ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โมบิดิก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดแม่แบบเรียงลำดับ
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 24:
ในเรื่อง ''โมบิดิก'' เมลวิลล์ได้ใช้กลวิธีทางภาษา สัญลักษณ์ และการเปรียบเทียบต่างๆ ในการนำเสนอโครงเรื่องอันซับซ้อน ผ่านทางตัวละครหลัก โดยสื่อถึงเรื่องของชนชั้นและฐานะทางสังคม ความดี ความชั่ว และการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าซึ่งสื่อออกมาด้วยความเชื่อส่วนตัวของอิชมาเอล และตำแหน่งของเขาในจักรวาล เขาสะท้อนเรื่องราวผ่านวิธีการเล่าของผู้เล่าเรื่อง การบรรยายสภาพชีวิตของกะลาสีบนเรือล่าวาฬ ค่อยๆ ถักทอเรื่องราวไปพร้อมกับการใช้เทคนิคแบบ[[เชกสเปียร์]] คือการเล่าเรื่องผ่านมุมมองเหมือนละครเวที และใช้วิธีการรำพึงกับตัวเองของตัวละครเพื่อบอกเล่าความในใจ
 
นักวิจารณ์เห็นว่างานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อน[[ศิลปะจินตนิยม|ยุคจินตนิยม]]ใน[[สหรัฐอเมริกา]] ''โมบิดิก'' ตีพิมพ์ครั้งแรกโดยสำนักพิมพ์ริชาร์ด เบนท์ลีย์ ในกรุงลอนดอนในปี ค.ศ. 1851 โดยแบ่งพิมพ์ออกเป็น 3 เล่มชุด ใช้ชื่อเรื่องว่า '''The Whale''' ต่อมาจึงพิมพ์รวมเป็นเล่มเดียวกันโดยสำนักพิมพ์ฮาร์เปอร์และพี่น้อง ในกรุงนิวยอร์ก ใช้ชื่อเรื่องว่า '''Moby-Dick; or, The Whale''' เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1851 ประโยคแรกในบทที่หนึ่งคือ —"Call me Ishmael."— ("เรียกข้าข้าพเจ้าว่า อิชมาเอล") ถือเป็นหนึ่งในประโยคเปิดเรื่องที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในบรรดางานวรรณกรรมทั้งปวง นวนิยายได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ทั้งแง่บวกและลบ อย่างไรก็ดี ตราบจนปัจจุบัน ''โมบิดิก'' ได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในนวนิยายภาษาอังกฤษที่ยอดเยี่ยมที่สุด และทำให้เมลวิลล์เป็นหนึ่งในนักเขียนชาวอเมริกันผู้ยิ่งใหญ่ตลอดกาล
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==