ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ออร์เคสตรา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
Aristitleism ย้ายหน้า วงออร์เคสตรา ไปยัง ออร์เคสตรา ทับหน้าเปลี่ยนทาง
Pair2546 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 2:
 
'''ออร์เคสตรา''' (orchestra) เป็นคำศัพท์เกี่ยวกับดนตรี มีประวัติมาช้านาน และมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปตามยุคสมัย เพื่อสนองความต้องการของผู้ประพันธ์ในการถ่ายทอดความรู้สึกของดนตรีในแต่ละยุค นิยมแปลศัพท์เป็นไทยว่า "วงดุริยางค์" วงออร์เคสตราเป็นวงดนตรีที่มีวิวัฒนาการเริ่มขึ้นราว ค.ศ.1600 ลักษณะที่สำคัญของวงออร์เคสตราคือ เป็นกลุ่มของนักดนตรี ที่เล่นเครื่องดนตรีหลักทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ [[เครื่องดนตรี]]ประเภท[[เครื่องสาย]] [[เครื่องลมไม้]] [[เครื่องลมทองเหลือง]] และ[[เครื่องกระทบ]] โดยบรรเลงภายใต้การควบคุมของ[[ผู้อำนวยเพลง]]
เครื่องดนตรีที่ใช้ในวงออร์เคสตร้า (Orchestra)
แยกออกเป็น ๔ กลุ่ม คือ
 
๑ กลุ่มเครื่องสาย (string section)
๒ กลุ่มเครื่องลมไม้ (woodwind section) ได้แก่ พวกปี่ และขลุ่ย
๓ กลุ่มเครื่องลมทองเหลือง (brass section) ได้แก่ พวกแตร
๔ กลุ่มเครื่องเพอคัชฌัน (percussion section)
 
