เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tranwill (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 16:
| user = Tranwill
}}
 
== ASDD ==
ประวัติโรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล
 
โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพลก่อตั้งขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โดยในยุคแรกได้ใช้ศาลาการเปรียญของวัดชัยประสิทธิ์ (วัดสะแก) ซึ่งเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในบริเวณบ้านหนองบ่อ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองชัยภูมิ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๒
วัดสะแก หรือวัดชัยประสิทธิ์ ( วัดประสิทธิ์๑ ) เดิมเป็นวัดร้าง พระประสิทธิ์ได้มาซ่อมแซมบูรณะขึ้นใหม่ราวปี พ.ศ. ๒๔๓๕ และได้ขนานนามวัดใหม่ตามนามของท่านว่า “วัดชัยประสิทธิ์” ต่อมาพระประสิทธิ์ได้ทำการสอนพระปริยัติธรรมแก้บรรพชิตและคฤหัสถ์ที่สนใจในพระพุทธศาสนา ซึ่งนับเป็นการเรียนการสอนยุคแรกของโรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล
เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๒๒ พระหฤทัย (บัว) ผู้รั้งผู้ว่าราชการจังหวัด (ดำรงตำแหน่งระหว่าง : พ.ศ. ๒๔๔๒ – ๒๔๔๔) เจ้าเมืองชัยภูมิได้ตั้งโรงเรียนหลวงแห่งแรกของจังหวัดชัยภูมิขึ้นที่วัดชัยประสิทธิ์ตามพระบรมราโชบายปฏิรูปการศึกษาหัวเมืองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากร และความต้องการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติโดยได้ออก "ประกาศจัดการเล่าเรียนในหัวเมือง" เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๑ ความว่า
 
… ความเจริญของคนทั้งหลายย่อมเกิดแต่ความประพฤติชอบ และการเลี้ยงชีวิตโดยชอบเป็นที่ตั้ง ครั้นทั้งหลายจะประพฤติชอบ แลจะหาเลี้ยงชีวิตโดยชอบนั้นเล่า ก็ย่อมอาศัยการได้ศึกษาวิชา ความรู้ ในทางที่จะให้บังเกิดประโยชน์ มาแต่ย่อมเยาว์ และฝึกซ้อมสันดานให้น้อยในทางสัมมาปฏิบัติและเจริญปัญญา สามารถในกิจการต่างๆ อันเป็นเครื่องประกอบการหาเลี้ยงชีพเมื่อเติบใหญ่ จึงเชื่อว่าได้เข้าสู่ทางความเจริญ… บัดนี้การฝึกสอนในกรุงเทพฯ เจริญแพร่หลายมากขึ้นแล้ว สมควรจะจัดการฝึกสอนให้หัวเมืองได้เจริญขึ้นตามกัน …
- ราชกิจกานุเบกษา เล่ม ๑๕ แผ่นที่ ๓๓ วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๑๗
 
