข้อความในพระราชนิพนธ์ของพระองค์ตอนหนึ่งว่า “เมื่อถึงหน้าเมืองฝางก็มีหาดโต เมืองนั้นตั้งอยู่ฝั่งตะวันออก มีพระวิหารกลางใหญ่ มีลายประตูเป็นลายสลักก้านขดหน้าสัตว์ต่างๆต่าง ๆ เช่น บานวัดสุทัศน์ แต่เด่นออกมามากกว่า[[วัดสุทัศน์]] ทำงามดีมาก”
พระฝางเป็น[[พระพุทธรูป]]ปางมารวิชัย ทรงเครื่องอย่างจักรพรรดิราช ศิลปะสมัยอยุธยาวัสดุสัมฤทธิ์ลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง 1 ศอก 1 คืบเศษ สร้างขึ้นสมัย[[พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ]]แห่งกรุงศรีอยุธยาประมาณ พ.ศ. 2280 มีพุทธลักษณะที่งดงาม เป็นพระพุทธรูปที่สำคัญของแผ่นดินไทยอีกองค์หนึ่ง สันนิษฐานว่าผู้สร้างคือเจ้าพระฝาง ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดพระฝาง เป็นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถวัดพระฝางหรือวัดสว่างคบุรีมุนีนาถ [[พ.ศ. 2313]] [[สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช]] ยกทัพหลวงมาตีชุมนุมพระฝางได้ และโปรดเกล้าฯ ให้รับละครขึ้นมาสมโภชพระพุทธรูปองค์สำคัญนี้ ที่วัดพระฝางถึง 3 วัน เท่ากันกับการสมโภชพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ ซึ่งนับว่าเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองไทยองค์หนึ่ง ในรัชสมัยของสมเด็จพระปิยมหาราช (รัชกาลที่5) ได้โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระฝางไปประดิษฐานที่[[วัดเบญจมบพิตร]]ฯจนถึงปัจจุบัน
 
== ปูชนียสถาน โบราณวัตถุ ==
[[ไฟล์:Stupa of Wat Phra Fang 1.jpg|thumb|เจดีย์พระธาตุพระฝาง แต่เดิมสันนิษฐานว่าเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์แบบ[[สุโขทัย]] คาดว่าเปลี่ยนมาเป็นทรง[[ลังกา]]ในสมัย[[พระเจ้าบรมโกศ]] และได้รับการบูรณะอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 4]] "เจดีย์พระธาตุวัดพระฝาง" ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย ได้มีการบูรณะครั้งใหญ่ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ "วิหารใหญ่และพระอุโบสถเก่า" สำหรับวิหารมีสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัยลักษณะเดียวกับวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง แต่เดิมมีพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนประดิษฐานอยู่ แต่ปัจจุบันได้ถูกโจรกรรมไปแล้ว ด้านหลังวิหารเป็นองค์พระธาตุ มีกำแพงล้อมรอบ บริเวณหลังสุดมีพระอุโบสถเก่าอยู่อีกหลังหนึ่ง สภาพโดยทั่วไปชำรุดทรุดโทรมมาก เดิมมีบานประตูแกะสลักสวยงาม แต่ก็ได้ถูกขโมยไปแล้วเช่นกัน ด้านหน้าโบสถ์มีต้นมะม่วงใหญ่อายุหลายร้อยปีอยู่ต้นหนึ่ง บริเวณรอบนอกวัดด้านหลังเป็นป่าละเมาะ ส่วนด้านหน้ามีบ้านคนอยู่บ้างแต่ไม่หนาแน่น
 
[[ไฟล์:วิหาร.jpg|left|thumb|วิหารใหญ่ สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย]]
บรรทัด 64:
{{บทความหลัก|บานประตูวัดพระฝาง}}
 
