ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชวงศ์ซ่ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
มังกรคาบแก้ว (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 116:
ปี พ.ศ. 1565 [[ซ่งเจินจง]] ล้มป่วยสิ้นพระชนม์ [[ซ่งเหยินจง]] (เหรินจง) (พ.ศ. 1565 – พ.ศ. 1606) ราชโอรสขึ้นครองราชย์ด้วยวัยเพียง 13 ปี ดังนั้นจึงมีหลิวไทเฮาคอยดูแลให้คำปรึกษาราชกิจ ต่อเมื่อ หลิวไทเฮาสิ้นพระชนม์ในปี [[พ.ศ. 1576]] ซ่งเหยินจงจึงเริ่มบริหารราชกิจด้วยตนเอง จากนั้นไม่นาน ราชสำนักซ่งเปิดศึกกับซีเซี่ยอีกครั้ง แต่ทัพซ่งก็ต้องแพ้พ่ายเสียหายกลับมา เป็นเหตุให้ซ่งเหยินจงมีดำริที่จะปรับปรุงกองทัพและการคลังครั้งใหญ่ ปี พ.ศ. 1586 ทรงแต่งตั้งฟ่านจ้งเยียน และคณะให้ดำเนินการปฏิรูประบบการปกครองภายใน แต่นโยบายปฏิรูปของฟ่านจ้งเยียนทำให้บรรดาขุนนางและกลุ่มตระกูลสูงศักดิ์เสียผลประโยชน์ เป็นเหตุให้เกิดเสียงคัดค้านมากมาย สุดท้าย การปฏิรูปดังกล่าวดำเนินการไปได้เพียงปีเศษก็ต้องล้มเลิกไป คณะทำงานปฏิรูปของฟ่านจ้งเยียนต่างทยอยถูกปลดจากตำแหน่งปลายรัชกาลซ่งเหยินจง หวังอันสือ ที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งทางราชการไม่นาน ได้นำเสนอแนวทางการปฏิรูปแบบใหม่ โดยเสนอให้เร่งสร้างบุคลากรที่มีความสามารถ ปรับปรุงระเบียบข้อกำหนดกฎหมาย และจัดการบริหารการคลังเสียใหม่ เป็นต้น แนวคิดของหวังอันสือแม้ว่าจะเป็นที่ชื่นชมอย่างมากในหมู่ปัญญาชน แต่ซ่งเหยินจงไม่ได้ดำเนินการแต่อย่างใดในรัชกาลของซ่งเหยินจงมีบุคคลสำคัญเช่น[[เปาบุ้นจิ้น]] [[อ๋อง 8]] [[เสนาบดีหวัง]] ฯลฯ
 
จวบจนปี 1963พ.ศ. 1606 (ค.ศ. 1063) ซ่งเหยินจง ล้มป่วยสิ้นพระชนม์ลง ซ่งอิงจงสืบราชบัลลังก์ต่อมาได้เพียง 4 ปี ก็สิ้นพระชนม์ลง โอรสของซ่งอิงจงขึ้นครองราชย์ต่อมาพระนามว่า ซ่งเสินจง โดยมีบทบาทสำคัญในการให้การสนับหนุนสนับสนุนแนวคิดการปฏิรูปกฎหมายของหวังอันสือในเวลานั้น ปัญหาความขัดแย้งในสังคมและวิกฤตทางการเงินยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น หน่วยงานราชการของราชสำนักซ่งมีขนาดใหญ่โตขึ้นกว่าเมื่อครั้งต้นราชวงศ์ถึงกว่าสิบเท่า เพียงค่าใช้จ่ายแต่ละปีของกองทัพก็ครอบคลุมรายได้กว่าครึ่งจากท้องพระคลัง ดังนั้น ซ่งเสินจงขึ้นครองราชย์ได้ไม่นานก็ทรงแต่งตั้งให้หวังอันสือ เป็นผู้นำคณะปฏิรูปกฎหมายการปกครองใหม่ ระเบียบกฎหมายใหม่ของหวังอันสือ มุ่งเน้นการเก็บกวาดรายได้จากบรรดาพ่อค้า ข้าราชการ และเจ้าที่ดินเจ้าหน้าที่ที่ดินเข้าสู่ท้องพระคลัง ลดการผูกขาดอำนาจและอภิสิทธิ์ของกลุ่มตระกูลขุนนางชั้นสูง ขณะที่กลุ่มชาวนาและราษฎรทั่วไปลดภาระในการแบกรับภาษีและการเกณฑ์แรงงาน อีกทั้งมีการปรับปรุงระบบชลประทาน ทำให้กำลังการผลิตของสังคมโดยรวมพัฒนาขึ้นในระดับหนึ่ง มีเงินเข้าท้องพระคลังเพิ่มขึ้นอย่างไรก็ตาม ระเบียบกฎหมายใหม่ยังต้องเผชิญกับกระแสการคัดค้านจากผู้เสียผลประโยชน์
 