ในการจัดการศึกษาขั้นต้นตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของรัฐบาลสยามในสมัยนั้น พระหฤทัย (บัว) ได้มีนโยบายในการจัดการศึกษาในจังหวัดเพื่อตอบสนองความต้องการของนโยบายรัฐบาลนั้นได้จัดการศึกษาขึ้นที่วัดชัยประสิทธิ์ โดยมอบหมายให้พระครูจรูญ นิโรธกิจ เป็นผู้จัดการเรียนการสอนขึ้น โดยมีนายพรมหมา และนายป้อมเป็นครูผู้สอน ในปี พ.ศ. ๒๔๔๒ ณ ศาลาการเปรียญวัดชัยประสิทธิ์เปิดสอนในประโยค ๑ – ๒ โดยประโยค ๑ มีชั้น ป.๑ และ ป.๒ ประโยค ๒ คือชั้น ป.๓ และ ป.๔ เมื่อสำเร็จชั้นประโยค ๒ ถือว่าสำเร็จชั้นสูงสุดการศึกษาภายในจังหวัดชัยภูมิ ในต้นปี พ.ศ. ๒๔๔๕ ที่มีนักเรียนเป็นจำนวนมากซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นบุตร ธิดาของบรรดาข้าราชการ คหบดี พ่อค้า ประชาชนทั่วไป ในจังหวัดชัยภูมิ ต่อมาในปีกลาง พ.ศ. ๒๔๔๕ โรงเรียนวัดประสิทธิ์มีนักเรียนทั้งบรรพชิต และคฤหัสถ์ศึกษาเล่าเรียนรวมทั้งสิ้น ๑๐๐ คน มีครูเพียง ๑ คน ซึ่งที่นั่งนักเรียนไม่เพียงพอที่จะจัดการเรียนการสอน ผู้รั้งผู้ว่าราชการจังหวัด หลวงพิทักษ์นรากร ได้เห็นถึงปัญหาการขาดแคลนสถานที่จัดการเรียนการสอนและจำนวนครูผู้สอนไม่เพียงพ่อต่อนักเรียนกอปรกับ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๕ การปฏิรูปการศึกษาของประเทศนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง ประกาศใช้ “พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์” ซึ่งในแง่มุมของการศึกษา ถือเป็นการแบ่งงานระหว่างพระสงฆ์กับกรมศึกษาธิการ โดยพระสงฆ์จะจัดการศึกษาในระดับประถมศึกษา ส่วนในระดับสูงกว่าเป็นหน้าที่ของกรมศึกษาธิการ จึงมีการรวบรวมรายชื่อโรงเรียนเพื่อจัดทำทะเบียนโรงเรียนหลวงขึ้น หลวงพิทักษ์นรากร จึงรวบรวมเงินบริจาคจากข้าราชการน้อยใหญ่ในจังหวัดชัยภูมิเพื่อปรับปรุงโรงเรียนเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยมีรายนามผู้บริจาค ดังนี้
 
 
นาม ตำแหน่ง จำนวนเงิน
หลวงพิทักษ์นรากร ผู้รั้งราชการ ๒๔ บาท
หลวงภูมิพิทักษ์ ๑๒ บาท
หลวงไชยภูมิพิพัฒน์ นายอำเภอเมืองไชยภูมิ ๑๒ บาท
ขุนอาณัติราษฎร์สำราญ ปลัดอำเภอ ๑๒ บาท
ขุนภักดีธนราช พนักงานคลัง ๔ บาท
นายคำ พนักงานบาญชี ๒ บาท
นายแดงเล็ก เสมียนตรี ๒ บาท
ขุนสาธรศุภกิจ ศุภุมาตรา ๔ บาท
นายแดงใหญ่ เสมียนตรี ๑ บาท
หลวงการีคะดีรัฐ ยกระบัตร์ ๒๐ บาท
ขุนพรหมสุภา ผู้พิพากษา ๑๒ บาท
หมื่นอักษรคดีกิจ ๑ บาท
หมื่นสฤษดีศุภการ ยกระบัตรศาล ๑ บาท
ขุนวัจนาธรรมนูญ แพ่ง ๔ บาท
ขุนวรอักษรเลข อักษรเลข ๑๐ บาท
นายภักเสมียน ฝึกหัด ๑ บาท
หมื่นตระเวนราชกิจ รองแพ่ง ๒ บาท
นายแก้วเล็ก คนใช้ ๑ บาท
นายต่วน เสมียนตรี ๑ บาท
นายน้อย เสมียนสามัญ ๑ บาท
หลวงอินอาญา นักการ ๘ อัฐ
หลวงสิทธิ์การภักดี ปลัดเมือง ๑๒ บาท
ขุนศรีนิติสาร สัศดี ๔ บาท
ขุนสง่าบริรักษ์ จ่าเมือง ๔ บาท
หลวงประกิจสรรพากร ผู้ช่วย ๑๐ บาท
หลวงนรินทร์สงคราม นายอำเภอจัตุรัส ๘ บาท
รวมทั้งสิ้น ๑๖๖ บาท ๘ อัฐ ๔
 
