ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น
บรรทัด 1:
'''เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน)''' หรือ '''พระยายมราช (แบน)''' เป็นแม่ทัพคนหนึ่งใน[[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี]]และ[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] เมื่อรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้มีพระบรมราชโองการสั่งยกทัพไปช่วย[[เขมร]]เพื่อป้องกันการรุกรานจาก[[ญวน]] โดย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเมื่อครั้งยังดำรงพระอิสรยศเป็น เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพใหญ่ ซึ่งได้ขอตัวพระยายมราช (แบน) ไปด้วย ด้วยเป็นนายทหารฝีมือดี เมื่อเสด็จนำกองทัพไปถึงเมืองกัมพูชาแล้ว พระยาสรรค์ก่อ[[กบฏ]]ขึ้นใน[[ฝั่งธนบุรี|กรุงธนบุรี]] เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกต้องรีบนำทัพกลับเพื่อจัดการกบฏ แต่ทางกัมพูชานี้ได้ทิ้งไว้ให้พระยายมราช (แบน) เป็นผู้ดูแล ไม่นานนัก เมื่อเสด็จมาถึงและได้ปราบดาภิเษกเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าแล้ว ส่วนพระยายมราช (แบน) ก็ติดราชการอยู่ที่เมืองกัมพูชาอยู่
 
ต่อมา [[สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีศรีสุริโยพรรณ|นักองค์เอง]] เจ้านายฝ่ายเขมร ในเวลานั้นอายุเพียง ๕ ขวบ เป็นผู้มีสิทธิ์ขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเขมร พระยายมราช (แบน) คิดว่าหากปล่อยไว้คงเกิดการฆ่าฟันขึ้นอีก จึงให้พระยาเขมรและขุนนางฝ่ายไทยคุมตัวนักองค์เองขึ้นมาทูลเกล้าฯถวายแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าที่[[กรุงเทพมหานคร|กรุงรัตนโกสินทร์]] ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าก็ได้ทรงรับนักองค์เองเป็นราชบุตรบุญธรรม แล้วมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้เลื่อนยศของพระยายมราช (แบน) เป็น '''เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน)''' ได้เป็นผู้ปกครองเขมร และถิือเป็นต้นตระกูล "อภัยวงศ์"
 
และเมื่อถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตะกูลอภัยวงศ์ต่อว่า ได้ปกครองเมืองในประเทศกัมพูชาเรื่อยมา โดยมีเจ้าเมืองผู้ปกครองพระตะบองคนสุดท้าย คือ [[เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์)]] ตอนนั้นยังไม่มีนามสกุล โดยในช่วงกลางสมัยรัชกาล ฝรั่งเศสได้เข้ามายึดประเทศกัมพูชา แล้วเรียกร้องให้ไทยคืนดินแดนที่ไทยได้มาจากกัมพูชาให้แก่กัมพูชาเสีย ซึ่งความจริง คือ ให้แก่ฝรั่งเศสเพราะฝรั่งเศสเข้ามาปกครองกัมพูชา
 
ในที่สุดไทยต้องยอมเสีย พระตะบอง, เสียมราฐ และศรีโสภณ ให้กับฝรั่งเศส ทำให้คนไทยที่อยู่ที่นั่นจำนวนมาก ต้องเลือกว่าจะอยู่หรือจะกลับ ถ้าอยู่ก็ต้องเป็นพลเมืองชั้นสอง เพราะไม่ได้อยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทยอีกต่อไปแล้ว
 
เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์จึงได้ตัดสินใจอพยพครอบครัว พาลูกเมีย ขนของด้วยเกวียนเป็นร้อย ๆ เล่ม ช้าง, ม้าอีกมากมาย เดินทางรอนแรมผ่านป่าทึบมาหลายวัน จากพระตะบองกลับประเทศไทย โดยเดินทางเข้าทางเมืองปราจีนบุรี จึงได้พักผู้คนบริวารและพาหนะที่นี่ ไม่ได้พาเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ เพราะที่กรุงเทพฯไม่มีราชการอะไรที่จะต้องเข้าไป ทั้ง ๆ ที่ตัวท่านก็มีบ้านอยู่ที่กรุงเทพฯ แถวสะพานยศเส ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เดิม
 
จากนั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเมืองปราจีนบุรี เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์เห็นว่า ในการเสด็จครั้งนั้นไม่มีสถานที่เหมาะสมที่จะใช้ รับเสด็จ จึงได้สร้างตึกใหญ่ขึ้นภายในบริเวณหมู่เรือนที่พักของท่านขึ้น ซึ่งปัจจุบันคือ [[โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร]]
 
มาในปี พ.ศ. 2460 ในรัชกาลสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระมหากรุณาพระราชทานนามสกุลแก่เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ และผู้สืบเชื้อสายต่อจากนั้นไปว่า "อภัยวงศ์"
 
== อ้างอิง ==
เส้น 7 ⟶ 17:
* หนังสือ กำเนิดพรรคประชาธิปัตย์ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๙ ๖๑ ปี ประชาธิปัตย์ อยู่ยั้งยืนยง โดย จรี เปรมศรีรัตน์ ISBN 978-974-7046-72-4
* [http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetailsql.asp?stcolumnid=5091&stissueid=2713&stcolcatid=2&stauthorid=13 เรื่องนายควง อภัยวงศ์]
*[http://www.dailynews.co.th/Content/Article/90649/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%98%E0%B8%AD+%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%AF+%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B2+%E2%80%9C%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E2%80%9D อภัยวงศ์]
{{จบอ้างอิง}}