ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มังคุด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนเนื้อหาอาจละเมิดลิขสิทธิ์ หรือไม่เป็นสารานุกรม ไม่ใช่? แจ้งที่นี่
เพิ่มเติมการแปรรูป การใช้ประโยชน์และมังคุดในประเทศไทย
บรรทัด 30:
 
มังคุดเป็นผลไม้จากเอเชียที่ได้รับความนิยมมาก มังคุดได้รับขนานนามว่าเป็น "ราชินีของผลไม้" อาจเป็นเพราะด้วยลักษณะภายนอกของผลที่มีกลีบเลี้ยงติด อยู่ที่หัวขั้วของผลคล้ายมงกุฎของพระราชินีส่วนเนื้อในก็มีสีขาวสะอาด มีรสชาติที่แสนหวาน อร่อยอย่างยากที่จะหาผลไม้อื่นมาเทียบได้<ref>"สมุนไพรน่ารู้" วันดี กฤษณพันธ์ สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2541
</ref><ref>"สุขภาพดีด้วยสมุนไพรใกล้ตัว" โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง สำนักพิมพ์ ประพันธ์สาส์น กรกฎาคม 2541</ref> มีการนำมังคุดมาประกอบอาหารบ้างทั้งอาหารคาว เช่น แกง ยำ และอาหารหวาน เช่น มังคุดลอยแก้ว แยมมังคุด มังคุดกวน มังคุดแช่อิ่ม ใน[[จังหวัดนครศรีธรรมราช]]มีการทำมังคุดคัด ด้วยการแกะเนื้อมังคุดห่ามออกมาเสียบไม้รับประทาน<ref name="มังคุด"/> ในขณะที่ส่วนใหญ่จะนิยมรับประทางมังคุดสุกเป็นผลไม้ ซึ่งมีประโยชน์ในการช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย มีส่วนช่วยในการชะลอวัยและการเกิดริ้วรอย และยังมีส่วนช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใสอีกด้วย <ref>[http://www.greenerald.com/มังคุด/ สรรพคุณและประโยชน์ของมังคุด 45 ข้อ !!] กรีนเนอรัลด์</ref> เนื้อมังคุดมีคุณค่าทางอาหารสูงโดยเฉพาะโพแทสเซียม โปรตีน สารเยื่อใย วิตามินซี ฟอสฟอรัส แคลเซียมและแมกนีเซียม จากการตรวจวิเคราะห์พบว่าในน้ำมังคุด 100 มิลลิลิตร ประกอบด้วยโพแทสเซียมปริมาณสูงถึง 87.14 มิลลิกรัม แคลเซียม 34.53 มิลลิกรัม และแมกนีเซียม 111.22 มิลลิกรัม
 
เปลือกของมังคุดมีสารให้รสฝาด คือ[[แทนนิน]] [[แซนโทน]] (โดยเฉพาะ[[แมงโกสติน]]) แทนนินมีฤทธิ์ฝาดสมาน ทำให้แผลหายเร็ว แมงโกสตินช่วยลดอาการอักเสบและมีฤทธิ์ต้านเชื้อ[[แบคทีเรีย]]ที่ทำให้เกิด[[หนอง]]ได้ดี ในทางยาสมุนไพร ใช้เปลือกมังคุดตากแห้งต้มกับน้ำหรือย่างไฟ ฝนกับน้ำปูนใส แก้ท้องเสีย เปลือกแห้งฝนกับน้ำปูนใส ใช้รักษาอาการ[[น้ำกัดเท้า]] แผลเปื่อย เปลือกมังคุด มีสารป้องกันเชื้อราเหมาะแก่การหมักปุ๋ย ชาวโอรังอัสลีในรัฐเประ มาเลเซียใช้เปลือกผลแห้งรักษาแผลเปิด<ref>Samuel, A.J.S.J., Kalusalingam, A., Chellappan, D.K., Gopinath, R., Radhamani, S., Husain, H. A., Muruganandham, V., Promwichit, P. 2010. Ethnomedical survey of plants used by the orang asli in kampong bawong, Perak, West Malaysia. Joutnal of Ethnobiology and Ethnomedicine. 6:5</ref>
 
