ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ข้าวโพด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนเนื้อหาอาจละเมิดลิขสิทธิ์ หรือไม่เป็นสารานุกรม ไม่ใช่? แจ้งที่นี่
บรรทัด 27:
== การนำเข้ามาในประเทศไทย ==
สำหรับประเทศไทย คนไทยรู้จักนำข้าวโพดมาเลี้ยงสัตว์ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 โดย [[หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร]] ได้นำข้าวโพดพันธุ์ที่ใช้เลี้ยงสัตว์มาปลูกและทดลองใช้เลี้ยงสัตว์ ซึ่งในขณะนั้นเป็นยังเป็นที่รู้จักกันน้อย จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การใช้ข้าวโพดเริ่มแพร่หลายขึ้นเนื่องจาก [[หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ]]ได้นำการเลี้ยงไก่แบบการค้ามาเริ่มสาธิต และกระตุ้นให้ประชาชนปฏิบัติตามผู้เลี้ยงไก่จึงรู้จักใช้ข้าวโพดมากขึ้นกว่าเดิม แต่เนื่องจากระยะนั้นข้าวโพดมีราคาสูงและหายาก การใช้ข้าวโพดจึงใช้เป็นเพียงส่วนประกอบของอาหารหลัก ซึ่งมีรำและปลายข้าวเป็นส่วนใหญ่ แต่ในปัจจุบันผู้เลี้ยงสัตว์รู้จักข้าวโพดกันทั่วไป และในปัจจุบันประเทศไทยได้ปลูกข้าวโพดในปีหนึ่ง ๆ เป็นจำนวนมาก
== ลักษณะของข้าวโพด ==
# '''ต้นข้าวโพด ''' จัดเป็นไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า ลำต้นนั้นมีลักษณะอวบกลมและตั้งตรงแข็งแรง มีความสูงของต้นประมาณ 1-4 เมตร ผิวต้นเรียบ เนื้อภายในฟ่ามคล้ายกับฟองน้ำ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด
# '''ใบข้าวโพด ''' ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบมีลักษณะเรียวยาวเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมน ส่วนขอบใบมนและมีขนอ่อนๆ สีขาว เส้นกลางใบมองเห็นได้ชัดเจน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 30-100 เซนติเมตร ส่วนก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น
# '''ดอกข้าวโพด ''' ออกดอกเป็นช่อ ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะอยู่ในต้นเดียวกัน โดยดอกเพศผู้จะออกดอกเป็นช่อและออกที่ปลายยอด ส่วนดอกเพศเมียจะอยู่ต่ำถัดลงมาออกระหว่างกาบของใบและลำต้น เรียงเป็น 2 แถว มีประมาณ 8-18 ดอก ดอกย่อยจะมีก้านเกสรเพศผู้จำนวน 9-10 อัน และมีอับเรณูสีเหลืองส้ม ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ส่วนยอดเกสรเพศเมียเป็นเส้นบางๆ ยื่นออกมาเป็นจำนวนมาก คล้ายกับเส้นไหมจำนวนมาก (บ้างก็เรียกว่าหนวดข้าวโพด) โดยจะอยู่ระหว่างกาบใบและลำต้น และดอกเพศเมียเมื่อเจริญเติบโตแล้วก็จะออกเป็นฝักหรือเรียกว่าผล[
# '''ผลข้าวโพด ''' ออกผลเป็นฝัก ผลถูกหุ้มไปด้วยกาบบางๆ หลายชั้น ฝักอ่อนเป็นสีเขียวเมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีนวล เรียกว่าเปลือกข้าวโพด ฝักมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก ในหนึ่งฝักจะมีเมล็ดอยู่รอบฝักเรียงเป็นระเบียบรอบแกนกลางของฝัก เมล็ดจะเกาะอยู่เป็นแถวประมาณ 8 แถว แต่ละแถวจะมีเมล็ดประมาณ 30 เมล็ดและมีสีต่างๆ กัน เช่น สีนวล เหลือง ขาว หรือสีม่วงดำ
 
== ชนิดของข้าวโพด ==
