ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มังคุด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่
บรรทัด 33:
 
เปลือกของมังคุดมีสารให้รสฝาด คือ[[แทนนิน]] [[แซนโทน]] (โดยเฉพาะ[[แมงโกสติน]]) แทนนินมีฤทธิ์ฝาดสมาน ทำให้แผลหายเร็ว แมงโกสตินช่วยลดอาการอักเสบและมีฤทธิ์ต้านเชื้อ[[แบคทีเรีย]]ที่ทำให้เกิด[[หนอง]]ได้ดี ในทางยาสมุนไพร ใช้เปลือกมังคุดตากแห้งต้มกับน้ำหรือย่างไฟ ฝนกับน้ำปูนใส แก้ท้องเสีย เปลือกแห้งฝนกับน้ำปูนใส ใช้รักษาอาการ[[น้ำกัดเท้า]] แผลเปื่อย เปลือกมังคุด มีสารป้องกันเชื้อราเหมาะแก่การหมักปุ๋ย ชาวโอรังอัสลีในรัฐเประ มาเลเซียใช้เปลือกผลแห้งรักษาแผลเปิด<ref>Samuel, A.J.S.J., Kalusalingam, A., Chellappan, D.K., Gopinath, R., Radhamani, S., Husain, H. A., Muruganandham, V., Promwichit, P. 2010. Ethnomedical survey of plants used by the orang asli in kampong bawong, Perak, West Malaysia. Joutnal of Ethnobiology and Ethnomedicine. 6:5</ref>
การแปรรูปมังคุด
 
1. น้ำส้มสายชูมังคุด เป็นการศึกษาพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำส้มสายชูเพื่อสุขภาพจากมังคุดด้วยการหมักเนื้อมังคุดด้วยเชื้อ Gluconobacter Oxydans เป็นเชื้อหมักเร็วในระดับอุตสาหกรรมภายใต้การควบคุมอุณหภูมิ จะได้ปริมาณกรดน้ำส้มอยู่ระหว่าง 4 ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ ตามมาตรฐานน้ำส้มสายชูภายในเวลา 7 วัน คุณภาพของน้ำส้มสายชูที่ได้จะมีสีตามธรรมชาติ มีกลิ่นหอมของกรดน้ำส้ม และมีปริมาณตามมาตรฐานของน้ำส้มสายชู รวมถึงมีกลิ่นของมังคุดที่ใช้หมักอยู่ด้วย มีลักษณะใส ไม่มีหนอนน้ำส้ม สิ่งสกปรกหรือสิ่งเจือปนอันใด ไม่มีตะกอนจากตะกอนที่เกิดโดยธรรมชาติของน้ำส้มสายชูหมัก ผลิตภัณฑ์น้ำส้มสายชูมังคุดเพื่อสุขภาพ อุดมด้วยโพแทสเซียม ปริมาณ 97.8 มิลลิกรัม แคลเซียม 3.3มิลลิกรัม แมกนีเซียม 13.7 ต่อ 100 กรัม และปริมาณกรดน้ำส้ม 4.68 เปอร์เซ็นต์
 
2. มังคุดไซเดอร์ ไซเดอร์เป็นเครื่องดื่มผลไม้ที่มีแอลกอฮอล์ต่ำ ได้มีการผลิตไซเดอร์แอปเปิ้ลในด้านการค้ามาเป็นเวลานานนับสิบปีแล้วในตลาดต่างประเทศ และมีแนวโน้มการผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อมีการบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ต่ำเพื่อทดแทนแอลกอฮอล์สูงเพิ่มมากขึ้น และเพื่อสุขภาพที่ดีการผลิตไซเดอร์สามารถผลิตได้ 2 วิธี คือ แบบดั้งเดิมซึ่งเป็นการผลิตจากการหมักผลไม้ตามธรรมชาติโดยไม่มีการเติมยีสต์ อีกวิธีหนึ่งคือ การหมักผลไม้และเติมยีสต์เข้าไปเพื่อเร่งปฏิกิริยา การผลิตไซเดอร์จากมังคุดโดยวิธีการแบบดั้งเดิม คือหมักมังคุดตามธรรมชาติ คุณภาพของไซเดอร์จะขึ้นอยู่กับสี ความขุ่น ความเปรี้ยวความหวาน ความขม ความเค็มและกลิ่นรสผลไม้ รวมทั้งกลิ่นรสต่างๆ ที่เกิดจากการหมักด้วยเชื้อยีสต์ คุณลักษณะเหล่านี้มีผลทำให้ไซเดอร์เป็นที่นิยมของผู้บริโภค นอกเหนือจากการมีคุณสมบัติที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพแล้ว ไซเดอร์จากน้ำมังคุด ยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูงประกอบด้วยโพแทสเซียมสูงถึง 871 มิลลิกรัมต่อลิตร
 