ยางมังคุดมีลักษณะเป็นสารสีเหลืองในผลมังคุด มีประโยชน์อย่างมากต่ออุตสาหกรรมหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมยาสำหรับโรคมะเร็ง โรคเอดส์ ยาแก้อักเสบ ยาแก้ภูมิแพ้ และยารักษาโรคผิวหนัง เนื่องจากยางมังคุดใช้เป็นวัตถุดิบในการสกัดสารกลุ่มแซนโทน ซึ่งแต่ละชนิดที่มีฤทธิ์ทางยาที่แตกต่างกัน รวมทั้งมีประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมพลาสติก ทั้งนี้มีรายงานว่าอนุพันธ์ของสารประกอบกลุ่มแซนโทน ชนิดเตตระไฮดรอกซี (tetra-hydroxyxanthone) เมื่อนำมาผสมกับสารโพลีเอสเตอร์ที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมพลาสติก จะช่วยให้สามารถยืดอายุการใช้งานได้หลายเท่า เพราะยางมังคุดมีคุณสมบัติการทนแสงอัลตราไวโอเลตจึงถูกใช้ทดสอบเป็นส่วนประกอบของเซลล์แสงอาทิตย์ นอกจากนี้ยางมังคุดอาจเข้ามามีบทบาทในการใช้เป็นสารเจือปนในอาหาร เพราะฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อStaphylococcus Aureus ซึ่งเป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษได้ นักวิจัยได้รายงานว่ายางสีเหลืองนี้ประกอบด้วยสารประกอบกลุ่มแซนโทนถึง 75 เปอร์เซ็นต์ พบมากในส่วนเนื้อเปลือกด้านใน และยางมังคุดละลายได้ดีในสารระเหยชนิดมีพิษได้แก่ เมทานอล และอะซีโตน และละลายได้อย่างช้าในเอทิลแอลกอฮอล์<ref>http://www.arda.or.th/kasetinfo/south/mangosteen/used/index.php</ref>
 
== การแปรรูปมังคุด ==
1. น้ำส้มสายชูมังคุด เป็นการหมักเนื้อมังคุดด้วยเชื้อ Gluconobacter Oxydans ซึ่งเป็นเชื้อหมักเร็วในระดับอุตสาหกรรมภายใต้การควบคุมอุณหภูมิ จะได้ปริมาณกรดน้ำส้มอยู่ระหว่าง 4 ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ ตามมาตรฐานน้ำส้มสายชูภายในเวลา 7 วัน คุณภาพของน้ำส้มสายชูที่ได้จะมีสีตามธรรมชาติ มีกลิ่นหอมของกรดน้ำส้ม และมีปริมาณตามมาตรฐานของน้ำส้มสายชู รวมถึงมีกลิ่นของมังคุดที่ใช้หมักอยู่ด้วย มีลักษณะใส ไม่มีหนอนน้ำส้ม สิ่งสกปรกหรือสิ่งเจือปนอันใด ไม่มีตะกอนจากตะกอนที่เกิดโดยธรรมชาติของน้ำส้มสายชูหมัก ผลิตภัณฑ์น้ำส้มสายชูมังคุดเพื่อสุขภาพ อุดมด้วยโพแทสเซียม ปริมาณ 97.8 มิลลิกรัม แคลเซียม 3.3มิลลิกรัม แมกนีเซียม 13.7 ต่อ 100 กรัม และปริมาณกรดน้ำส้ม 4.68 เปอร์เซ็นต์
 
