ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:ประพฤติเยี่ยงอารยชน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แทนที่เนื้อหาด้วย "{{เว็บย่อวิกิ|WP:CIV|WP:CIVIL}} {{นโยบาย}} {{กล่องนโยบาย}} '''ความสุภ..."
Alan (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ 171.96.185.16 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Horus
บรรทัด 2:
{{นโยบาย}}
{{กล่องนโยบาย}}
'''ความสุภาพ''' เป็นส่วนหนึ่งของ[[วิกิพีเดีย:มารยาทในวิกิพีเดีย|มารยาทในวิกิพีเดีย]] และเป็นหนึ่งใน[[วิกิพีเดีย:ห้าเสาหลัก|เสาหลักของวิกิพีเดีย]] ในขณะที่นโยบายด้านอื่น ๆ ของวิกิพีเดียมุ่งเน้นไปยังตัวเนื้อหาของบทความ ทว่า นโยบายความสุภาพเป็นการกำหนดรูปแบบสิ่งที่ชาววิกิพีเดียพึงปฏิบัติต่อกัน ผู้ใช้ทั้งหมดควรจะปฏิบัติต่อกันและกันด้วยความเคารพนับถือ แม้กระทั่งในระหว่างการโต้เถียงอย่างเผ็ดร้อน ผู้ใช้คนนั้นก็ควรระงับอารมณ์ของตน รักษามารยาทและใช้เหตุผล เพื่อที่จะรักษาจุดประสงค์ในการพัฒนาสารานุกรมวิกิพีเดีย และบรรยากาศอันดีในการทำงานร่วมกัน
'''ความสุภาพ''' คือการบั่นเศียร [[ผู้ใช้:Manop|องค์น้ำกาม]] ให้หลุดออกจากบ่า
 
ส่วนการกระทำที่ถูกพิจารณาว่า ''ไม่เป็นอารยชน'' ประกอบด้วย [[วิกิพีเดีย:อย่าว่าร้ายผู้อื่น|การว่าร้ายผู้อื่น]] การใช้ถ้อยคำหยาบคาย และอุปนิสัยก้าวร้าว ซึ่งจะเป็นการรบกวนการพัฒนาของวิกิพีเดีย และนำไปสู่ความตึงเครียดและความขัดแย้งอันไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แต่อย่างใด ผู้มีส่วนร่วมแก้ไขบทความในวิกิพีเดียนี้เป็น[[มนุษย์]] ซึ่งทุกคนย่อมต้องมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นทั้งสิ้น รูปแบบของการประพฤติที่ไม่เป็นอารยชนนั้นก่อให้เกิดความแตกแยกและไม่อาจยอมรับได้ และอาจนำไปสู่[[WP:BLOCK|การบล็อกผู้ใช้]] ถ้าหากได้มีการก่อกวนหรือการว่าร้ายผู้อื่น
 
นโยบายดังกล่าวอธิบายมาตรฐานที่ผู้ใช้พึงปฏิบัติต่อกัน และวิธีการที่เหมาะสมในการรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งครอบคลุมถึงทุกการแก้ไขบนวิกิพีเดีย รวมไปถึงหน้าผู้ใช้ หน้าพูดคุย [[วิธีใช้:คำอธิบายอย่างย่อ|คำอธิบายอย่างย่อ]] และการอภิปรายใดกับผู้ใช้วิกิพีเดียคนอื่น ๆ
 
== การทำงานร่วมกัน ==
ความคิดเห็นที่แตกต่างกันเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในโครงการที่ต้องอาศัยความร่วมมือกัน เมื่อมีการอภิปรายถึงความแตกต่างของผู้ใช้วิกิพีเดียเหล่านี้ ในความพยายามที่เฉียบขาด อาจถูกมองว่าเป็นการกระทำ "อย่างเกรี้ยวกราด" โดยไม่จำเป็น ผู้ใช้คนอื่น ๆ อาจจะมีอารมณ์ขึ้นมาเมื่อมุมมองของตนถูกท้าทาย การสื่อสารกันด้วยความเงียบและการไม่เผชิญหน้ากัน โดยใช้ตัวอักษรที่อยู่ในหน้าพูดคุยและในส่วนคำอธิบายอย่างย่อนั้น ไม่ได้เป็นการสื่อสารกันอย่างเข้าใจเต็มที่ และในบางครั้ง อาจนำไปสู่การตีความข้อวิจารณ์ของผู้ใช้วิกิพีเดียคนอื่นอย่างผิด ๆ ด้วย
 
