ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ญาณ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 25:
 
== ญาณ 16 และ วิปัสสนาญาณ 9 ==
ญาณ 16 ไม่ปรากฏใน[[พระไตรปิฎกภาษาบาลี]]โดยตรงทั้งหมด แต่วิปัสสนาจารย์สายพม่าได้เรียบเรียงจากญาณที่ระบุใน[[ปฏิสัมภิทามรรค]] และคัมภีร์
[[วิสุทธิมรรค]] รวมกัน 16 ขั้น เรียกว่า ญาณ 16 (โสฬสญาณ) เป็นญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนา โดยลำดับตั้งแต่ต้น จนถึงจุดหมายคือมรรคผลนิพพาน
 
บรรทัด 42:
 
* '''นามรูปปริจเฉทญาณ''' หมายถึง ญาณกำหนดแยกนามรูป
'''ญาณที่ ๑. นามรูปปริจเฉทญาณ''' ปัญญาที่กำหนดจนเห็นรูปและนามว่าเป็นคนละสิ่ง คนละส่วน รูปนามแยกออกจากกันและไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ญาณนี้มาจากพระไตรปิฎก คัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค โดยมีเนื้อหาสาระตรงกับชื่อ ธัมมัฏฐิติญาณ(ปัญญา ในการกำหนดปัจจัย หรือญาณในการกำหนดที่ตั้งแห่งธรรม) ที่เป็นญาณที่ ๔ ในญาณ ๗๓ แต่เดิมมิได้เรียกว่า นามรูปปริจเฉทญาณ
 
แต่ในพระไตรปิฎกอรรถกถาได้แยกขยาย ธัมมัฏฐิติญาณ ออกเป็น ๒ ญาณคือ นามรูปปริจเฉท และปัจจัยปริคคหญาณ โดยในอรรถกถาเรียกญาณที่ ๑ ว่า นามรูปววัตถานญาณ ในญาณที่ ๑๕ คือ วัตถุนานัตตญาณ ส่วนในคัมภีร์วิสุทธิมรรคเรียกญาณที่ ๑ ว่า นามรูปววัฏฐาน หรือสังขารปริจเฉท และให้ความหมายเหมือนกัน
บรรทัด 58:
ณ ที่นั้น
ในขณะนั่งสมาธิ โยคีกำหนดไปที่อาการเคลื่อนไหวของท้องว่า พองหนอ บางครั้งการกำหนดพองหนอก่อนอาการพอง หรือไปรออาการพองล่วงหน้า นี่เรียกว่า นามเป็นเหตุ รูปเป็นผล แต่บางครั้งการกำหนดพองหนอได้ช้ากว่าอาการพอง นี่คือรูปเป็นเหตุ นามเป็นผล เมื่อปฏิบัติไปได้ระยะหนึ่ง ผู้ปฏิบัติจะสามารถแยกรูปแยกนามได้อย่างชัดเจน และอาจเข้าถึงสภาวธรรมของรูปนาม ในขณะเดินจงกรมเช่น เมื่อคิดว่าอยากให้เท้าเคลื่อนย่างไปเร็ว เท้าจะเคลื่อนไปเร็วเอง หรือคิดว่าอยากให้เท้าเคลื่อนย่างไปช้า เท้าจะเคลื่อนไปช้าเอง ตามที่จิตสั่ง(นามเป็นปัจจัยให้รูป)ได้อย่างชัดเจน พร้อมกับเกิดความเข้าใจว่ารูปและนามเป็นคนละอันกัน เนื่องจากตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน เหตุปัจจัยของรูปนามได้ปรากฏสืบต่อกัน อย่างไม่ขาดสายทุกขณะจิต ในวิปัสสนาญาณที่ ๑ และ ๒ จัดเป็นวิปัสสนาอย่างอ่อน แต่ยังไม่นับว่าเป็นขั้นของภาวนามยปัญญา
 
 
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ญาณ"