เงินจำนวน ๑๖๖ บาท ๘ อัฐนี้นับเป็นเงินบำรุงสถานศึกษาชุดแรกที่ก่อให้เกิดการพัฒนาและส่งเสริมการศึกษาในจังหวัดชัยภูมิตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๔๒ จวบจนปัจจุบัน
๒ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๑ (พ.ศ. ๒๔๔๕ ๕) หลวงพิทักษ์นารากร ผู้รั้งผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิได้เสนอชื่อโรงเรียนวัดประสิทธิ์ไปยังกระทรวงมหาดไทยและได้เสนอก่อตั้งเป็นโรงเรียนหลวงขึ้นพร้อมรายนามข้าราชการที่บริจาคเงินบำรุงโรงเรียนวัดประสิทธิ์
๑๒ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๑ (พ.ศ. ๒๔๔๕) พระยาศรีสหเทพ ราชปลัดทูลฉลอง ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้เสนอขอตั้งโรงเรียนไปยังพระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ ปลัดกระทรวงธรรมการ และได้เสนอต่อไปยังสำนักราชเลขานุการได้นำความกราบบังคมทูล พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสมมตอมรพันธ์ โดยมีเนื้อความว่า
ที่ ๒๑๙ / ๖๗๑๒
 
วันที่ ๒๕ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๑
ข้าพระพุทธเจ้า พระยาวุฒิการบดี ขอประทานกราบทูล พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสมมตอมรพันธ์ ทราบฝ่าพระบาท
ด้วยกระทรวงมหาดไทยมีหนังสือนำส่งบาญชีรายชื่อข้าราชการเมืองชัยภูมิ คือจัดหาจ้างครูขึ้นอีก ๒ คนและสร้างม้าสำหนับนั่งเรียนเพิ่มขึ้นอีกด้วย ได้คัดสำเนากระทรวงมหาดไทยและบาญชีรายชื่อส่งมาถวายในนี้แล้วด้วย
ถ้ามีโอกาสอันควร ขอฝ่าพระบาทได้นำความกราบบังคมทูล พระกรุณาทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท แล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ
ควรมิควรแล้วแต่จะปรดเกล้า ฯ
(ลงชื่อ) พระยาวุฒิการบดี
 
ในวันเดียวกันความถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ ๕ พระองค์ทรงมีพระราชกระแสลายพระหัตถ์ “อนุโมทนา”๖
วันที่ ๒๗ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๑ พระยาวุฒิการบดี ได้แจ้งเรื่องผ่านทางกรมราชเลขานุการด้วยหนังสือ ที่ ๖๗/๒๐๒๙ ความว่า
กรมราชเลขานุการ
วันที่ ๒๗ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๑
เรียนพระยาวุฒิการบดี ได้รับหนังสือที่ ๒๑๙/๖๗๑๒ ลงวันที่ ๒๕ เดือนนี้ เรื่องข้าราชการเมืองชัยภูมิได้ออกเงินเรี่ยไรบำรุงโรงเรียนวัดประสิทธิ์เมืองชัยภูมิ ดังบาญชีรายชื่อที่ส่งมานั้น ได้นำความกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว โปรดเกล้าให้แจ้งความมาว่า ทรงอนุโมทนาในส่วนกุลศลนี้ด้วยฯ
 
ยุคแรกแห่งแสงอรุณทางการศึกษาของโรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล และจังหวัดชัยภูมิได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว และยุคดังกล่าวถูกขนานนามกันว่า “ยุคสถาปนา”
 
ยุคบุกเบิกการศึกษาโดยคณะภิกษุสงฆ์ (พ.ศ. ๒๔๔๕ - พ.ศ. ๒๔๕๒)
 
หลังจากโรงเรียนก่อตั้งได้ไม่นาน พระอาจารย์จรูญ นิโรธกิจ (เจ้าคณะจังหวัดชัยภูมิ) ก็ต้องย้ายไปรับราชการในระดับเขตการศึกษา เพื่อควบคุมการศึกษาภาษาไทยในเมืองชัยภูมิ ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นพัฒนาการทางการสอนที่เท่ากัน และเท่าเทียม สำหรับผู้ชายและผู้หญิงนั้นสามารถศึกษาได้อย่างเท่าเทียมตามพระบรมราโชบายการพัฒนาและปฏิรูปการศึกษาที่ให้พระภิกษุเป็นแกนนำสำคัญ ทางราชการจึงได้แต่งตั้งพระอาจารย์เกิดมาเพื่อรับตำแหน่งแทนพระครูจรูญ นิโรธกิจซึ่งรับราชการในระดับที่สูงขึ้น การศึกษาในยุคนี้ยังคง การเรียนวิชาในพุทธศาสนา และการสอนนั้นเน้นไปในทางปริญัติธรรมเสียส่วนใหญ่
 