การใช้ถ้อยคำไม่สุภาพอาจจะเป็นการทำให้การอภิปรายด้วยเหตุผลกลายมาเป็นการโต้แย้งส่วนบุคคล ซึ่งไม่ได้เป็นการมุ่งประเด็นไปยังการแก้ไขปัญหาแต่อย่างใด การโต้ตอบคำพูดกันจะทำให้เป็นการสิ้นเปลืองความพยายามโดยเปล่าประโยชน์ และเป็นการบ่อนทำลายบรรยากาศที่ก่อให้เกิดประโยชน์ในการทำงาน การแก้ไขความแตกต่างทางความคิดเห็นสามารถใช้การอภิปรายกันเยี่ยงอารยชน การแสดงความไม่เห็นด้วย แต่ไม่ถึงกับไม่ลงรอยกัน การอภิปรายร่วมกับผู้ใช้วิกิพีเดียคนอื่น ๆ ควรจะถูกจำกัดและอภิปรายการกระทำของพวกเขาด้วยความสุภาพ
 
ผู้ใช้วิกิพีเดียถูกคาดหวังว่าจะสามารถทำงานร่วมกันได้โดยใช้เหตุผล และหลีกเลี่ยงการว่าร้ายผู้อื่น ทำงานให้อยู่ภายใต้ขอบเขตของนโยบาย และเพื่อที่จะตอบสนองต่อคำวิจารณ์อันมีเจตนาดี พยายามปฏิบัติต่อผู้ใช้วิกิพีเดียคนอื่นอย่างสหายร่วมงานของคุณที่กำลังร่วมกันพัฒนาโครงการอันมีความสำคัญยิ่งนี้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต้อนรับผู้ใช้คนใหม่ เพื่อลดการแก้ไขอันไม่จำเป็น
 
== การกระทำอันไม่เป็นอารยะ ==
การกระทำเหล่านี้อาจก่อให้เกิดบรรยากาศอันไม่เป็นอารยะ:
* การสบประมาทและการเรียกชื่อ
* การตัดสินผู้อื่นในส่วนคำอธิบายอย่างย่อ หรือในหน้าพูดคุย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของบทความ
* การใช้คำหยาบอย่างเห็นได้ชัด หรือการแนะนำผู้ใช้คนอื่นโดยตรงอย่างหยาบโลน
* การดูถูกผู้ใช้คนอื่น จากสาเหตุทางด้านทักษะทางภาษาหรือการเลือกใช้คำของเขา
* การเหน็บแนมล้อเลียน ซึ่งอาจนำไปสู่การกระทำอันไม่เป็นอารยะโดยเจตนา ถึงแม้ว่าการกระทำของเขาจะไม่ถูกมองว่าไม่เป็นอารยะโดยตรงก็ตาม
* การกล่าวโทษผู้อื่นด้วยเจตนาร้าย อย่างเช่น การปรามาส
* การกล่าวเท็จหรือหลอกลวง รวมไปถึงการกล่าวอ้างข้อมูลที่ผิดในหน้าอภิปราย และชี้นำผู้ใช้วิกิพีเดียไปในทางที่ผิด
* การยกเอาคำพูดของผู้ใช้คนอื่นมา เพื่อเป็นการชักจูงผู้ใช้คนนั้นให้เห็นถึงความเชื่อของผู้ใช้คนอื่น หรือเป็นการกระทำที่ใส่ร้าย
* ว่าร้ายผู้อื่น โดยไม่จำกัดเพียงแค่เผ่าพันธุ์ ความเชื่อ เพศหรือศาสนาเท่านั้น
* การใช้ถ้อยคำอันก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ใช้คนอื่น หรือการกล่าวถึงบุคคล กลุ่มบุคคลหรือสถาบันใดในถ้อยคำที่นำไปสู่ความเสื่อมเสีย
* การก่อกวน
* การอวดฉลาด
* ความพยายามที่จะบีบให้ผู้อื่นสละเวลาหรือช่วงเวลาการทำงานของผู้อื่น โดยที่เขาผู้นั้นไม่เห็นด้วย
 