โดยทั่วไปข้าวโพดจัดออกเป็น 5 กลุ่ม คือ
 
# '''ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หรือข้าวโพดไร่ (Field Corn) ''' ที่รู้จักในปัจจุบันเช่นข้าวโพดหัวบุ๋ม (Dent Corn) และข้าวโพดหัวแข็ง (Flint Corn) ซึ่งเป็นการเรียกตามลักษณะเมล็ดข้าวโพดหัวบุ๋มหรือหัวบุบ ข้าวโพดชนิดนี้เมื่อเมล็ดแห้งแล้วตรงส่วนหัวบนสุดจะมีรอยบุ๋มลงไป ซึ่งเป็นส่วนของแป้งสีขาว ข้าวโพดชนิดนี้สำคัญมากและนิยมปลูกกันมากใน ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะทางแถบคอร์นเบลท์ สีของเมล็ดมีตั้งแต่ขาวไปจนถึงเหลือง เนื่องจากมีหลายสายพันธุมี[[โปรตีน]]น้อยกว่าพวกข้าวโพดหัวแข็ง ข้าวโพดหัวแข็ง ข้าวโพดพันธุ์นี้ส่วนบนสุดของเมล็ดมักมีสีเหลืองจัดและเมื่อแห้งจะแข็งมาก ภายในเมล็ดมีสารที่ทำให้ข้าวโพดมีสีเหลืองจัดเป็นสารให้สีที่ชื่อ [[คริปโตแซนทีน]] (Cryptoxanthin) สารนี้เมื่อสัตว์ได้รับร่างกายสัตว์จะเปลี่ยนสารนี้ให้เป็น[[วิตามินเอ]] นอกจากนี้สารนี้ยังช่วยให้ไข่แดงมีสีแดงเข้ม ช่วยให้[[ไก่]]มีผิวหนัง ปาก เนื้อ และแข้งมีสีเหลืองเข้มขึ้น เป็นที่นิยมของตลาดโดยเฉพาะแถบอเมริกาส่วนอังกฤษนั้นนิยมใช้ข้าวโพดขาว [ประเทศไทยนิยมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แบบที่มีสีเหลืองเข้ม มีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เกือบตลอดทั้งปี กระจายในพื้นที่ภาคกลาง ตอนกลางของประเทศ ภาคอีสานตอนบน และภาคเหนือ พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จำนวนมากได้แก่ น่าน แพร่ เลย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ ลพบุรี. เชียงใหม่]
# '''ข้าวโพดหวาน (Sweet Corn) ''' เป็นข้าวโพดที่คนใช้รับประทาน ไม่มีการแปรรูป เมล็ดมักจะใสและเหี่ยวเมื่อแก่เต็มที่ เพราะมี[[น้ำตาล]]มาก ก่อนที่จะสุกจะมีรสหวานมากกว่าชนิดอื่น ๆ จึงเรียกข้าวโพดหวาน มีหลายสายพันธุ์
เส้น 42 ⟶ 38:
 
ข้าวโพดที่ใช้เลี้ยงสัตว์ในประเทศไทยมีหลายพันธุ์ ที่นิยมปลูกในประเทศไทยได้แก่ พันธุ์กัวเตมาลา พียี 12 (Rep.1) กัวเตมาลา พีบี 12 (Rep.2) พีบี 5 ข้าวโพดเหนียว และโอเปค-2 มีเมล็ดตั้งแต่สีขาว สีเหลืองไปจนถึงสีแดง ขนาดของเมล็ดขึ้นอยู่กับพันธุ์ โดยทั่วไปจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ในช่วง 0.5-0.8 ซม. ก่อนนำมาเลี้ยงสัตว์จึงต้องบดก่อนเพื่อช่วยให้การย่อยและการผสมได้ผลดีขึ้น ที่บดแล้วจะมีขนาดประมาณ 1-8 มม.