ปี พ.ศ. ๒๔๔๕ พระอาจารย์เกิด ได้ลาออกจากราชการ ทางราชการจึงแต่งตั้ง พระอาจารย์เปล่ง เป็นครูใหญ่แทน
ปี พ.ศ. ๒๔๔๗ โรงเรียนใช้ศาลาการเปรียญเป็นอาคารเรียนเพื่อทำการสอน ณ วัดประสิทธ์ ปี พ.ศ. ๒๔๕๐ พระอาจารย์เปล่ง ได้ลาออกจากราชการ กลับภูมิลำเนาเดิม ที่จังหวัดนครราชสีมา ทางราชการจึงแต่งตั้ง พระอาจารย์ป้อม เป็นครูใหญ่แทน และปีเดียวกันโรงเรียนก็ย้ายที่เรียนมาอยู่ที่ วัดทรงศิลา (วัดหินตั้ง) พระอารามหลวงชั้นเอก โดยอาศัยศาลาการเปรียญ เป็นสถานที่เรียน
ยุคบุกเบิกการศึกษาโดยฆราวาส (พ.ศ. ๒๔๕๒ - พ.ศ. ๒๔๗๘)
 
ในยุคนี้ผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็นครูใหญ่ผู้บุกเบิกคือ นายมนู (หนู) นาคามดี ครูใหญ่ผู้บุกเบิกโรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล ซึ่งตามประวัติที่มีการจดบันทึกไว้จากการบอกเล่าของ นงไฉน ปริญญาธวัช (ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณกรรมปี พ.ศ. ๒๕๕๕) บุตรสาวของนายหนู นาคามดีและศิษย์เก่าโรงเรียนประจำจังหวัดชัยภูมิ นายหนู ต้องเดินทางมายังโรงเรียนชัยภูมจากจังหวัดนครราชสีมาด้วยระยะทาง ๑๐๐ กิโลเมตรเศษโดยใช้เวลา ๕ วัน ๕ คืน ซึ่งในขณะนั้นจังหวัดชัยภูมินับว่าเป็นดินแดนที่ "กันดาร" และได้ขยายโรงเรียนแห่งใหม่โดยซื้อที่ดินคืนจากชาวบ้านที่มาทำนาซึ่งเดิมนายพรหมมา ศิริพรหมาได้ขายให้ชาวนาบริเวณนั้น และเป็นที่ตั้งของโรงเรียนมาจนถึงปัจจุบัน ในอดีตไม่มีใครอยากจะมาเป็นข้าราชการที่จังหวัดอันห่างไกลแห่งนี้ แต่นายหนู เดินทางมาด้วยความมานะอุตสาหะ ด้วยความไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก นายหนูได้รับยกย่องให้เป็นครูสอนวิชาภาษาอังกฤษคนแรกของจังหวัดชัยภูมิอีกด้วย ในวัยก่อนเกษียนท่านได้รับคำนำหน้าชื่อเป็น รองอำมาตย์ตรี มนู นาคามดี นับว่าเป็นสิ่งที่แสดงความตั้งใจในการทำงานและเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงมานะอุตสาหะของครูผู้บุกเบิกผู้นี้
ปี พ.ศ. ๒๔๕๒ นายพรหมมา ศิริพรหมมา เป็นครูใหญ่ และใน ปี พ.ศ. ๒๔๕๖ ทางราชการกระทรวงกลาโหม ได้ย้ายกองทหารไปรวมอยู่ที่นครราชสีมา จึงยกสถานที่เดิม ให้เป็นที่เรียนของโรงเรียน และเมื่อย้ายกองทหารกลับมา โรงเรียนต้องย้ายไปเรียน ที่วัดทรงศิลาอีกครั้งหนึ่ง
ปี พ.ศ. ๒๔๔๕ พระครูจรูญ นิโรธกิจ ได้รับตำแหน่งผู้ตรวจราชการแขวงใต้ เมืองไชยภูมิ
ปี พ.ศ. ๒๔๕๘ ทางราชการได้สร้างโรงเรียนใหม่ขึ้น ณ สถานที่ปัจจุบัน จากนั้นก็มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเรื่อยมา ทั้งการเรียนการสอน และสิ่งก่อสร้าง
ปี พ.ศ. ๒๔๕๙ ทางราชการได้แต่งตั้งนายหนู (มนู) นาคามดี วุฒิ ป.ม. จากนครราชสีมามาเป็นครูใหญ่โรงเรียนชัยภูมิ และมาช่วยนายพรหมา ก่อสร้างโรงเรียนหลังใหม่จนสำเร็จ จึงย้ายสถานที่เรียนจากวัดทรงศิลามาเรียนที่โรงเรียนแห่งใหม่และได้เปิดสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ โรงเรียนได้เปลี่ยนหลังคาจากสังกะสี มามุงด้วยกระเบื้องซีเมนต์ระหว่างเปลี่ยนหลังคานี้ได้ใช้ใต้ถุนศาลากลางจังหวัดชัยภูมิเป็นทีเรียนชั่วคราว