ภายหลังซ่งเสินจงสิ้นพระชนม์ลงในปี พ.ศ. 1628 (ค.ศ. 1085) โอรสวัยสิบขวบขึ้นครองราชย์ต่อมา พระนามว่า ซ่งเจ๋อจง มีเกาไทเฮาเป็นที่ปรึกษาราชกิจ ซึ่งให้การสนับสนุนกลุ่มแนวคิดอนุรักษ์แบบเก่านำโดยซือหม่ากวง ไม่นานนัก กลุ่มปฏิรูปของหวังอันสือก็ถูกขับไล่ออกจากศูนย์กลางอำนาจ ระเบียบกฎหมายใหม่ถูกยกเลิกไป การปฏิรูปของหวังอันสือจึงจบสิ้นลงพร้อมกับการสิ้นพระชนม์ของซ่งเสินจง ต่อเมื่อเกาไทเฮาสิ้นพระชนม์ลงในปี พ.ศ. 1636 ซ่งเจ๋อจงก็หันมาให้การสนับสนุนฝ่ายนำการปฏิรูปอีกครั้ง แต่ภายในกลุ่มปฏิรูปเองเกิดแตกความคิดเห็นเป็นหลายฝ่าย กลายเป็นการแก่งแย่งช่วงชิงคานอำนาจกันเอง จวบจนซ่งเจ๋อจงสิ้นพระชนม์ลงในปี พ.ศ. 1643 [[ซ่งฮุยจง]] ขึ้นครองราชย์ต่อมา ให้การสนับสนุนกลุ่มขุนนางไช่จิงและพวก ที่แอบอ้างการผลักดันกฎหมายใหม่ มาใช้ในการโกงกินและขยายอำนาจในหมู่พรรคพวกเดียวกัน อันนำมาซึ่งยุคแห่งความมืดมนฟอนเฟะของราชวงศ์ซ่งเหนือ ระบบราชการที่ล้มเหลว เป็นเหตุให้ราษฎรทยอยลุกฮือขึ้นก่อการต่อต้านราชสำนัก อาทิ [[กบฏฟางล่า]] (พ.ศ. 1663) [[กบฏซ่งเจียง]] (พ.ศ. 1661) อันเป็นที่มาของเรื่องราวในตำนาน “[[วีรบุรุษเขาเหลียงซาน]]” หรือ "[[108 ผู้กล้าหาญแห่งเขาเหลียงซาน]]" ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ยอดวรรณดีของจีน เป็นต้น แต่สุดท้ายยังคงต้องพ่ายแพ้แก่ราชสำนักซ่งเหนือในที่สุด
 
== สถาปัตยกรรมสมัยราชวงศ์ซ่ง ==
[[ไฟล์:วิหารข้ามสระเลี้ยงปลา.jpg|thumb|200px|left|วิหารข้ามสระเลี้ยงปลาในสมัยราชวงศ์ซ่ง]]
 
สมัยราชวงศ์ซ่ง (พ.ศ. 1503 - พ.ศ. 1822) เป็นช่วงที่การเมืองและการทหารของจีนค่อนข้างทรุดโทรม แต่เศรษฐกิจ การผลิตเครื่องศิลปหัตถกรรมและการค้าค่อนข้างพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ยิ่งได้รับการพัฒนาอย่างมาก ลักษณะพิเศษของ สถาปัตยกรรมในสมัยราชวงศ์ซ่งคือ มีขนาดไม่ใหญ่เท่าใดนัก แต่มีรูปร่างสวยมากแผนผังของเมืองสมัยราชวงศ์ซ่งคือ เปิดร้านค้าข้างถนน การดับเพลิง การคมนาคมขนส่ง ร้านค้าและสะพานในเมืองได้รับการพัฒนาใหม่ เมืองเปี้ยนเหลียงเมืองหลวงสมัยราชวงศ์ซ่ง (เมืองไคฟงมณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) กลายเป็นเมืองพาณิชย์แห่งหนึ่ง วิหารประธานและวิหารข้ามสระเลี้ยงปลาในวัดจิ้นฉือเมืองไท่หยวนมณฑลซานซีก็เป็นสถาปัตยกรรมสมัยราชวงศ์ซ่งที่เป็นแบบฉบับสถาปัตยกรรมที่สร้างด้วยอิฐและก้อนหินในสมัยราชวงศ์ซ่งมีระดับสูงขึ้นเรื่อย ๆ ที่ สำคัญคือ เจดีย์และสะพาน เจดีย์ในวัดหลิงอิ่นเมืองหางโจวและสะพานโหย่งทงใน อำเภอเจ้าเซียนมณฑลเหอเป่ยก็เป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างด้วยอิฐและก้อนหินที่เป็นแบบฉบับในสมัยราชวงศ์ซ่งสมัยราชวงศ์ซ่ง สังคมศักดินาของจีนได้รับการพัฒนาอักขั้นหนึ่ง คนจีนในสมัย ราชวงศ์ซ่งเริ่มมีความสนใจในการสร้างอุทยานขึ้น อุทยานสมัยซ่งที่มีลักษณะตัวแทนคือ ชังล่างถิงและตู๋เล่อหยวนสมัยราชวงศ์ซ่งยังได้ปรากฏวิทยานิพนธ์พิเศษเกี่ยวกับเทคโนโลยี่การก่อสร้างอย่างสมบูรณ์เรื่องเหยิงเจ้าฝ่าสื้อหรือแปลว่า กฎเกณฑ์การก่อสร้าง เป็นสัญลักษณ์ ที่แสดงให้เห็นว่า เทคโนโลยีและการควบคุมดูแลการก่อสร้างของจีนต่างก็ขึ้นสู่ระดับ ใหม่
 
== กำเนิดแคว้นจินกับอวสานของซ่งเหนือ ==