2. มังคุดไซเดอร์ ไซเดอร์เป็นเครื่องดื่มผลไม้ที่มีแอลกอฮอล์ต่ำ ได้มีการผลิตไซเดอร์แอปเปิ้ลในด้านการค้ามาเป็นเวลานานนับสิบปีแล้วในตลาดต่างประเทศ และมีแนวโน้มการผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อมีการบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ต่ำเพื่อทดแทนแอลกอฮอล์สูงเพิ่มมากขึ้น และเพื่อสุขภาพที่ดีการผลิตไซเดอร์สามารถผลิตได้ 2 วิธี คือ แบบดั้งเดิมซึ่งเป็นการผลิตจากการหมักผลไม้ตามธรรมชาติโดยไม่มีการเติมยีสต์ อีกวิธีหนึ่งคือ การหมักผลไม้และเติมยีสต์เข้าไปเพื่อเร่งปฏิกิริยา การผลิตไซเดอร์จากมังคุดโดยวิธีการแบบดั้งเดิม คือหมักมังคุดตามธรรมชาติ คุณภาพของไซเดอร์จะขึ้นอยู่กับสี ความขุ่น ความเปรี้ยวความหวาน ความขม ความเค็มและกลิ่นรสผลไม้ รวมทั้งกลิ่นรสต่างๆ ที่เกิดจากการหมักด้วยเชื้อยีสต์ คุณลักษณะเหล่านี้มีผลทำให้ไซเดอร์เป็นที่นิยมของผู้บริโภค นอกเหนือจากการมีคุณสมบัติที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพแล้ว ไซเดอร์จากน้ำมังคุด ยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูงประกอบด้วยโพแทสเซียมสูงถึง 871 มิลลิกรัมต่อลิตร
 
3. มังคุดสำเร็จรูปชนิดเกล็ด มังคุดสำเร็จรูปพร้อมดื่มชนิดเกล็ด เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์จากมังคุด เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการใช้เนื้อมังคุดที่บดละเอียดมาทำการอบแห้งและแช่แข็งที่อุณหภูมิต่ำ (Freeze Dry) การทำผลิตภัณฑ์แช่แข็งอบแห้ง จะยังคงคุณค่าทางโภชนาการของมังคุดไว้อย่างครบถ้วน ประกอบด้วยโพแทสเซียม แมกนีเซียม และแคลเซียมในปริมาณสูงเมื่อเปรียบเทียบกับผลไม้ชนิดอื่น รวมทั้งคุณประโยชน์ที่ได้จากสารเยื่อไย (Fiber) และคุณค่าที่ได้จากสารประกอบกลุ่มแซนโทนโดยธรรมชาติจากเนื้อมังคุดล้วนในปริมาณที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายผลิตภัณฑ์มังคุดเกล็ด สามารถชงละลายได้ทั้งน้ำร้อนและน้ำเย็นในปริมาณถ้วยละ 2 หรือ 3 ช้อนชา ชงดื่มมังคุดเกล็ด 1 ซอง (60 กรัม) จะได้คุณค่าครบถ้วนของมุงคุดสด 300 กรัม <ref>http://www.arda.or.th/kasetinfo/south/mangosteen/used/index.php</ref>
 
 
== มังคุดในประเทศไทย ==
ประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออกมังคุดมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก โดยมีมูลค่าการส่งออกปีละมากกว่า 1,500 ล้านบาท มังคุดที่ถูกส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศมีทั้งในรูปของผลสดและผลแช่แข็ง ภาคใต้จัดเป็นแหล่งปลูกมังคุดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สามารถผลิตมังคุดที่มีคุณภาพดีและมีรสชาติดีเมื่อเทียบกับมังคุดในภูมิภาคอื่นของประเทศ เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม จากการที่มังคุดมีเอกลักษณ์ทั้งในรูปร่างของผลที่สวย และมีรสชาติที่หวานอมเปรี้ยว ถูกปากทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศจนได้รับฉายาว่า “Queen of Fruits” ดังนั้น ในปัจจุบันมังคุดจึงจัดเป็นผลไม้ที่มีศักยภาพสูงในการส่งออกของประเทศไทย และในอนาคตมีแนวโน้มว่ามังคุดจะมีความสำคัญมากขึ้นอีกด้วย เนื่องจากว่าประเทศไทยได้ทำหารขยายตลาดการส่งออกมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีนซึ่งมีประชากรสูง ก็ให้ความสนใจกับไม้ผลชนิดนี้ด้วย<ref>http://www.arda.or.th/kasetinfo/south/mangosteen/history/index.php</ref>
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
[[หมวดหมู่:ผลไม้]]
[[หมวดหมู่:สกุลมังคุด]]
[[หมวดหมู่:สมุนไพร]]
[[หมวดหมู่:พืชที่มีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรีย]]
[[หมวดหมู่:ผลไม้เขตร้อน]]
 
{{โครงพืช}}
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/มังคุด"