ปี พ.ศ. ๒๔๗๑ เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ขึ้น มีนายกุหลาบ (สกล) ประภาสโนบล เป็นครูประจำชั้น
ปี พ.ศ. ๒๔๗๓ เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ขึ้น มีนายกุหลาบ (สกล) ประภาสโนบล เป็นครูประจำชั้น ส่วนมัธยมศึกษาปีที่ 4 นั้นให้นายเหลือ คำพิทักษ์ เป็นครูประจำชั้นแทน ซึ่งย้ายมาจากโรงเรียนประจำจังหวัดนครราชสีมา (ปัจจุบันคือโรงเรียนสุรนารีวิทยา) มาเป็นครูประจำชั้น
ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้ทำการเปิดสอนถึงช้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ แต่สถานที่เรียนไม่เพียงพอจึงได้สร้างอาคารขึ้นมาอีก ๒ หลังอยู่ทางทิศตะวันตกและทิศตะวันออกของอาคารเรียนหลังเก่า เป็นเรือนไม้สูง หลังคามุงสังกะสี
ปี พ.ศ. ๒๔๗๖ นายมนู นาคามดีได้ย้ายไปเป็นครูที่จังหวัดนครราชสีมา ทางราชการจึงได้แต่งตั้งให้นายกุหลาบ ประภาสโนบล วุฒิ ป.ม. ครูมัธยมศึกษาขึ้นเป็นครูใหญ่แทน
 
ยุคสร้างโรงเรียนหญิงล้วนแห่งใหม่ (พ.ศ. ๒๔๗๘ - พ.ศ. ๒๔๘๑)
 
สืบเนื่องจากนโยบายทางการศึกษาของรัฐบาลใหม่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงแยกโรงเรียนออกเป็นชายล้วนและหญิงล้วนตามนโยบายรัฐนิยม ในระหว่างช่วงนี้โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพลได้แยกนักเรียนหญิงในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นไปยัง โรงเรียนสตรีชัยภูมิ และได้ทำการสอนนักเรียนหญิงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายตามปกติจนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๘๓ โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพลจึงกลายโรงเรียนชายล้วนอย่างสมบูรณ์
ปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ได้รื้ออาคารหลังเก่าสร้างใหม่ให้พื้นสูงเท่ากับอาคารเรียนหลังใหม่ ๒ หลังซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก และขยายต่อออกไปเป็นหลังคาเดียวกัน กั้นแต่ละห้องด้วยลูกกรงเหล็กอาคารหลังเก่าปรับปรุงด้วยเงินบริจาค ๑,๘๐๐ บาท
ปี พ.ศ. ๒๔๗๘ ทางราชการได้ย้ายนายกุหลาบ ประภาสโนบลไปเป็นครูใหญ่จังหวัดลำพูนทางราชการได้แต่งตั้งนายทอง พงศ์อนันต์ วุฒิ ป.ม. เป็นครูใหญ่แทน
ปี พ.ศ. ๒๔๗๙ ได้ต่อมุขโรงเรียนหลังกลางไปทางทิศใต้ ขนาดเท่ามุขด้านหน้าแต่ต่ออาคารเรียนหลังทิศตะวันออกไปทางทิศใต้อีก ๑ ห้องเรียนเพื่อใช้เป็นห้องเรียนต่อไป
ปี พ.ศ. ๒๔๘๑ โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดชัยภูมิได้สร้างเสร็จ จึงได้โอนนักเรียนชายหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ และนักเรียนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ไปเรียนที่นั้นส่วนนักเรียนที่เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ นั้นยังคงเรียนที่เดิมจนกว่าจะสอบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ได้ก็จะหมดไปเอง โดยโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดชัยภูมินั้นปัจจุบันคือ "โรงเรียนสตรีชัยภูมิ"
ยุคแห่งผู้บริหารนักกฎหมาย "ธรรมศาสตร์" (พ.ศ. ๒๔๗๖ - พ.ศ. ๒๔๙๔)
 