3. มังคุดสำเร็จรูปชนิดเกล็ด มังคุดสำเร็จรูปพร้อมดื่มชนิดเกล็ด เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์จากมังคุด เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการใช้เนื้อมังคุดที่บดละเอียดมาทำการอบแห้งและแช่แข็งที่อุณหภูมิต่ำ (Freeze Dry) การทำผลิตภัณฑ์แช่แข็งอบแห้ง จะยังคงคุณค่าทางโภชนาการของมังคุดไว้อย่างครบถ้วน ประกอบด้วยโพแทสเซียม แมกนีเซียม และแคลเซียมในปริมาณสูงเมื่อเปรียบเทียบกับผลไม้ชนิดอื่น รวมทั้งคุณประโยชน์ที่ได้จากสารเยื่อไย (Fiber) และคุณค่าที่ได้จากสารประกอบกลุ่มแซนโทนโดยธรรมชาติจากเนื้อมังคุดล้วนในปริมาณที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายผลิตภัณฑ์มังคุดเกล็ด สามารถชงละลายได้ทั้งน้ำร้อนและน้ำเย็นในปริมาณถ้วยละ 2 หรือ 3 ช้อนชา ชงดื่มมังคุดเกล็ด 1 ซอง (60 กรัม) จะได้คุณค่าครบถ้วนของมุงคุดสด 300 กรัม (กรมวิชาการเกษตร)
การใช้ประโยชน์ทางด้านโภชนาการ
 
เนื้อมังคุดมีคุณค่าทางอาหารสูงโดยเฉพาะโพแทสเซียม โปรตีน สารเยื่อใย วิตามินซี ฟอสฟอรัส แคลเซียมและแมกนีเซียม จากการตรวจวิเคราะห์พบว่าในน้ำมังคุด 100 มิลลิลิตร ประกอบด้วยโพแทสเซียมปริมาณสูงถึง 87.14 มิลลิกรัม แคลเซียม 34.53 มิลลิกรัม และแมกนีเซียม 111.22 มิลลิกรัม นอกจากนี้ในเนื้อมังคุดยังประกอบด้วยคุณค่าด้านโภชนาการของธาตุอาหารจำนวนมาก ดังนี้ (สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์)
 
ตารางแสดงคุณค่าทางด้านโภชนาการของธาตุอาหารของผลมังคุด
 
ธาตุอาหาร
ส่วนประกอบของธาตุอาหารต่อ 100 กรัม
ธาตุอาหาร
ส่วนประกอบของธาตุอาหารต่อ 100 กรัม
พลังงาน
34 กิโลแคลอรี
ฟอสฟอรัส
13 มิลลิกรัม
ความชื้น
87.6 เปอร์เซ็นต์
เหล็ก
1 มิลลิกรัม
โปรตีน
0.6 กรัม
โซเดียม
7 มิลลิกรัม
ไขมัน
1 กรัม
โพแทสเซียม
45 มิลลิกรัม
คาร์โบไฮเดรต
5.6 กรัม
วิตามินบี 1
0.03 มิลลิกรัม
เส้นใย
5.1 กรัม
วิตามินบี 2
0.03 มิลลิกรัม
เถ้าถ่าน
0.1 กรัม
ไนอะซิน
0.3 มิลลิกรัม
แคลเซียม
7 มิลลิกรัม
วิตามินซี (แอสคอบิกเอซิด)
4.2 มิลลิกรัม
แมกนีเซียม
13 มิลลิกรัม
การใช้ประโยชน์ด้านยารักษาโรค
 