== การปลูกข้าวโพด ==
# '''ฤดูปลูก ''' ข้าวโพดเป็นพืชไร่ที่ค่อนข้างทนทาน ปลูกง่าย ในสภาพดินฟ้าอากาศของเมืองไทย ถ้ามีน้ำเพียงพอ จะสามารถปลูกข้าวโพดได้ตลอดปี การปลูกส่วนใหญ่อาศัยน้ำจากน้ำฝนธรรมชาติเพียงอย่างเดียว ดังนั้น ฤดูปลูกข้าวโพดที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับจำนวนน้ำฝนและการกระจายตัวของฝนในแต่ละ เดือนนั่นเอง ปกติเฉลี่ยโดยทั่ว ๆ ไป ฝนจะเริ่มตกมากตั้งแต่เดือนมีนาคม-พฤศจิกายน และระหว่างสิงหาคม-กันยายน เป็นช่วงที่ฝนตกชุกที่สุด พันธุ์ข้าวโพดที่นิยมปลูกกันอยู่ในปัจจุบันมีอายุปานกลาง คือ ประมาณ ๑๑๐-๑๒๐ วัน ดังนั้น จึงอาจเลือกปลูกข้าวโพดได้ตามความเหมาะสม ถ้าปีใดมีฝนตกสม่ำเสมอแต่ต้นปี อาจปลูกข้าวโพดได้ ๒ ครั้ง คือ ครั้งแรกปลูกในระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน และครั้งที่สองปลูกระหว่างเดือนกรกฎาคม-กลางเดือนสิงหาคม พวกที่ปลูกต้นฤดูฝนโดยทั่ว ๆ ไป มักได้ผลิตผลสูงกว่าพวกที่ปลูกปลายฤดูฝน ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณน้ำฝนกำลังพอเหมาะและโรคแมลงรบกวนน้อย แต่มีข้อยุ่งยากในการเก็บเกี่ยว ไม่สะดวกแก่การตากข้าวโพด เนื่องจากฝนตกชุก
# '''การเลือกและการเตรียมที่ปลูก ''' ที่ดินที่เหมาะในการปลูกข้าวโพดควร เป็นที่ดอน มีการระบายน้ำได้ดี ถ้าเป็นที่ลุ่มควรยกร่องระบายน้ำ อย่าให้น้ำขัง ข้าวโพดขึ้นได้ดีในดินร่วนปนทรายที่ระบายน้ำได้ดี มีความอุดมสมบูรณ์ของดินและปริมาณแร่ธาตุอาหารพืชสูงพอสมควร ดินมีความเป็นกรดเป็นด่างปานกลาง (pH ประมาณ ๕.๕-๘.๐) หรือค่อนข้างเป็นด่างเล็กน้อย นอกจากนี้ ข้าวโพดยังเป็นพืชที่ปลูกได้ดีบนพื้นที่ลาดเอียงหรือสูง ๆ ต่ำ ๆ อีกด้วย ก่อนปลูกข้าวโพดต้องมีการเตรียมดิน เพื่อกำจัดวัชพืชและทำให้สมบัติทางกายภาพของดินดี มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก นอกจากนั้นการเตรียมดินยังทำให้ดินเก็บความชื้นได้ดีอีกด้วยการเตรียมดินครั้งแรก ควรเริ่มทันทีหลังจากการเก็บเกี่ยวแล้ว โดยการไถกลบต้นตอซังของข้าวโพดให้เน่าเปื่อยเป็นปุ๋ยในดินต่อไป การเตรียมดินจะต้องทำอีกครั้งหนึ่ง ตอนใกล้จะปลูกข้าวโพดในฤดูต่อไป การไถควรทำหลังจากฝนตกแล้วประมาณ ๑-๒ ครั้ง ควรไถดะและไถแปรอย่างละ ๑ ครั้ง และไถลึกประมาณ ๑๕ เซนติเมตร ไม่ควรเตรียมดินในขณะที่ดินเปียกเกินไป จะทำให้ดินเกิดการอัดตัว ไม่เหมาะแก่การแผ่กระจายของรากข้าวโพด ในที่ลาดเอียงมากควรไถครั้งสุดท้ายตามขวางกับแนวลาดเอียง เพื่อป้องกันการชะล้างพื้นผิวดิน เครื่องมือที่ใช้ในการเตรียมดินมีหลาย ชนิด เช่น ไถพื้นเมืองที่ใช้ลากด้วยแรงสัตว์ และแทรกเตอร์ไถที่เดินด้วยเครื่องยนต์ ปัจจุบันนิยมใช้แทรกเตอร์กันแพร่หลาย เพราะสะดวกและรวดเร็ว ไถได้ลึกและกลบส่วนต่าง ๆ ของพืชได้ดีกว่าไถลากด้วยแรงสัตว์ อย่างไรก็ตาม ที่ดินที่จะใช้แทรกเตอร์นั้น ต้องถางและปรับที่ให้มีตอน้อยที่สุด จึงจะไถได้สะดวก
# '''วิธีปลูก ''' การปลูกข้าวโพดควรปลูกเป็นแถว ทั้งนี้เพื่อสะดวกแก่การปฏิบัติรักษา เช่น การไถพรวน ระยะระหว่างแถวประมาณ ๗๕-๑๐๐ เซนติเมตร