ยุคแห่งผู้บริหารจาก "ธรรมศาสตร์" ในยุคนี้มีผู้อำนวยการถึง ๓ คนที่จบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือ นายกุหลาบ ประภาสโนบล นายทอง พงศ์อนันต์ และนายชะลอ ปทุมานนท์ ซึ่งล้วนแล้วแต่นำสิ่งใหม่ๆมาสู่โรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นสีประจำโรงเรียน (เหลืองแดง) ต้นไม้ที่ปลูกรอบโรงเรียนล้วนได้รับอิทธิพลจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แม้กระทั่งตราโรงเรียนยุคแรกก็ยังได้รับอิทธิพลจากตราธรรมจักรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการตีพิมพ์วารสารโรงเรียนขึ้นเป็นครั้งแรกโดยได้รับความร่วมมือจากกระทรวงและเป็นการกำหนดหลักสูตรให้กับโรงเรียนโดยรอบจังหวัดผ่านทางสื่อสิ่งพิมพ์ซึ่งถือว่าเป็นสื่อที่ทัน
สมัยในยุคนั้น
ปี พ.ศ. ๒๔๘๒ นักเรียนหญิงในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑, ๒, ๓ ถูกย้ายไปเรียน ณ โรงเรียนใหม่
ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ นักเรียนหญิงในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายได้หมดลงแล้ว นับว่าโรงเรียนชัยภูมิ เป็นโรงเรียนชายล้วน และต่อจากนั้นมาโรงเรียนจึงมีชื่อเรียกสั้นๆว่า "โรงเรียนชาย"
ปี พ.ศ. ๒๔๘๘ นายทอง พงศ์อนันต์ ลาออกจากราชการทางราชการได้แต่งตั้งนายชะลอ ปทุมานนท์ วุฒิ ป.ม. ธ.บ. พ.อ. ครูโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพมหานคร มาเป็นครูใหญ่โรงเรียนชัยภูมิ
ปี พ.ศ. ๒๔๙๐ นายชะลอ ประทุมานนท์ ลาออกจากราชการทางราชการได้แต่งตั้งนายเฉลิม จิระนาท วุฒ ป.ม. ครูโรงเรียนอุดรพิทยานุกูล มาเป็นครูใหญ่
ปี พ.ศ. ๒๔๙๑ วารสารเหลืองแดงฉบับปฐมฤกษ์ตีพิมพ์ ภายใต้ชื่อ " ชัยภูมิสาร "
ปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ทางกระทรวงศึกษาธิการสั่งเปลี่ยนแปลงห้องเรียนใหม่
ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ นายเฉลิม จิระนาท ได้รับตำแหน่งเป็นครูใหญ่โรงเรียนกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ทางราชการได้แต่งตั้งให้นายเหลือ คำพิทักษ์ ครูใหญ่โรงเรียนสกลนคร มาเป็นครูใหญ่แทนจนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ ได้รับตำแหน่งเป็นอาจารย์ใหญ่ และเป็นอาจารย์ใหญ่คนแรกของโรงเรียน
 
