ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชอาณาจักรอิตาลี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 367:
[[ไฟล์:Bundesarchiv Bild 101I-602-B1242-25A, Balkan, italienische Spähpanzer.jpg|thumb|250px|รถถัง AB 41 ของอิตาลี ซึ่งปฏิบัติการใน[[คาบสมุทรบอลข่าน]]ระหว่าง[[สงครามโลกครั้งที่ 2]]]]
 
เพื่อแย่งชิงเอากรีซกลับมาอีกครั้ง เยอรมนีจำต้องเปิดฉาก[[ยุทธการบอลข่าน]]ร่วมกับอิตาลี ซึ่งยังผลให้[[ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย]]ต้องล่มสลายในปี [[ค.ศ. 1941]] และการยึดครอง[[ดัลเมเชีย]]โดยอิตาลี มุสโสลีนีและฮิตเลอร์ได้ชดเชยให้แก่ขบวนการชาตินิยม[[ชาวโครแอต]]ด้วยการอนุญาตให้มีการจัดตั้ง[[รัฐเอกราชโครเอเชีย]]ขึ้นภายใต้การบริหารของ[[พรรคอุสตาเช]] (Ustaše) ซึ่งเป็นกลุ่มชาตินิยมสุดขั้ว และเพื่อเป็นการตอบแทนการได้รับความสนับสนุนจากอิตาลี รัฐบาลอุสตาเช่สตาเชตกลงยินยอมให้อิตาลีเข้าครอบครองตอนกลางของดัลเมเชียเช่นเดียวกับเกาะอีกหลายเกาะใน[[ทะเลเอเดรียติก]] เนื่องจากดินแดนดัลเมเชียมีนัยความหมายที่สำคัญต่อชาวอิตาลีอย่างยิ่ง การสูญเสียหมู่เกาะเอเดรียติกของโครเอเชียถือว่าเป็นการสูญเสียที่น้อยมากสำหรับรัฐบาลโครเอเชีย เพราะโครเอเชียได้รับอนญาตให้ผนวกเอาดินแดนซึ่งในปัจจุบันคือ[[บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา]] และได้รับอนุญาตให้รังควาน[[ชาวเซิร์บ]]ที่อยู่ในที่นั้นเพื่อสร้างพื้นที่ตั้งรกรากสำหรับชาวโครแอตในอนาคต โดยทางการแล้ว โครเอเชียมีฐานะเป็น[[ราชอาณาจักร]]และเป็น[[รัฐในอารักขา]]ของอิตาลี ซึ่งปกครองโดย[[เจ้าชายอายโมเน, ดยุคแห่งเอออสตาที่ 4|พระเจ้าโทมิสลาฟที่ 2 แห่งโครเอเชีย]] ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์อิตาลีใน[[ราชวงศ์ซาวอย]] อย่างไรก็ตาม พระองค์มิเคยได้เสด็จไปยังโครเอเชียเลยสักครั้ง และรัฐบาลโดครเอเชียโครเอเชียก็ดำเนินไปภายใต้การบริหารของ[[อันเต ปาเวลิช]] ผู้นำพรรคอุสตาเช อย่างไรก็ตามอิตาลีได้คงกำลังทหารไว้ตามแนวชายฝั่งของโครเอเชีย ซึ่งเป็นกำลังที่คอยควบคุม[[แอลเบเนีย]]และ[[มอนเตเนโกร]]ด้วย ทำให้อิตาลีสามารถควบคุมทะเลอาเดรียติกได้อย่างสมบูรณ์ และเป็นการเติมเต็มหัวใจสำคัญของนโยบาย "Mare Nostrum" ของรัฐบาลฟาสซิสต์ ชบวนการอุสตาเชเป็นขุมกำลังที่ทรงคุณค่ายิ่งสำหรับอิตาลีและเยอรมนีเพราะช่องทางสำคัญที่จะใช้ตอบโต้ขบวนการกองโจรเชตนิคส์ของยูโกสลาเวีย (แม้ว่าขบวนการดังกล่าวนี้จะทำงานให้เยอรมนีและอิตาลีก็ตาม เพราะขบวนการนี้ไม่พอใจขบวนการอุสตาเช่อย่างยิ่งสตาเชอย่างยิ่ง) และขบวนการคอมมิวนิสต์[[ปาร์ติซานชาวยูโกสลาฟ]]ภายใต้การนำของ[[ยอซีป บรอซ ตีโต]] ซึ่งต่อต้านการยึดครอง[[ยูโกสลาเวีย]]
 