ระยะระหว่างหลุมประมาณ ๒๕ เซนติเมตร หยอดเมล็ดข้าวโพดลงไปในหลุมซึ่งลึกประมาณ ๕ เซนติเมตร จำนวน ๒-๓ เมล็ด เพื่อกันเมล็ดไม่งอก เมื่องอกแล้วควรถอนให้เหลือหลุมละต้น ถ้าปลูกโดยวิธีนี้จะได้จำนวนต้นข้าวโพดประมาณ ๖,๐๐๐-๘,๐๐๐ ต้น/ไร่ อย่างไรก็ตาม ระยะระหว่างหลุมอาจเปลี่ยนแปลงได้ อาจเป็น ๕๐ เซนติเมตรก็ได้ โดยเพิ่มเป็น ๒ ต้น/หลุม ซึ่งโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว ชาวไร่ไม่นิยมการถอนแยก เพราะสิ้นเปลืองแรงงานค่าใช้จ่ายมาก เวลาปลูกจึงหยอด ๒-๓ เมล็ด ลงไปในหลุม และไม่ถอนแยกเลยตลอดฤดูการปลูก
การจะปลูกถี่หรือห่างเท่าใดนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพของดิน ถ้าเป็นที่ดินป่าเปิดใหม่มีอินทรียวัตถุสูง ควรปลูกให้ถี่ขึ้น อาจปลูกได้ถึงไร่ละ ๑๒,๐๐๐ ต้น ดังนั้น อัตราปลูกหรือระยะปลูกจึงต้องปรับให้เหมาะสมกับสภาพท้องที่เฉพาะแห่ง
วิธีการหยอดเมล็ดอาจทำได้หลายวิธี เช่น ใช้ไม้สักให้เป็นหลุมแล้วหยอดเมล็ดตาม ใช้จอบขุดแล้วหยอดเมล็ดตามรอยขุด หรือใช้เครื่องมือทุ่นแรง ก่อนปลูกควรทดสอบความงอกของเมล็ดพันธุ์เสียก่อน ถ้าอัตราความงอกต่ำควรหยอดเมล็ดเผื่อไว้ให้เพียงพอ เช่น ถ้าความงอกมีเพียงร้อยละ ๘๐ จะปลูกหลุมละ ๒ ต้น ก็ควรหยอดไว้หลุมละ ๓-๔ เมล็ด
== ประโยชน์ของข้าวโพด ==
# '''ข้าวโพดถือเป็นธัญพืขที่เป็นแหล่งสารอาหารมากมาย ''' ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนไขมันต่ำ, ไฟเบอร์สูงและตัวเมล็ดที่ช่วยลดไขมันและดีต่อหัวใจ ยิ่งกว่านั้น ข้าวโพดยังเป็นแหล่งของวิตามินและแร่ธาตุมากมาย ทั้ง กรดโฟลิก, ไนอาซิน และวิตามิน C ที่ล่วนแต่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
# '''ข้าวโพดมีส่วนช่วยในการพัฒนาระบบทางเดินอาหาร ''' จากการที่มีไฟเบอร์สูง ซึ่งในความจริง การย่อยสารอาหารนี้ทำได้ค่อนข้างยาก แต่ไฟเบอร์ประกอบด้วยเส้นใยที่ไม่ละลายน้ำที่สามารถแก้ปัญหาโรคทางเดินอาหารที่พบบ่อย เช่น อาการท้องผูกและริดสีดวงทวาร โดยการดูดซับน้ำ ซึ่งช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้น
# '''ข้าวโพดช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ ''' จากงานวิจัยหลายชิ้น พบว่ากรดโฟลิกที่มีในข้าวโพด ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการป้องกันการเกิดข้อบกพร่องในระบบประสาทหลอดในหัวใจ (neural-tube birth defects) จึงสามารถป้องกันการเกิดโรคหัวใจได้
== ผลิตภัณฑ์จากข้าวโพด ==
ข้าวโพดเป็นธัญพืขที่มีกลิ่นหอม, รสชาตดี และยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อสร้างประโยชน์และมูลค่าเพิ่ม ได้ดังนี้