ยุคแห่งการพัฒนา (พ.ศ. ๒๔๙๕ - พ.ศ. ๒๕๐๐)
การพัฒนาทั้งทางด้านการศึกษา พัฒนาด้านการเรียนการสอน อาคารเรียนและบุคลากรทางการศึกษา มีนักเรียนรุ่นที่จบไปแล้วเริ่มมารับราชการครูในโรงเรียนที่ตนเคยศึกษา การเรียนการสอนถูกปรับปรุงให้ทันสมัยเข้าสู่ยุคและสังคมที่ทันสมัยขึ้น บริเวณโรงเรียนและอาคารเรียนมีมากขึ้น ซึ่งเป็นไปตามกระแสของการตื่นตัวทางการศึกษาของคนไทยในยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง นโยบายทางการศึกษาใหม่ๆ ทำให้มีการส่งเสริมการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง จนเป็นที่รู้จักกันในนาม โรงเรียนชัยภูมิ โรงเรียนประจำจังหวัดชัยภูมิ และยุคนี้คือ "ยุคแห่งการพัฒนา"
ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ทางกระทรวงศึกษาได้ให้งบประมาณสร้างโรงเรียนใหม่ เป็นอาคารไม้ ๒ ชั้น ๘ ห้องเรียนในงบประมาณ ๒ แสนบาท แต่สร้างเต็มหลังไม่ได้ทางจังหวัดขออีก ๕ หมื่นบาทจึงสำเร็จ ตลอดจนทาสี ทางโรงเรียนได้ให้นักเรียนขึ้นเรียนในวันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๗
ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ทางราชการได้แต่งตั้งนายช่วง นราลัย วุฒิ ป.ม.ก. เป็นผู้ช่วยครูใหญ่ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่โรงเรียนชัยภูมิมีผู้ช่วยครูใหญ่
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๗ โรงเรียนได้งบประมาณสร้างบ้านพักครูหนึ่งหลังเป็นเงิน ๒๕,๐๐๐ บาท ซึ่งได้สร้างทางทิศตะวันออกของสระพัง สร้างแล้วเสร็จให้นายวินิช เวชสัสถ์ ครูโรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพลขึ้นอยู่อาศัย เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๗ ในปีนี้โรงเรียนได้ขยายโรงอาหารออกไปทางทิศใต้และทิศตะวันออก เพื่อใช้เป็นสถานที่ประชุม โดยเงินสะสมเพื่อสร้างโรงอาหารของโรงเรียนเป็นเงิน ๘,๒๒๕.๐๕ บาท แต่นักเรียนมีมากถึง ๕๐๐ คนทำให้ที่ประชุมคับแคบไป ในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๙๘ โรงเรียนได้จัดหาวัสดุมาสร้างบ้านพักครูอีกหลังหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของสระพัง เป็นบ้านทรงปั้นหยา ๒ ห้องมีระเบียงสองข้าง และมีนอกชาน ต่อจากนี้มีห้องครัว ๒ ห้อง ห้องส้วมอยู่บนบ้านสร้างขึ้นไม่มีงบประมาณ แต่อาศัยเงินบำรุงจำนวน ๔,๒๗๑.๗๑ บาท สร้างเสร็จให้นายบุญเรือน แช่มชื่น ครูสอนแตรขึ้นอยู่อาศัยแต่นายบุญเรือง แช่มชื่น ลาออกจากราชการเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ จึงให้นายมงคล ประภาสโนบล อยู่แทน
 
ยุคแห่งความมั่นคง (พ.ศ. ๒๕๐๐ - พ.ศ. ๒๕๑๐)
ในยุคนี้โรงเรียนที่มีอายุมากถึง ๕๐ ปีเป็นตัวชี้ศักยภาพทางการศึกษา มีเหตุการณ์ที่แสดงความสามารถการันตีความเป็นโรงเรียนประจำจังหวัด ไม่ว่าจะมีระดับชั้นการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๖ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในจังหวัดที่เตรียมตัวเข้าสู่ระดับอุดมศึกษา การจัดทำหนังสืออนุสรณ์ การสร้างถนนในโรงเรียน การเตรียมการสำหรับแนวการศึกษาใหม่ๆ การศึกษาวิชาพละศึกษาที่ไม่เคยมีการสอนมาก่อน เป็นต้น
 