และในขณะเดียวกัน การขาดความเอาใจใส่ในการบังคับใช้นโยบายอื่น ๆ ซึ่งนำไปสู่ความตึงเครียดและความขัดแย้ง อย่างเช่น การกล่าวถึงการแก้ไขอันมีเจตนาดีของผู้ใช้คนหนึ่งคนใดว่าเป็นการก่อกวน เขาอาจรู้สึกว่าตนถูกปฏิบัติด้วยความไม่เป็นธรรม ใช้การพิจารณาของคุณอย่างดีที่สุด และพร้อมที่จะขอโทษเขาถ้าหากคุณทำผิดใด ๆ
 
== สันนิษฐานว่าคนอื่นสุจริตใจ ==
{{ดูเพิ่มที่|วิกิพีเดีย:สันนิษฐานว่าคนอื่นสุจริตใจ}}
 
นอกเหนือจากว่าคุณมีหลักฐานที่หนักแน่นและชัดเจน ให้คุณตั้งสมมุติฐานไว้เสมอว่า บุคคลทั้งหลายที่เข้ามาในวิกิพีเดียมีความต้องการที่จะปรับปรุงวิกิพีเดีย ไม่ใช่ทำลายมันลง ผู้ใช้ทุกคนสามารถทำผิดพลาดได้ และส่วนใหญ่แล้ว การตักเตือนกันตามปกติก็จะสามารถแก้ไขความผิดพลาดนั้นได้ แต่เมื่อเกิดความไม่เห็นด้วยที่เต็มไปด้วยความยุ่งยาก คุณก็ควรที่จะเชื่อว่าไม่มีใครไม่สุจริตใจอยู่เช่นกัน
 
ความพยายามที่จะเชื่อในส่วนที่ดีของชาววิกิพีเดียจะเป็นการกำจัดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น เนื่องจากชาววิกิพีเดียทั้งหมดสื่อสารกันผ่านทางตัวอักษร โดยที่ไม่ได้ยินเสียงหรือสามารถมองเห็นได้ด้วยสายตา ในการพูดคุยกันต่อหน้า
 
== การว่าร้ายผู้อื่น ==
{{ดูเพิ่มที่|วิกิพีเดีย:อย่าว่าร้ายผู้อื่น}}
 
ผู้ใช้วิกิพีเดียถูกคาดหวังว่าจะสามารถหลีกเลี่ยงการว่าร้ายผู้อื่น ซึ่งนโยบายดังกล่าวมีผลบังคับต่อผู้ใช้วิกิพีเดียทุกคนอย่างเสมอกัน การว่าร้ายผูอื่นนั้นเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้ เพราะวิกิพีเดียสนับสนุนให้เป็นประชาคมออนไลน์ในด้านบวก ระลึกไว้เสมอว่า ทุกคนสามารถผิดพลาดได้ แต่พวกเขาจะสามารถเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงแนวทางดำเนินงานของตน การว่าร้ายผู้อื่นเป็นการปฏิบัติอันตรงกันข้ามกับหลักการดังกล่าวนี้ ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อการสร้างสารานุกรม และอาจลงเอยด้วย[[WP:BLOCK|การบล็อกผู้ใช้]]
 