# '''สารให้ความหวานจากข้าวโพด ''' ถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่สำคัญมากที่สุดจากการแปรรูปข้าวโพด ใช้เพื่อให้ความหวานแทนน้ำตาลในอาหารและขนมหวานต่างๆ
# '''ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์จากข้าวโพด ''' ถือเป็นผลิตภัณฑ์ข้าวโพดแปรรูปที่สำคัญรองลงมา มีสารอาหารมากมายทั้ง โปรตีน, ไฟเบอร์, วิตามินและแร่ธาตุ ใช้เลี้ยงสัตว์ต่างๆ เช่น วัว, ปลา, หมู และจำพวกสัตว์ปีก
# '''แป้งข้าวโพด ''' เป็นแป้งประกอบอาหารที่สำคัญที่ได้จากส่วนเมล็ดของข้าวโพด นิยมใช้ในประกอบอาหารและเป็นวัดถุดิบในการทำน้ำเชื่อมข้าวโพด
# '''เอทานอล ''' ถือเป็นพลังงานทางเลือกที่ได้รับการยอมรับเพิ่มขึ้น จากการเป็นตัวเลือกการเผาไหม้ที่สะอาดสำหรับเชื้อเพลิงมอเตอร์
# '''ชีวผลิตภัณฑ์ ''' มีการวิจัยทดลองและเพิ่มการผลิตชีวผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากข้าวโพด ได้แก่ กรดอะมิโน, ยาปฏิชีวนะ, วิตามิน รวมไปถึงผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้ ถือเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับข้าวโพดเป็นอย่างมาก
 
== ประโยชน์ของข้าวโพดในด้านอื่นๆ ==
ข้าวโพดสามารถส่งเสริมการย่อยสลาย[[พีเอเอช]]ที่ปนเปื้อนในดิน เช่นย่อยสลาย [[ฟีแนนทรีน]] [[ไพรีน]]ได้ 90 % ที่ความเข้มข้นเริ่มต้น 100 mg/kg <ref>Chouychai, W., Thongkukiatkul, A., Upatham, S., Lee, H., Pokethitiyook, P., and Kruatrachue, M. (2009). [http://apps.isiknowledge.com/full_record.do?product=WOS&search_mode=GeneralSearch&qid=1&SID=U2lBCFbee1OFg7mDk56&page=1&doc=1 Plant-assisted phenanthrene and pyrene biodegradation in acidic soil]. Journal of Environmental Biology,30, 139-144</ref> และยังส่งเสริมการย่อยสลาย [[แอนทราซีน]]<ref>Somtrakoon, K., W. Chouychai, H. Lee.[http://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/15226514.2013.803024 Comparing Anthracene and Fluorene Degradation in Anthracene and Fluorene-Contaminated Soil by Single and Mixed Plant Cultivation] International Journal of Phytoremediation. 2014. 16: 415-428. DOI: 10.1080/15226514.2013.803024</ref> [[เอนโดซัลแฟน]] ซัลเฟต<ref>Somtrakoon, K., M. Kruatrachue, and H. Lee.[http://link.springer.com/article/10.1007/s11270-014-1886-0 Phytoremediation of Endosulfan Sulfate-Contaminated Soil by Single and Mixed Plant Cultivations]. Water, Air, & Soil Pollution. 2014, 225:1886</ref>ได้ด้วย จึงมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้[[phytoremediation|ฟื้นฟู]]ดินที่ปนเปื้อนสารมลพิษอินทรีย์
 
== อ้างอิง ==
เส้น 81 ⟶ 62:
* [http://www.geochembio.com/biology/organisms/maize/ ''Zea mays'', corn taxonomy, facts, life cycle, kernel anatomy at GeoChemBio.com]
* [http://www.ncbi.nlm.nih.gov/sites/entrez?Db=pubmed&Cmd=DetailsSearch&Term=%22Zea+mays%22%5BMajr%5D+AND+%22loattrfree+full+text%22%5Bsb%5D Major topic "''Zea mays''": free full text articles in National Library of Medicine]
* [http://home.howstuffworks.com/corn3.htm]
* [http://www.corn.org/products/]
* [http://www.mof.or.th/web/agriculture.php?id=52&cat=23]
* [http://frynn.com/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%94/]
 
[[หมวดหมู่:ธัญพืช]]