ปี พ.ศ. ๒๕๐๔ หนังสืออนุสรณ์โรงเรียนเล่มแรก ฉลองครบ ๕๙ ปีพระราชกระแส จัดจำหน่าย
ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ ต้นปี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ซึ่งนำโดยนายสุวัฒน์ โชคสุวัฒนกุล เป็นหัวหน้าชขั้น ม.ศ. ๓ ได้รวบรวมเงินตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ จัดเงินมาสร้างถนนคอนกรีตหน้าโรงเรียนเป็นเงิน ๗๐๐ บาทแต่สร้างได้เพียงครึ่งเดียว ทางโรงเรียนจึงอนุมัติงบอีก ๗,๐๐๐ บาทเพื่อสร้างต่อจนแล้วเสร็จตลอดสาย ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ นำโดยนายสมเกียรติ วิจิตรธนสาร ได้จัดหาเงินสร้างสนามบาสเก็ตบอลเป็นคอนกรีต โดยใช้เงินทั้งสิ้น ๑๔,๔๕๘ บาท และในปีเดียวกันนี้ทางโรงเรียนได้งบประมาณรื้อถอน และซ่อมแซมโรงอาหารหลังเก่า ขยายให้กว้าง ลาดพื้นซีเมนต์เพื่อใช้เป็นห้องฝึกหัดพละศึกษาและใช้เป็นห้องประชุม และเงินงบประมาณยอดเดียวกันนี้ ได้ทาสีโรงเรียนใหม่ และซ่อมแซมประตูหน้าต่างให้เสร็จหมดงบประมาณทั้งสิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท และ ได้สร้างบ้านภารโรงขึ้น ๑ หลัง อยู่ทางทิศใต้ของหนองสระพัง ด้วยเงินบำรุงการศึกษา ๓,๐๐๐ บาท
 
ในปลายปี พ.ศ. ๒๕๐๖ ทางกรมวิสามัญศึกษาได้โทรเลขให้โรงเรียนชัยภูมิเปิดชั้นเตรียมอุดมศึกษาปีที่ ๑ ปีต่อมาก็เปิดปีที่ ๒ ตามลำดับและต่อเนื่องจนทุกวันนี้ และเปลี่ยนชื่อเป็นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ในเวลาต่อมา
 
การศึกษาของโรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพลได้เริ่มต้นขึ้นมาแล้วกว่า ๑๑๕ ปี ระยะเวลากว่า ๑ ศตวรรษเศษ นั้นประจักษ์ให้เห็นแล้วว่าโรงเรียนชัยภูมิ โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล คือโรงเรียนแห่งการศึกษา โรงเรียนแห่งการพัฒนาและโรงเรียนแห่งความรุ่งเรืองทางการศึกษาของประเทศไทยอย่างแท้จริง
 
 
๑ ตามเอกสารทางราชการเมื่อปี ๒๔๔๒ – ๒๔๕๗ ได้เรียกวัดนี้ว่า “วัดประสิทธิ์”
๒ ตามเอกสารทำเนียบวัดในมณฑลนครราชสีมา ปี ๒๔๔๓ ระบุว่าวัดนี้ได้ก่อตั้งได้ ๗ – ๘ ปีก่อนทำการสำรวจและทำการเรียนการสอนแก่บรรพชิตเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๙
๓ เอกสารชั้นต้น. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ต้นฉบับแนบท้ายเอกสารฉบับนี้
๔ เอกสารชั้นต้น รายนามข้าราชการจังหวัดไชยภูมิ ศธ. หอจดหมาเหตุแห่งชาติ กรุงเทพฯ
๕ เอกสารชั้นต้น (เอกสารการเรี่ยไรเงินบำรุงโรงเรียน พ.ศ. ๒๔๔๕ , หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรุงเทพฯ. ต้นฉบับแนบท้ายเอกสารฉบับนี้)
๖ เช่นเดียวกับ ๕
 
 
== เกี่ยวกับ Tranwill ==