ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงแห่งเบลเยียม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
นพดล คำกองแก้ว (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘กบฎ’ ด้วย ‘กบฏ’
บรรทัด 30:
สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงพระราชสมภพที่[[บรัสเซลส์]] [[ประเทศเบลเยียม]] ในปี[[ค.ศ. 1930]] เป็นพระโอรสพระองค์ใหญ่ของ[[สมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 3 แห่งเบลเยียม|เจ้าชายเลโอโปลด์ ดยุกแห่งบราบันต์]]กับ[[สมเด็จพระราชินีอัสตริดแห่งเบลเยียม|เจ้าหญิงอัสตริดแห่งสวีเดน]] และพระราชบิดาเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ในปี[[ค.ศ. 1934]] ต่อมามาพระราชมารดาเสด็จสวรรคตในปี[[ค.ศ. 1935]]
 
ส่วนหนึ่งของความไม่พึงพอใจของประชาชนต่อ[[สมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 3 แห่งเบลเยียม|สมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 3]] นั้นมาจากการอภิเษกสมรสครั้งที่สองของพระองค์ในปีค.ศ. 1941 กับ[[ลีเลียง เจ้าหญิงแห่งเรธี|มารี ลีเลียง เบลส์]] สามัญชนชาวเบลเยียมที่โตใน[[ประเทศอังกฤษ]] ซึ่งต่อมาได้ออกพระนามเป็น "เจ้าหญิงแห่งเรธี" (Princess de Réthy) และนอกจากนี้ยังมีมูลเหตุสำคัญคือการตัดสินพระทัยยอมแพ้แก่กองทัพเยอรมันในสมัย[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] เมื่อ[[ประเทศเบลเยียม]]ถูกรุกรานในปี[[ค.ศ. 1940]] ทำให้เกิดข้อสงสัยและวิพากษ์วิจารณ์ว่าทรงเลือกข้างเข้ากับฝ่ายเยอรมัน แต่อย่างไรก็ตามคณะกรรมการสอบสวนได้โต้แย้งการกล่าวหาพระองค์ในข้อหาว่าเป็นกบฎกบฏต่อราชอาณาจักรในภายหลังสงคราม ถึงแม้จะมีการลงเสียงประชามติสนับสนุนพระองค์ให้ยังคงเป็นพระมหากษัตริย์ต่อไป แต่ก็ทรงเลือกที่จะสละราชสมบัติเพื่อยุติสถานการณ์ความวุ่นวายทั้งหมดลง
 
[[สมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 3 แห่งเบลเยียม|สมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 3]] ได้ทรงออกพระราชบัญญัติผ่านทางรัฐสภาเพื่อที่จะถ่ายโอนพระราชอำนาจของพระองค์ให้แก่พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ได้แก่ เจ้าชายโบดวง ซึ่งได้ทรงสาบานพระองค์ต่อหน้ารัฐสภาในฐานะ "พรินส์ รอยัล" (Prince Royal) เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม [[ค.ศ. 1950]] และต่อมาได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 5 แห่งชาวเบลเยียม หลังจากเข้าพิธีสาบานพระองค์ต่อหน้ารัฐสภาเมื่อวันที่ [[17 กรกฎาคม]] [[ค.ศ. 1951]] หนึ่งวันหลังจากการสละราชสมบัติของพระราชบิดา