== การจัดการกับความอนารยะ ==
 
=== การลบความเห็นอนารยะ ===
เมื่อการแก้ไขของคุณได้รับการพิจารณาว่าไม่เป็นอารยะ คุณสามารถลดผลกระทบของมันลงได้โดย:
* เมื่อผู้ใช้คนอื่นไม่เข้าใจ และรุกรานความเห็นของคุณ ซึ่งไม่มีใครเจตนานั้น ให้คุณอธิบายให้ชัดเจนด้วยความใจเย็น
* ขีดฆ่าความเห็นของคุณออก (โดยใช้เครื่องหมายขีดฆ่า <nowiki><s>...</s></nowiki>) เพื่อแสดงให้ส่วนรวมเห็นว่าคุณได้เก็บคำพูดของคุณแล้ว
* ลบความเห็นของคุณออกอย่างเงียบ ๆ หรือแก้ไขการเขียนของคุณให้เป็นอารยะมากขึ้น - ซึ่งเปิดความคิดที่ดีถ้าคุณสามารถแก้ไขมันก่อนที่ผู้ใช้คนอื่นจะเข้าใจเช่นนั้น แต่ถ้าหากมีผู้ใช้คนอื่นได้มาพบเห็นความเห็นอันไม่เป็นอารยะของคุณแล้ว คุณควรจะยอมรับในคำอธิบายอย่างย่อว่าคุณได้เปลี่ยนแปลงความเห็นของคุณไปเรียบร้อยแล้ว
* กล่าวขอโทษอย่างง่าย ๆ ทางเลือกนี้ไม่เคยทำให้ใครต้องรู้สึกแย่ลง และอาจเป็นการเชื่อมสัมพันธ์กับผู้ใช้คนอื่นอีกด้วย ถึงแม้ว่าคุณจะเชื่อมั่นว่าความเห็นของคุณเป็นการถูกต้องแล้ว หรือแม้กระทั่งเมื่อมีผู้ใช้เข้าใจผิดความหมายของคุณ คุณก็ยังคงสามารถกล่าวขอโทษ เพื่อเป็นการยุติการกระทำผิดใด ๆ ได้
 
ส่วนในกรณีที่เป็นความหยาบคาย หรือความไม่สุภาพในส่วนที่เป็นของผู้ใช้คนอื่น โดยปกติแล้ว การพูดคุยกับผู้ใช้คนนั้นในประเด็นเกี่ยวกับการใช้คำเป็นการกระทำที่เหมาะสม และขอให้ผู้ใช้คนนั้นเปลี่ยนแปลงคำของตน สำหรับบางส่วน การเอาใจใส่เป็นสิ่งที่จำเป็น แต่ทว่าในความพยายามที่จะไม่ให้สถานการณ์บานปลายไปมากกว่านี้ คุณอาจจะแก้ไขหรือลบการแก้ไขของผู้ใช้คนนั้น แต่ไม่ใช่การกระทำที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งนัก ยกเว้นแต่ว่าเป็นการย้อนการก่อกวนที่เห็นได้ชัดเจน หรือเมื่อความเห็นนั้นปรากฏอยู่ในหน้าพูดคุยของคุณเอง
 
=== การกล่าวขอโทษ ===
ข้อพิพาท หรือแม้กระทั่งความไม่เข้าใจระหว่างกัน สามารถนำไปสู่สถานการณ์ซึ่งเกิดความบาดหมางระหว่างกัน การกล่าวขอโทษเป็นหนึ่งในรูปแบบของการคืนดีกันระหว่างคู่กรณี
 
สำหรับคนบางกลุ่มแล้ว มันอาจเป็นสิ่งสำคัญที่จะได้รับคำขอโทษจากผู้ที่รุกรานก่อน ความต้องการคำขอโทษนี้เกือบจะไม่มีประโยชน์และมักจะขยายสถานการณ์ให้ลุกลามบานปลายออกไปหลายครั้ง ถึงแม้ว่าการร้องขอความสุภาพ และเจตนาที่ดีในการกล่าวขอโทษนี้จะเป็นสิ่งที่สามารถยอมรับได้ก็ตาม การเสนอคำขอโทษเป็นสิ่งที่ดีกว่า และสามารถเป็นหัวใจหลักของการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งได้ คำขอโทษเป็นการมอบโอกาสให้กับการเริ่มต้นใหม่ และทำลายบรรยากาศอันไม่ดีในวิกิพีเดียไปเสีย
 
=== การบล็อกเหตุอนารยะ ===
{{hatnote|ดูเพิ่มที่: [[วิกิพีเดีย:นโยบายการบล็อกผู้ใช้#การบล็อกเพื่อให้ใจเย็น|การบล็อกเพื่อให้ใจเย็น]]}}
 
การบล็อกเหตุอนารยะสามารถกระทำได้เมื่อการกระทำดังกล่าวเป็นการรบกวนการสร้างสารานุกรม อย่างไรก็ดีนโยบายเกี่ยวกับการประพฤติเยี่ยงอารยชนไม่มีความประสงค์จะให้เป็นผลร้าย และการบล็อกโดยอาศัยเหตุอนารยะไม่ควรเป็นสิ่งแรกที่พึงกระทำ เว้นแต่ในบางกรณี ทั้งนี้โดยคำนึงถึงประเด็นต่อไปนี้
 
