ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าเพชรราช รัตนวงศา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mekanourak (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Mekanourak (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 27:
เจ้าเพชรราช ประสูติ ณ ตำหนักวังหน้า นครหลวงพระบาง เมื่อวันอาทิตย์ เดือนยี่ แรม 9 ค่ำ ปีฉลู จุลศักราช 1251 เวลา 11.55 น. ตรงกับวันที่ 19 มกราคม 2443 (ค.ศ.1890) เป็นโอรสองค์ที่ 3 ของเจ้ามหาอุปราชบุญคง ซึ่งสืบตระกูลมาจากเจ้ามหาอุปราชอุ่นแก้วซึ่งเป็นต้นตระกูลเดิม เมื่ออายุได้ 7 ปีกว่าจึงเริ่มเรียนหนังสือลาวและหนังสือสยามและภาษาฝรั่งเศส พร้อมๆกับการติดสอยตามพระบิดาไปตรวจงานหัวเมืองเสมอ ปี พ.ศ. 2442 ผนวชเป็นสามเณรที่วัดธาตุหลวงเรียนภาษาบาลี ปี พ.ศ. 2447 ได้เสด็จไปเรียนต่อที่ฝรั่งเศส ที่โรงเรียนโกโลนิยาล (Colonial) ซึ่งเป็นร.ร.ที่ฝรั่งเศสตั้งขึ้นเพื่ออบรมผู้ที่จะไปเป็นข้าราชการปกครองในประเทศหัวเมืองขึ้น ต่อมาเข้าโรงเรียนมัธยมมงเตเยอ แผนกวิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษ เพื่อฝึกภาษาอังกฤษ ในระหว่างปิดเทอมได้ข้ามไปพักในอังกฤษ อาศัยอยู่กับมิสเตอร์เลนน อาจารย์สอนดาราศาสตร์จึงทำให้เกิดสนใจในดาราศาสตร์และโหราศาสตร์ตั้งแต่นั้นมา ต่อมาได้แต่งหลักคำนวณปฏิทินลาวไว้ด้วย พระองค์ศึกษาต่อในโรงเรียนมัธยมเซนต์หลุยส์ถึงปี 2453 เสด็จกลับมาผนวชเป็นพระภิกษุที่วัดหนองสระแก้วตามประเพณี เมื่อลาผนวชแล้ว เข้ารับราชการเป็นผู้ร่างหนังสืออยู่กองคลัง หลวงพระบาง
พระองค์อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงคำแว่น พระพี่นางเธอของเจ้าศรีสว่างวงศ์ ซึ่งตกพุ่มหม้ายและมีอายุมากกว่าหลายปี ทั้งนี้ว่ากันว่าเป็นการประสานรอยร้าวระหว่างราชวงศ์หลวงพระบางและราชวงศ์เวียงจันทร์สายเจ้ามันธาตุราชกับสายเจ้าอุ่นแก้ว (ตระกูลวังหน้ากับตระกูลวังหลัง) มีพระโอรสและพระธิดา 3 องค์ คือ เจ้าหญิงคำผิว (เสียชีวิต) เจ้าหญิงคำจันทร์ (สามีเป็นชาวฝรั่งเศส) และเจ้าชายสุริยะราช
ขณะรับตำแหน่งผู้ตรวจราชการหัวเมืองลาวที่นครเวียงจันทร์ ได้อนุชายา ชื่อนางศรี (ชาวเวียงจันทร์) บุตรธิดา 2 คน ได้แก่ เจ้าหญิงอรุณา (เจ้านา) เพชรราช และเจ้าชายอุ่นแก้ว (เจ้าแก้ว) เพชรราช <ref>มหาสิลา วีระวงศ์</ref> (ภายหลังเมื่อสิ้นเจ้าเพชรราชแล้ว ทั้งสองท่านนี้ได้ตามหม่อมอภิณพร รัตนวงศามาอยู่ในเมืองไทย เจ้านาเรียนพยาบาล และเจ้าแก้วรับราชการทหาร)<ref>(ข้อมูลจากนายอติศัย แพ่งสภา)</ref>
พ.ศ. 2489 เมื่อต้องทรงลี้ภัยทางการเมืองเข้ามาอยูในประเทศไทย พร้อมรัฐบาลลาวอิสระและประชาชนเมืองลาวผู้รักอิสรภาพหลายพันคนเป็นเวลานานถึง 11 ปี ขณะพำนักลี้ภัยในประเทศไทย มีคุณอภิณพร ยงใจยุทธเป็นแม่บ้าน ต่อมาได้สมรสกับคุณอภิณพรเปลี่ยนเป็นหม่อมอภิณพร รัตนวงศา (นามสกุล “รัตนวงศา” ทรงตั้งขึ้นเองเมื่ออยู่ในเมืองไทย สืบเนื่องจากพระมหาอุปราชอุ่นแก้วพระบิดาปัยกา) หม่อมอภิณพรฯ เป็นกำลังสำคัญของการปฏิบัติการกู้ชาติ ผู้ทำหน้าที่แม่บ้านปกครองดูแลผู้คนจำนวนมาก เป็นเจ้าหน้าที่ประสานงานกับรัฐบาลไทย บริหารการจัดการเงินจัดหาค่าใช้จ่าย เป็นเลขานุการส่วนพระองค์ ปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนพระองค์เจ้าเพชรราช เจรจาการเมืองและ
เรื่องส่วนพระองค์ ทั้งในและนอกราชอาณาจักรไทย ไปพนมเปญ ไปย่างกุ้ง เพื่อทำความเข้าใจร่วมระหว่างลาวเขมรญวนและพม่าที่ต่างมุ่งล้างอิทธิพลชาวผิวขาวด้วยกัน