ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทุกข์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Konoha48 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Konoha48 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
'''ทุกข์''' หรือ '''ทุกขัง''' ({{lang-pi|ทุกฺข}}) เป็นหลักธรรมสำคัญในพระพุทธศาสนา แปลว่าทนอยู่ในสภาพเดิมได้ยาก โดยทั่วไปหมายถึง [[สังขาร]]ทั้งปวง อันได้แก่ [[ขันธ์]] 5 ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองทุกข์
 
ในทางพระพุทธศาสนา การกำหนดทุกข์ถือเป็นกิจใน[[อริยสัจ 4]] ที่ชาวพุทธต้องทำเพื่อละและปล่อยวางในลำดับต่อไปในกิจทั้งสี่ในอริยสัจ อันได้แก่ รู้ทุกข์ เพื่อค้นหาสาเหตุในการดับทุกข์ ([[สมุทัย]]) แล้วจึงตั้งจุดมุ่งหมายในการดับทุกข์ ([[นิโรธ]]) และดำเนินตามเส้นทางสู่ความดับทุกข์ ([[มรรค]]) คือสละ ละ ปล่อยวาง ไม่ยึดติดในใจด้วยอำนาจกิเลส
 
ทุกข์ จัดเป็นหนึ่งในชื่อเรียกที่เป็น[[ไวพจน์]]ของขันธ์ซึ่งถูกใช้เป็นอย่างมากใน[[พระไตรปิฎก]]
 
== ทุกข์ในอริยสัจ ==
ทุกข์ถือเป็นความจริงอันประเสริฐข้อที่ 1 ในอริยสัจ 4 จึงเรียกว่า'''ทุกขสัจ''' มี 11 อย่าง ได้แก่ :-
 
นอกจากนี้ยังอาจแบ่ง'''ทุกข์ในอริยสัจ 4''' ได้เป็น 2 กลุ่มคือ
# '''สภาวทุกข์''' คือทุกข์ประจำ ทุกข์ที่มีอยู่ด้วยกันทุกคน ไม่มียกเว้น ได้แก่ความเกิด ความแก่ ความตาย
# '''ปกิณณกทุกข์''' คือทุกข์จร ทุกข์ที่จรมาเป็นครั้งคราว ได้แก่ ความเศร้าโศก ความพร่ำเพ้อรำพัน ความไม่สบายใจ ความน้อยใจ ความคับแค้นใจ ความประสบกับสิ่งที่ไม่ชอบ ความพลัดพรากจากสิ่งที่ชอบ ความผิดหวังไม่ได้ตามที่ต้องการ
 
== ความแตกต่างของความหมายในภาษาไทย ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ทุกข์"