ในปี [[ค.ศ. 1940]] อิตาลีได้รุกเข้าสู่[[ราชอาณาจักรอียิปต์]]และถูกกองกำลัง[[เครือจักรภพอังกฤษ]]ขับไล่ให้ต้องถอยมาอยู่ใน[[ลิเบีย]]ในเวลาไม่นานนัก กองทัพเยอรมันจึงได้ส่งกองทหารเข้ามาร่วมในกองทัพอิตาลีที่ลิเบียเพื่อป้องกันอาณานิคมไว้จากการรุกคืบของฝ่ายบริเตน หน่วยรบเยอรมันใน[[กองทัพน้อยแอฟริกา]]ของจอมพล[[เออร์วิน รอมเมล]] คือกำลังหลักในยุทธการผลักดันกองทัพบริเตนออกไปจากลิเบียและรุกเข้าสู่ใจกลางประเทอียิปต์ระหว่างปี ค.ศ. 1941 - 1942 ชัยชนะในอียิปต์ถูกยกย่องให้เป็นผลงานจากความเป็นเลิศในทางยุทธวิธีของจอมพลรอมเมลเกือบทั้งหมด ส่วนอิตาลีได้รับความสนใจจากสื่อเพียงเล็กน้อยเพราะความสำเร็จของพวกเขาผูกติดไว้กับประสบการณ์และอาวุธชั้นเลิศของกองกำลังของจอมพลรอมเมล จากทัศนะของทางการอิตาลีในช่วงปี [[ค.ศ. 1942]] อิตาลีสามารถควบคุมดินแดนในแถบ[[ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน]]ได้เป็นจำนวนมาก เมื่อรัฐบาล[[ฝรั่งเศสวิชี]]ล่มสลาย อิตาลีก็ได้เข้าควบคุม[[เกาะคอร์ซิกา]] (ซึ่งเป็นเกาะที่มีประชากรเป็นคนเชื้อสายฝรั่งเศสและอิตาลี) [[นีซ]] และดินแดนบางส่วนในทางตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส ทั้งยังได้ตรวจตราการยึดครองทางทหารในจุดสำคัญทางทหารในตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศสอีกด้วย แต่ถึงแม้เอกสารของทางอิตาลีจะอ้างความสำเร็จดังกล่าว แต่แท้จริงแล้วสิ่งที่เรียกว่า "จักรวรรดิอิตาลี" ในปี ค.ศ. 1942 ก็เป็นเพียงเสือกระดาษเท่านั้น ทั้งนี้เพราะเศรษฐกิจอิตาลีประสบกับภาวะชะงักงันจากการสร้างเงื่อนไขสงคราม และเมืองต่างๆ ในอิตาลีล้วนถูกฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดใส่ตลอดเวลา และเช่นเดียวกันที่แม้ว่าจอมพลรอลเมลจะสามารถรุกคืบได้ในปี ค.ศ. 1941 และช่วงต้น ค.ศ. 1942 แต่ในช่วงปลายของปี ค.ศ. 1942 นั้นเอง การเปิดสงครามในแอริกาเหนือก็เริ่มประสบความหายนะ และจะพินาศลงอย่างสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1943 เมื่อกองทัพเยอรมนีและอิตาลีล่าถอยจากแอฟริกาเหนือไปยัง[[เกาะซิซิลี]]