บานประตูเก่าวิหารวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ เดิมนั้นอยู่วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ แต่เนื่องจากวิหารชำรุดทรุดโทรมมาก อีกทั้งวัดพระฝางในขณะนั้นไม่มีพระภิกษุสามเณรอยู่จำพรรษา พระสุธรรมเมธี (บันลือ ธมฺมธโช) เจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ในสมัยนั้นจึงได้ขออนุญาต[[กรมศิลปากร]]นำมาเก็บรักษาไว้ที่ อาคารธรรมสภา [[วัดธรรมาธิปไตย]] เมื่อเดือน[[กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2494]] ทิ้งไว้แต่ตัววิหารปล่าว ปราศจากบานประตูอันวิจิตรตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
 
[[ไฟล์:Wat Phra Fang 09.JPG|thumb|บานประตูวิหารวัดพระฝางจำลอง]]
บรรทัด 70:
บานประตูคู่นี้แกะสลักใน[[สมัยอยุธยา]] แต่ละบานขนาดกว้าง 1.2 เมตร สูง 5.3 เมตร และหนาถึง 16 เซนติเมตร ทำจากไม้ปรุแกะสลักเป็นลายกนกก้านขด ลายพุ่มทรงข้าวบิณฑ์ บานละ 7 พุ่ม ระหว่างพุ่มทรงข้าวบิณฑ์มีกนกใบเทศขนาบ สองข้างขวามือด้านบนมีอกเลาประตูอยู่ตรงกลาง แกะสลักเป็นลายเทพพนม ตอนบนอกเลา 4 องค์ตอนล่างอกเลา 4 องค์ กล่าวกันว่างดงามเป็นที่สองรองจากประตูวิหาร[[วัดสุทัศน์]]ในกรุงเทพฯ
ในปี [[พ.ศ. 2534]] กรมศิลปากรได้ส่งเจ้าหน้าที่มาอนุรักษ์เนื้อด้วยกระบวนการทาง[[วิทยาศาสตร์]] บานประตูวัดพระฝางจึงมีสภาพอย่างที่เห็นในปัจจุบัน
ในปี[[พ.ศ. 2550]] ได้มีการจัดสร้างบานประตูไม้แกะสลักวิหารวัดพระฝางคู่ใหม่ เพื่อนำกลับไปติดตั้งยังวิหารหลวงวัดพระฝาง (ติดตั้งในเดือน[[เมษายน]] [[พ.ศ. 2551]]) ซึ่งบานประตูคู่ใหม่นี้มีลักษณะวิจิตรสวยงามเหมือนของเดิมทุกประการ โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกรมศิลปากรในการจัดสร้าง<ref>[http://tor.gprocurement.go.th/06_tor/uploads2/20641/1/tor1.doc โครงการบูรณปฏิสังขรณ์​โบราณสถานวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ (วัดพระฝาง).เว็บไซต์สำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง]</ref>
 
== ประวัติเจ้าพระฝาง "ชุมนุมเจ้าพระฝาง" ==
บรรทัด 92:
สภาพเมืองสวางคบุรี ที่มั่นเจ้าพระฝาง ไม่มีกำแพง มีแต่ระเนียดไม้ขอนสักถมเชิงเทินดิน เจ้าพระฝางสู้ได้สามวันก็แตกพ่ายหนี พาลูกช้างพังเผือกหนีไปด้วย กองทัพพระเจ้ากรุงธนฯติดตามไป ได้ช้างพังเผือกคืน ตัวเจ้าพระฝางหายสาบสูญไป
 
โปรดให้มีละครหญิง สมโภชพระประธานวัดสวางคบุรี 7 วัน นับเป็นงานใหญ่เทียบเท่างานสมโภชพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ ที่พิษณุโลก
 
== อัญเชิญพระฝางไปยังวัดเบญจมบพิตร ==
บรรทัด 105:
แต่ในปัจจุบันนี้ เกินเวลาหนึ่งร้อยปีแล้ว องค์พระฝางก็ยังประดิษฐานอยู่[[วัดเบญจมบพิตร]] มิได้กลับคืนไปอุตรดิตถ์ ตามพระราชดำริแต่ประการใด
 
