ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยีน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ชวนชม (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘ชิวิต’ ด้วย ‘ชีวิต’
บรรทัด 11:
ยีน (Gene)สามารถเป็นได้ทั้ง ดีเอ็นเอ (DNA) หรือว่า อาร์เอ็นเอ (RNA) ก็ได้ แต่ในสิ่งมีชีวิตชั้นสูงนั้นจะเป็นดีเอ็นเอ (DNA)หมดเพราะเสถียรมากเหมาะแก่การเก็บข้อมูล ขณะที่อาร์เอ็นเอ (RNA) จะพบในพวกไวรัส (Virus) ยีน (Gene)ทั้งหมดของสิ่งมีชีวิตหรือเซลล์จะรวมอยู่ในส่วนที่เรียกว่า จีโนม (Genome) และโครงสร้างของจีโนม (Genome)ในพวกโพรคาริโอตและยูคาริโอตจะแตกต่างกัน
 
หน่วยพันธุกรรม หรือ ยีน (gene)จะถูกถ่ายทอดจากสิ่งมีชีวิต รุ่นก่อนหน้าสู่ลูกหลาน เช่น สีตา สีผม และความสูง รูปร่างหน้าตาของเด็กที่มีบางส่วนเหมือนกับแม่, สีสันของดอกไม้, รสชาติของอาหารนานาชนิด ล้วนแล้วแต่เป็นลักษณะ ของหน่วยพันธุกรรม หรือ ยีน (gene)ทั้งสิ้น ถ้ายีน (Gene)เกิดผิดไปจากปกติจะเรียกว่า การกลายพันธุ์ (Mutation) ซึ่งเกิดเองตามธรรมชาติหรือถูกกระตุ้นให้เกิดก็ได้ โดยส่วนมากแล้วเมื่อยีน (Gene)เกิดผิดปกติไปจะส่งผลเสียต่อสิ่งมีชิวิตชีวิตนั้นมากกว่าผลดี เช่น ในคน สามารถทำให้ป่วย เจ็บไข้ หรือถึงแก่ชีวิตได้ โรคที่เกิดจากสาเหตุนี้เรียกว่า โรคทางพันธุกรรม (Genetic Disease) ซึ่งจะถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อไปหรือไม่ก็ได้
 
ดังนั้น การกลายพันธุ์ของยีนคือการเปลี่ยนแปลงของลำดับเบสภายในยีนนั้นเอง
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ยีน"