ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กล้องโทรทรรศน์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 45:
 
'''ฐานตั้งกล้องคอมพิวเตอร์ (Computerized Mount) ''' เป็นฐานตั้งกล้องที่มีการฝังระบบคอมพิวเตอร์ลงไป ทำให้สามารถชี้ไปที่วัตถุท้องฟ้าที่กำหนดได้อัตโนมัติ โดยการระบุวัตถุที่ต้องการลงไปบนระบบควบคุม ซึ่งอาจเป็นรีโมต หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฐานตั้งกล้องจะรับพิกัดของวัตถุนั้นจากฐานข้อมูล และหมุนกล้องไปที่วัตถุนั้น
 
==คุณลักษณะของกล้องโทรทรรศน์==
ตัวแปรต่างๆ ของกล้องโทรทรรศน์ ที่เราควรรู้จัก คือ ...
1. ขนาดของหน้ากล้อง (Aperture): ตัวแปรที่สำคัญที่สุด ของกล้องโทรทรรศน์ คือ ขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลาง ของกล้อง ซึ่งหมายถึงขนาดของเลนส์วัตถุ (ในกล้องโทรทรรศน์ แบบหักเหแสง) หรือขนาดของกระจกสะท้อนแสง (ในกล้องโทรทรรศน์ แบบสะท้อนแสง) ทั้งนี้ก็เพราะว่า การที่วัตถุมองไม่ค่อยเห็น เกิดจากวัตถุนั้นๆจาง ไม่ได้เกิดจากวัตถุเล็ก แล้วต้องการกำลังขยายมาก ดังนั้น ขนาดของหน้ากล้องที่มาก จะทำให้กล้องได้รับแสงมากกว่า กล้องที่มีขนาดหน้ากล้องน้อย แต่อย่าลืมว่า กล้องที่มีขนาดใหญ่มาก น้ำหนักและการเคลื่อนย้าย ก็อาจเป็นอุปสรรคต่อการใช้งานได้
2. กำลังขยาย ไม่ใช่ ตัวแปรหรือปัจจัยที่สำคัญมาก ปกติแล้ว กำลังขยายสูงสุด จะไม่เกิน 50 เท่าของ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง กล้อง ในหน่วยนิ้ว จะไม่เกิน 2 เท่าของกล้อง ในหน่วยมิลลิเมตร
เช่น กล้องขนาด 6 นิ้ว (6-inch) ควรจะมีกำลังขยายสูงสุดไม่เกิน 300 x (300 เท่า)
การที่กล้องมีกำลังขยายไม่มาก จะทำให้ภาพที่ได้ มีความคมชัดสูง ขณะที่กล้องที่มีกำลังขยายเกินตัว (เมื่อเทียบกับแสงที่ได้รับ) ก็จะทำให้ภาพเบลอมาก ไม่มีประโยชน์
 
== กำลังขยาย ==