ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หม้อข้าวหม้อแกงลิง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tlexps (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Tlexps (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 53:
ก่อนที่ชื่อ ''นีเพนเธส'' จะถูกบันทึก ย้อนกลับไปในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในปี ค.ศ. 1658 ข้าหลวงชาว[[ฝรั่งเศส]]ที่ชื่อ[[เบเตียน เดอ ฟรากูร์]] ({{Lang-fr|Étienne de Flacourt}}) ได้พรรณนาเกี่ยวกับลักษณะของพืชชนิดนี้ในงานสัมมนา Histoire de la Grande Isle de Madagascar (ประวัติของเกาะ[[มาดากัสการ์]]) ดังนี้:<ref>de Flacourt, E. 1658. ''Histoire de la Grande Isle de Madagascar''.</ref>
 
{{คำพูด|พืชชนิดนี้สูง 3 ฟุต ใบยาว 7 นิ้ว มีดอกและผลคล้ายแจกันขนาดเล็กที่มีฝาปิดเป็นภาพที่น่าประหลาดใจมาก มีสีแดงหนึ่งสีเหลืองหนึ่ง สีเหลืองมีขนาดใหญ่ที่สุด คนพื้นเมืองในประเทศนี้คัดค้านที่จะเด็ดดอกของมัน เพราะมีความเชื่อที่ว่าถ้าใครเด็ดมันแล้ว ฝนจะตกในวันนั้น ในเรื่องนั้น ฉันและชาวฝรั่งเศสคนอื่นๆ เก็บมันมา แต่ฝนก็ไม่ตก หลังฝนตกดอกของมันเต็มไปด้วยน้ำที่เกาะอยู่จนดูคล้ายลูกแก้วที่แวววาว [แปลจาก[[ภาษาฝรั่งเศส]]ใน''หม้อข้าวหม้อแกงลิงจากบอร์เนียว'']<ref name=P&L />}}
 
 
ฟรากูรได้ตั้งชื่อพืชชนิดนี้ว่า ''Anramitaco'' สันนิษฐานว่าเป็นชื่อท้องถิ่น แล้วก็ล่วงเลยมามากกว่าศตวรรษ หม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้จึงได้ถูกจัดจำแนกเป็น ''[[Nepenthes madagascariensis|N. madagascariensis]]''<ref name=Poiret>Poiret, J.L.M. 1797. ''Népente''. In: J.B. Lamarck ''Encyclopédie Méthodique Botanique'' Vol. 4.</ref>
 
หม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดที่ 2 ที่ถูกพรรณนาถึงในปี ค.ศ. 1677 ได้แก่ ''[[Nepenthes distillatoria|N. distillatoria]]'' พืชถิ่นเดียวของ[[ศรีลังกา]] ถูกจัดจำแนกให้อยู่ภายใต้ชื่อ "''Miranda herba''" '' (สมุนไพรอันน่าพิศวง) ''<ref>Bartholinus 1677. ''Miranda herba''. ''Acta Medica et Philosophica Hafniensa'' 3: 38.</ref> 3 ปีต่อมา พ่อค้าชาว[[ประเทศเนเธอร์แลนด์|ดัตช์]]ที่ชื่อ[[เจคอบ เบรนี]] (Jacob Breyne) อ้างว่าพืชชนิดนี้เป็น ''Bandura zingalensium'' ซึ่งเป็นชื่อเรียกในท้องถิ่น<ref>Breyne, J. 1680. ''Bandura zingalensium'' etc. ''Prodromus Fasciculi Rariorum Plantarum'' 1: 18.</ref> ในภายหลัง ''Bandura'' ได้กลายเป็นชื่อที่ใช้เรียกหม้อข้าวหม้อแกงลิงทั่วไปจนกระทั่ง[[คาโรลัส ลินเนียส|ลินเนียส]]ได้ตั้งชื่อ ''นีเพนเธส'' ขึ้นในปี ค.ศ. 1737<ref name=P&L />
 
''N. distillatoria'' ถูกจัดจำแนกอีกครั้งในปี ค.ศ. 1683 ครั้งนี้โดยแพทย์ชาว[[สวีเดน]] ที่ชื่อ [[เอช.เอ็น. กริม]] (H. N. Grimm) <ref>Grimm, H.N. 1683. ''Planta mirabilis distillatoria''. In: Miscellanea curiosa sive Ephemeridum. ''Med. Phys. Germ. Acad. Nat. Cur. Decuriae'' 2, ann. prim. p. 363, f. 27.</ref> กริมได้เรียกมันว่า ''Planta mirabilis distillatoria'' หรือ "พืชกลั่นน้ำอันน่าอัศจรรย์" และเป็นครั้งแรกที่มีภาพประกอบอย่างละเอียดของพืชชนิดนี้<ref name=P&L /> 3 ปีต่อมา ในปี ค.ศ. 1686 นักธรรมชาติวิทยาชาว[[อังกฤษ]]ที่ชื่อ [[จอน เรย์]] ({{Lang-en|John Ray}}) อ้างคำพูดของกริมมากล่าวดังนี้:<ref>Ray, J. 1686. ''Bandura cingalensium'' etc. ''Historia Plantarum'' 1: 721–722.</ref>
 
{{คำพูด| รากดูดความชุ่มชื้นจากดินด้วยความช่วยเหลือของแสงอาทิตย์เข้าสู่ตัวมัน แล้วส่งผ่านไปยัง ลำต้น ก้าน ใบที่น่ากลัวของมัน ไปสู่ภาชนะตามธรรมชาติ แล้วเก็บกักไว้จนกว่ามนุษย์จะต้องการมัน [แปลจาก[[ภาษาละติน]]ใน ''หม้อข้าวหม้อแกงลิงจากบอร์เนียว'']<ref name=P&L />}}