ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เดวิด ลอยด์ จอร์จ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘เป้น’ ด้วย ‘เป็น’
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘อนุรักษ์นิยม’ ด้วย ‘อนุรักษนิยม’
บรรทัด 75:
นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ เดวิด ลอยด์ จอร์จ ก็ได้สนับสนุนการเรียกเก็บค่าปฏิกรสงครามจากเยอรมนี แต่ในขอบเขตที่น้อยกว่าข้อเสนอของฝรั่งเศส เนื่องจากเขารู้ดีว่าถ้าหากทำตามข้อเสนอของฝรั่งเศส ฝรั่งเศสก็อาจจะกลายเป็นประเทศมหาอำนาจในยุโรปตอนกลาง และความสมดุลอันบอบบางก็จะถูกทำลาย นอกจากนั้น เขายังกังวลกับข้อเสนอของวูดโรว์ วิลสันสำหรับอำนาจปกครองตัวเอง และ - เหมือนกับฝรั่งเศส - ต้องการปกปักรักษาผลประโยชน์ของประเทศของตน โดยสภาพดังกล่าวนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันระหว่างประเทศที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกสองแห่ง ซึงได้มีส่วนในการรบเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตน เดวิด ลอยด์ จอร์จก็เป็นผู้นำอีกคนหนึ่งซึ่งสนับสนุนการปิดล้อมทางทะเลกับเยอรมนีและสนธิสัญญาลับ
 
ยังมีคำกล่าวบ่อยๆ ว่าลอยด์ จอร์จเดินทางสายกลางระหว่างข้อเสนออันเพ้อฝันของวิลสันและข้อเสนอพยาบาทของคลูมองโซ อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอของเขานั้นเป็นข้อเสนอที่แสนบอบบางกว่าที่ปรากฏในตอนแรก มหาชนชาวอังกฤษต้องการให้เกิดการลงโทษเยอรมนีให้หนักเหมือนกับข้อเสนอของฝรั่งเศส เพื่อให้รับผิดชอบต่อผลของสงครามที่เกิดขึ้น และได้สัญญาไว้เช่นสนธิสัญญาการเลือกตั้งปี 1918 ซึ่งลอยด์ จอร์จได้รับชัยชนะ นอกจากนั้นยังมีการบีบคั้นจากพรรคอนุรักษ์นิยมอนุรักษนิยม ในความต้องการแบบเดียวกันกับชาวอังกฤษ เพื่อปกปักรักษาจักรวรรดิอังกฤษ ต่อมา แรงกดดันของมหาชนชาวอังกฤษได้สนับสนุนให้มีการลดขนาดของจักรวรรดิเยอรมัน ลอยด์ จอร์จจึงจัดการให้เพิ่มการชำระค่าปฏิกรสงครามโดยรวม และส่วนแบ่งของอังกฤษ โดยให้เหตุผลว่า ใช้เป็นค่าตอบแทนแก่หญิงม่าย เด็กกำพร้า ชายทุพพลภาพ ชายที่ตกงานจำนวนมหาศาลเนื่องจากสงครามโลก
 
อย่างไรก็ตาม ลอยด์ จอร์จนั้นก็ได้เฝ้าระวังปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากเยอรมนีที่ขมขื่นจากสงคราม และเขารู้สึกว่าสนธิสัญญาที่ลดความรุนแรงลงซึ่งมิได้ก่อให้เกิดความพยาบาทน่าจะเป็นผลที่ดียิ่งกว่าและเป็นการดำรงไว้ซึ่งสันติภาพที่ยาวนาน อีกหนึ่งปัจจัยนั้นคือเยอรมนีนั้นเป็นประเทศคู่ค้าที่มีความสำคัญเป็นอันดับสองของอังกฤษ และการจำกัดเศรษฐกิจของเยอรมนีย่อมไม่ส่งผลดีต่ออังกฤษ นอกจากนั้น เขาและคลูมองโซได้รู้จักสภาพของสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจนั้นจะทำให้สหรัฐอเมริกากลายเป็นมหาอำนาจทางทหารของโลกในอนาคตอีกด้วย หลังจากนั้น ข้อเสนออันเพ้อฝันของวิลสันก็ไม่สามารถได้รับคำเยาะเย้ยหรือถูกหัวเราะใส่จากอังกฤษและฝรั่งเศสถ้าพวกเขายังต้องการรักษาความสัมพันธ์อันดีกับสหรัฐอเมริกาอยู่ นี่ช่วยให้เข้าใจว่าทำไมสันนิบาตชาติเกี่ยวกับแนวคิดหลักของวิลสันซึ่งตั้งอยู่บนสันติภาพที่โอบอ้อมอารีนั้นได้ถูกเล่นงานโดยอังกฤษและฝรั่งเศสเมื่อวิลสันได้เดินทางมาถึงสถานที่จัดการประชุม ยิ่งกว่านั้น อังกฤษต้องการที่จะรักษา"ความสมดุลของอำนาจ" - โดยไม่ให้ทประเทศใดก็ตามในยุโรปเสนอข้อตกลงไว้มากมายกว่าประเทศอื่นๆ และถ้าข้อเสนอของฝรั่งเศสได้ถูกนำไปใช้ นอกจากเยอรมนีจะกลายเป็นคนพิการแล้ว ฝรั่งเศสก็จะกลายเป็นประเทศมหาอำนาจแทนที่อังกฤษอีกด้วย