ส่วนที่ใช้เป็นยา ส่วนที่เป็นเปลือกผลแห้ง
 
รสและสรรพคุณยาไทย มีรสฝาด แก้ท้องเสีย บิด มูกเลือด ในชนบทมักจะใช้น้ำต้มเปลือกมังคุด ชะล้างแผลจะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น
 
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ เปลือกผลมังคุดมีสาร "แทนนิน" เป็นจำนวนมาก มีฤทธิ์แก้อาการท้องเดินได้ดี นอกจากนี้ในเปลือกมังคุดยังออกฤทธิ์สำหรับการสมานแผลได้ดีมาก ทั้งยังมีสรรพคุณฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้อีกด้วย โดยเฉพาะเชื้อที่ทำให้เกิดหนองและมีฤทธิ์ลดอาการอักเสบลงได้ดี กองวิจัยทางแพทย์กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ศึกษารายงานว่าไม่มีพิษเฉียบพลันแต่ควรระวังเรื่องขนานของการใช้เพราะสารที่เปลือกมังคุดมีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางและเพิ่มความดันเลือดได้
วิธีใช้ เปลือกมังคุดใช้เป็นยารักษา อาการท้องเสีย โดยใช้เปลือกที่ตากแห้งต้มกับน้ำปูนใสหรือฝนกับน้ำดื่ม ได้แก่ อาการเป็นบิด (ปวดเบ่ง มีมูก และอาจมีเลือดออก) โดยใช้เปลือกผลแห้งประมาณครึ่งผล
(4 กรัม) ย่างไฟให้เกรียมฝนกับน้ำปูนใสประมาณครึ่งแก้วดื่มทุกชั่วโมง
 
การใช้ประโยชน์จากยางมังคุด
ยางมังคุดมีลักษณะเป็นสารสีเหลืองในผลมังคุด และมีประโยชน์อย่างมากต่ออุตสาหกรรมหลายประเภทในอนาคตอันใกล้นี้ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมยาสำหรับโรคมะเร็ง โรคเอดส์ ยาแก้อักเสบ ยาแก้ภูมิแพ้ และยารักษาโรคผิวหนัง เนื่องจากยางมังคุดใช้เป็นวัตถุดิบในการสกัดสารกลุ่มแซนโทน ซึ่งแต่ละชนิดที่มีฤทธิ์ทางยาที่แตกต่างกัน รวมทั้งมีประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมพลาสติก ทั้งนี้มีรายงานว่าอนุพันธ์ของสารประกอบกลุ่มแซนโทน ชนิดเตตระไฮดรอกซี (tetra-hydroxyxanthone) เมื่อนำมาผสมกับสารโพลีเอสเตอร์ที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมพลาสติก จะช่วยให้สามารถยืดอายุการใช้งานได้หลายเท่า เพราะยางมังคุดมีคุณสมบัติการทนแสงอัลตราไวโอเลตจึงถูกใช้ทดสอบเป็นส่วนประกอบของเซลล์แสงอาทิตย์ นอกจากนี้ยางมังคุดอาจเข้ามามีบทบาทในการใช้เป็นสารเจือปนในอาหาร เพราะฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อStaphylococcus Aureus ซึ่งเป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษได้ นักวิจัยได้รายงานว่ายางสีเหลืองนี้ประกอบด้วยสารประกอบกลุ่มแซนโทนถึง 75 เปอร์เซ็นต์ พบมากในส่วนเนื้อเปลือกด้านใน และยางมังคุดละลายได้ดีในสารระเหยชนิดมีพิษได้แก่ เมทานอล และอะซีโตน และละลายได้อย่างช้าในเอทิลแอลกอฮอล์ (กรมวิชาการเกษตร)
 
== อ้างอิง ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/มังคุด"