# ให้คำนึงถึงประวัติการแก้ไขทั้งปวงโดยรอบด้าน หลีกเลี่ยงการมองภาพรวมกว้าง ๆ โดยมิได้ทำความเข้าใจกับภูมิหลังต่อสถานการณ์
# พิจารณาข้อดีในการเลือกใช้หนทางอื่น ๆ ก่อนเลือกบล็อกโดยอาศัยเหตุอนารยะ การลงโทษโดยอาศัยเหตุอนารยะควรใช้เมื่อหมดหนทางอื่นแล้ว เนื่องจากการบล็อกโดยอาศัยเหตุอนารยะโดยไม่คำนึงให้ดีก่อนจะทำให้ข้อพิพาทแย่ลงและทำให้การรบกวนปรากฎมากขึ้น พึงระลึกว่าการลงโทษสามารถอาศัยเหตุผลอื่น เช่น รบกวนการสร้างสารานุกรม ให้ร้ายผู้อื่น แก้ไขโดยไม่เป็นกลาง หรือก่อให้เกิดความรำคาญ ได้
# การบล็อกด้วยเหตุอนารยะควรเป็นกรณีที่ชัดแจ้ง ไม่เป็นข้อพิพาทว่าได้มีการกระทำการอันอนารยะ เป็นต้นว่าผู้แก้ไขกระทำการเกินเลยเกินไปจนผู้แก้ไขคนอื่นเห็นได้ว่าเป็นเช่นนั้น หากในกรณีที่อาจไม่เป็นเช่นว่า หรือในกรณีที่ว่าการใช้เครื่องมีอผู้ดูแลระบบกับผู้อนารยะนั้นจะก่อให้เกิด หรืออาจก่อให้เกิดประเด็นพิพาท ให้มีการพูดคุยกันก่อนผ่านทาง[[WP:AN|หน้าแจ้งผู้ดูแลระบบ]]ก่อนที่จะมีการลงโทษใด ๆ ทั้งนี้พึงชั่งน้ำหนักว่าระหว่างความเป็นไปได้ในการรบกวนจากผู้แก้ไขในระหว่างการพิจารณาคำขอทบทวนการบล็อกหรือปลดบล็อก กับผลประโยชน์จากการบล็อกที่ยาวนานหรืออาจเป็นประเด็นพิพาทในประเด็นว่าด้วยความไม่เป็นอารยชน อย่างใดจะมีน้ำหนักมากกว่ากัน
# ผู้ใช้เช่นว่าควรได้รับการเตือนโดยลายลักษณ์อักษรก่อนที่จะถูกบล็อกเหตุอนารยะ และควรเปิดโอกาสให้มีเวลาเพื่อถอนคำพูดหรืออภิปรายการกระทำที่ไม่เป็นอารยชนดังกล่าว แม้ผู้ใช้ที่มีประสบการณ์ก็ไม่ควรถูกบล็อกโดยไม่ต้องเตือนก่อน เว้นแต่ว่าผู้ใช้เช่นว่าจะได้กระทำการละเมิดหรือข่มขู่อย่างชัดแจ้ง หรือผู้ใช้ได้รับการเตือนหลายครั้งแล้ว กรณีดังกล่าวไม่จำเป็นต้องมีการเตือน
 
ข้อที่กล่าวมาทั้งหมดนี้มิได้หมายความว่าการบล็อกเหตุอนารยะไม่ควรเกิดขึ้นหรือไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย แต่การบล็อกโดยทันทีจะใช้ในกรณีซึ่งอนารยะอย่างชัดแจ้ง ทำให้เกิดการรบกวนการสร้างสารานุกรมอย่างชัดเจน การให้ร้ายผู้อื่น หรือก่อให้เกิดความรำคาญ อนึ่ง เช่นเดียวกับการบล็อกประเภทอื่น การบล็อกโดยเหตุดังกล่าวนี้ควรเป็นการบล็อกเพื่อการป้องกันความเสียหาย มิใช่บล็อกเพื่อลงโทษ
 
{{นโยบายและแนวปฏิบัติ}}
[[หมวดหมู่:นโยบายวิกิพีเดีย]]
[[หมวดหมู่:ชุมชนวิกิพีเดีย]]
{{เรียงลำดับ|{{PAGENAME}}}}
 
[[is:Wikipedia:Kurteisi]]