ในปี [[พ.ศ. 2549]] [[คณะสงฆ์]]และหน่วยงาน[[ราชการ]]ในจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้ร่วมใจหล่อพระฝางทรงเครื่อง (จำลอง) องค์ใหม่ โดย [[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี]] ทรงประกอบพิธีเททองหล่อพระฝางทรงเครื่อง ณ [[วัดเบญจมบพิตร]] เมื่อวันที่ [[21 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2549]] เพื่อนำ พระฝางทรงเครื่อง (จำลอง) ที่ได้หล่อขึ้นใหม่ กลับสู่จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจและเคารพสักการะของชาวพระฝางและชาว[[จังหวัดอุตรดิตถ์]]สืบไป<ref>[http://www.admin.rtaf.mi.th/DOWNLOAD/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9D%E0%B8%B2%E0%B8%87ข้อมูลพระฝาง.pdf ข้อมูลพระฝางจำลอง.กรมสารบรรณทหารอากาศ กองบัญชาการกองทัพอากาศ ]</ref>
 
ดูเพิ่มได้ที่ [[พระฝาง (พระพุทธรูป)]]
บรรทัด 112:
 
[[ไฟล์:พิพิธภัณฑ์วัดพระฝาง.jpg|thumb|โบราณวัตถุในพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดพระฝาง]]
ปัจจุบันภายในวัดพระฝางยังมีปรากฏหลักฐานเป็นหมู่โบราณสถานอยู่ในบริเวณวัด มีพระวิหารหลวงกับองค์เจดีย์ประธานตั้งอยู่แนวทิศตะวันออก ทิศตะวันตกมีกำแพงด้านหน้า กำแพงแก้วล้อมรอบวิหารและเจดีย์โดยตลอด ด้านหลังเจดีย์เป็นกุฏิพระสังกัจจายณ์ซึ่งปฏิสังขรณ์ใหม่ แต่ยังรักษาเค้าโครงเดิมอยู่ภายนอกกำแพงแก้วออกมาข้างพระเจดีย์ด้านทิศใต้มีศาลาพระพุทธบาทอยู่ในสภาพที่ทรุดโทรมมาก เป็นอาคารที่สร้างขึ้นใหม่ แบบช่างพื้นบ้านทั่วไป ส่วนโบสถ์ที่นับว่าสำคัญมากอยู่เยื้องทิศตะวันตกเฉียงใต้ ห่างจากวิหารหลวงประมาณ 50 เมตร ซึ่งแต่เดิมเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปพระฝางทรงเครื่อง เป็นศิลปะแบบกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ด้านหลังของโบสถ์มีต้นมะม่วงไข่กายืนต้นขนาดใหญ่ และ บริเวณ หน้าพระวิหารหลวง เป็นที่ตั้งของ พิพิธภัณฑ์วัตถุโบราณของวัดพระฝาง ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมวัตถุโบราณที่ขุดพบในชุมชนบ้านพระฝาง และวัตถุโบราณที่ค้นพบได้จากบริเวณวัดและบริเวณหาดแม่น้ำน่านในปัจจุบัน โดยในวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปี ทางวัดพระฝางจะได้จัด "ปฏิบัติธรรมพระอยู่ปริวาสกรรม" และ ก่อนเข้าพรรษา 20 วัน โดยมีพระภิกษุ จากทั่วทุกภาคของประเทศไทย มาร่วมอยู่ปฏิบัติธรรมอยู่ปริวาสกรรม เป็นจำนวนมากทุกปี
 
 
== ดูเพิ่ม ==
เส้น 127 ⟶ 126:
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Wat Phra Fang}}
* [http://phrafang3.moobanthai.com/about-us/ ข้อมูลทั่วไปชุมชนบ้านพระฝาง]. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
[[หมวดหมู่:วัดในจังหวัดอุตรดิตถ์|พ]]
[[หมวดหมู่:โบราณสถานในจังหวัดอุตรดิตถ์]]