ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กีฬาตะวันออกไกล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 19:
== ประวัติ ==
[[ไฟล์:FECG1923BB.jpg|180px|thumb|left|การแข่งขันบาสเกตบอล ในกีฬาตะวันออกไกล ครั้งที่ 6 ที่นครโอซากา]]
ในปี [[พ.ศ. 2455]] (ค.ศ. 1912) [[เอลวูด เอส.บราวน์]] (Elwood S. Brown) ประธานสมาคมกีฬาแห่งหมู่เกาะฟิลิปปินส์ของสหรัฐอเมริกา (The Philippine Islands Athletic Association) ผู้จัดการแข่งขันกีฬาคาร์นิวัลแห่งมะนิลา (Manila Carnival Games) เสนอแนวคิดในการจัดแข่งขัน '''กีฬาโอลิมปิกแห่งตะวันออกไกล''' (Far Eastern Olympic Games) ต่อสาธารณรัฐจีน (ชื่อประเทศในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2455-[[พ.ศ. 2492]]; ปัจจุบันคือ[[สาธารณรัฐประชาชนจีน]]) และจักรวรรดิญี่ปุ่น (ปัจจุบันคือ[[ประเทศญี่ปุ่น]]) ในขณะเดียวกัน [[วิลเลียม แคเมรอน ฟอร์บส์]] (Governor-General William Cameron Forbes) ซึ่งเป็นประธานสมาคมกีฬาสมัครเล่นแห่งหมู่เกาะฟิลิปปินส์ฯ (The Philippine Islands Amateur Athletic Association) เป็นผู้ก่อตั้ง '''สมาคมโอลิมปิกแห่งตะวันออกไกล''' (The Far Eastern Olympic Association)
 
การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกแห่งตะวันออกไกล ครั้งที่ 1 จัดขึ้นที่สนามกีฬาคาร์นิวัล (ปัจจุบันคือ [[ศูนย์กีฬาไรซัลอนุสรณ์]] หรือ Rizal Memorial Sports Complex) เขตมาลาเต ใน[[กรุงมะนิลา]] บนหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ([[ฟิลิปปินส์ในอารักขาของสหรัฐอเมริกา|ในอารักขาของสหรัฐอเมริกา]]) เมื่อวันที่ [[4 กุมภาพันธ์]] พ.ศ. 2456 (ค.ศ. 1913) โดยฟอร์บส์เป็นผู้ประกาศเปิดการแข่งขันอย่างเป็นทางการ ซึ่งมีทั้งสิ้น 8 วัน และ 6 ประเทศเข้าร่วม ประกอบด้วย หมู่เกาะฟิลิปปินส์ฯ สาธารณรัฐจีนฯ จักรวรรดิญี่ปุ่น [[:en:British Malaya|หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของบริเตน]] (British East Indies Islands; ปัจจุบันคือ [[มาเลเซีย]]) [[ราชอาณาจักรไทย]] และ [[:en:British Hong Kong|หมู่เกาะฮ่องกงของบริเตน]] (ปัจจุบันคือ [[เขตปกครองพิเศษฮ่องกง]]ของ[[สาธารณรัฐประชาชนจีน]]) ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2458]] (ค.ศ. 1915) สมาคมฯ เปลี่ยนชื่อเป็น ''สมาคมกีฬาแห่งตะวันออกไกล'' และเปลี่ยนชื่อการแข่งขันมาเป็น''กีฬาชิงชนะเลิศแห่งตะวันออกไกล'' โดยเริ่มใช้ครั้งแรกในการแข่งขันครั้งที่ 2 ซึ่งจัดขึ้นที่[[เซี่ยงไฮ้|นครเซียงไฮ]] ของสาธารณรัฐจีนฯ
 
ทั้งนี้แต่เดิมกำหนดจัดการแข่งขันในทุกสองปี จนกระทั่งเมื่อปี [[พ.ศ. 2472]] (ค.ศ. 1929) จักรวรรดิญี่ปุ่นตัดสินใจเลื่อนการแข่งขันครั้งที่ 9 ไปจัดในปีถัดจากนั้น ([[พ.ศ. 2473]]; ค.ศ. 1930) สมาคมฯ จึงเปลี่ยนแปลงกำหนดจัดการแข่งขันเป็นทุกสี่ปี โดยในปี พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1934) กรุงมะนิลาของหมู่เกาะฟิลิปปินส์ฯ เป็นเจ้าภาพในการแข่งขันครั้งที่ 10 ซึ่งหมู่เกาะ[[อินเดียตะวันออกของดัตช์]] (Dutch East Indies Islands; ปัจจุบันคือ [[สาธารณรัฐอินโดนีเซีย]]) เข้าร่วมเป็นครั้งแรก จากนั้นเมื่อเดือนกันยายน [[พ.ศ. 2480]] (ค.ศ. 1937) จักรวรรดิญี่ปุ่นเข้ารุกรานสาธารณรัฐจีน จาก[[เหตุการณ์สะพานมาร์โค โปโล]] อันเป็นสาเหตุของ[[สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง]] ซึ่งต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของ[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] ด้วยเหตุนี้ การแข่งขันครั้งที่ 11 ซึ่งกำหนดจัดขึ้น ที่[[โอซากา|นครโอซากา]]ของจักรวรรดิญี่ปุ่น ในปีถัดจากนั้น ([[พ.ศ. 2481]]; ค.ศ. 1938) จึงต้องยกเลิกไป