กลุ่มเครื่องสาย
 
ในกลุ่มเครื่องสาย เครื่องดนตรีที่จะแนะนำให้รู้จักชนิดแรก “ไวโอลิน” เครื่องดนตรีชนิดนี้ เห็นจะ ไม่ต้องอธิบายอะไรมากเกี่ยวกับรูปร่าง เพราะส่วนมากจะรู้จักกันดีแล้วในวงดุริยางค์
ไวโอลินแบ่งเป็น ๒ พวก คือ
- ไวโอลินที่หนึ่ง (first violin)
- ไวโอลินที่สอง (second violin)
คนส่วนมากแม้ฝรั่งเองก็ต่างมักเข้าใจกันว่า พวกไวโอลินที่หนึ่งดีกว่าไวโอลินที่สอง แต่ความจริงแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะใครก็ตาม ที่อยู่ในพวกไวโอลินที่หนึ่งจะเป็นแนวเสียงโซปราโน ส่วนไวโอลิน ที่สองจะเล่นแนวเสียงเมซโซ- โซปราโน และอัลโต ซึ่งเป็นแนวเสียงที่ต่ำกว่าโซปราโน
ไวโอลินเป็นเครื่องดนตรีที่เล่นท่วงทำนอง (Melodic instrument) และสามารถถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่างดีเยี่ยม เพราะเสียงของซอชนิดนี้ แหลม สดใส พราวพริ้ง อ่อนหวาน ชวนให้เคลิบเคลิ้มตามไปได้ง่าย หรือถ้าจะเล่นให้คึกคักสนุกสนานก็ทำได้ และแม้แต่จะเล่นให้เศร้าสร้อยสะเทือนใจก็ทำได้เป็นอย่างดีเช่นกัน
เครื่องดนตรีต่อไปนี้คือ “วิโอลา” (viola) ซอนี้บางคนเรียก ไวโอลา การเรียกเช่นนี้ เป็นการเรียกที่ผิด การเรียกที่ถูกเรียก “วิโอลา” วิโอลาเป็นซอที่มีทรวดทรงเช่นเดียวกับไวโอลินทุกประการ แต่มีขนาดเล็กกว่า และเสียงของวิโอลาจะไม่สดใสเหมือนไวโอลิน อีกทั้งยังทุ้มและหนักแน่นกว่า เป็นเสียงที่ค่อนข้างเศร้า แต่ก็เร้าอารมณ์ได้ไม่น้อยกว่าไวโอลิน โดยปกติวิโอลาจะเล่นในแนวเสียงอัลโต และบางครั้งจะเล่นต่ำลงไปถึงเสียงเทเนอร์ก็มี
ซอในลำดับถัดไปคือ “วิโอลอนเชลโล” (violoncello) ชื่อซอนี้ค่อนข้างยาว ดังนั้น จึงมักเรียกกัน สั้น ๆ ว่า “เชลโล” (cello) เนื่องจากซอเชลโลนี้มีขนาดใหญ่กว่าวิโอลาประมาณ ๓ เท่า ดังนั้น ผู้บรรเลง จึงไม่สามารถเอาขึ้นพาดไหล่ได้เช่นไวโอลินหรือวิโอลา เวลาเล่นเขาจึงต้องนั่งเก้าอี้ แล้วเอาเชลโลหันหน้าออกแล้วหนีบด้วยเข่าไว้ในระหว่างขา เสียงของซอเชลโลเทียบระหว่างเสียงเทเนอร์บาริโทน และเบส สุ่มเสียงของเชลโลนี้ ถึงแม้จะทุ้มต่ำ แต่ก็เป็นเสียงที่นุ่มนวล ลึกซึ้ง กังวาน สามารถแสดงออกถึงอารมณ์เศร้าสร้อย หม่นหมอง อัดอั้นตันใจได้อย่างวิเศษ เชลโล นอกจากเป็นเครื่องดนตรีที่เล่นได้อย่างไพเราะมากแล้ว ยังเป็นเครื่องดนตรีที่ผู้เล่นสามารถแสดงท่วงท่าการบรรเลงได้อย่างงดงามและสง่าอีกด้วย
เครื่องดนตรีที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มซอตระกูลไวโอลิน คือ “ดับเบิลเบส” (double bass) ดับเบิลเบสเป็นซอที่มีขนาดใหญ่มาก จนเวลาเล่น ผู้เล่นต้องยืนหรือนั่งบนเก้าอี้สูงๆเพื่อสีซอนี้ เสียงของดับเบิ้ลเบสทุ้มต่ำสุด เป็นเสียงที่แสดงถึงความมีอำนาจ ความน่ากลัว และบางครั้งก็แสดงความตลกขบขันได้อย่างดี
ซอนี้เมื่อเทียบเสียงจะได้กับเสียงเบส และเสียงดับเบิลเบส
หมดจากพวกกลุ่มซอไวโอลินอันมี ไวโอลิน วิโอลา เชลโล และดับเบิลเบส คราวนี้ ก็มาถึงเครื่องดนตรีอีกหนึ่งชนิด ซึ่งอยู่ในประเภทเครื่องดีด (plucked instrument) และจะเข้ามาร่วมในวงดุริยางค์เป็นครั้งคราวเท่านั้น เครื่องดนตรีเครื่องนี้คือ “ฮาร์พ” (harp) เสียงฮาร์พหรือพิณใหญ่นั้นไพเราะ นุ่มนวล มีเสน่ห์มากๆ คีตกวีมักใช้ฮาร์พเพิ่มสีสันให้เสียงเพลงให้งดงามยิ่งขึ้น สุ้มเสียงของฮาร์พคล้ายเปียโน แต่นุ่มนวลกว่ามาก ในวงดุริยางค์ถ้ามีฮาร์พปรากฏอยู่ เครื่องดนตรีชนิดนี้จะอวดรูปโฉมของมันเด่นเหนือเครื่องดนตรีอื่น ๆ ทั้งหมด
 
กลุ่มเครื่องลมไม้
 
กลุ่มเครื่องดนตรีกลุ่มที่สองคือ “กลุ่มเครื่องลมไม้” อันประกอบด้วย พวกปี่และพวกขลุ่ย การที่เราเรียกว่า “เครื่องลมไม้” ก็เพราะทั้งปี่และขลุ่ยมีท่อลมทำด้วยไม้ แม้ว่าในปัจจุบันเครื่องดนตรีบางชนิดจะเปลี่ยนไปทำด้วยโลหะ แต่ก็ยังจัดอยู่ในเครื่องลมไม้อยู่ดี
ในวงดุริยางค์โดยปกติเราจะใช้ขลุ่ย ๒ ชนิด คือ ขลุ่ยฟลูท และขลุ่ยปิกโกโล สำหรับขลุ่ยฟลูทนั้นเป็นเครื่องดนตรีที่มีประวัติเก่าแก่มาก ในสมัยก่อน ขลุ่ยชนิดนี้ ลำตัวหรือท่อลมมีแต่รูเปล่า ๆ คล้ายขลุ่ยของไทยเรา แต่ต่อมาเมื่อติดคีย์ (Key) และกระเดื่อง (lever) จึงทำให้สะดวกต่อการเล่นมาก และสามารถทำระดับเสียง (pitch) ต่าง ๆได้มากขึ้น ฟลูทเป็นเครื่องดนตรีที่เล่นท่วงทำนองเช่นเดียวกับไวโอลิน ฉะนั้น จึงเหมาะที่จะบรรเลงเดี่ยว เสียงของฟลูทจะคล้ายกับเสียงของขลุ่ยทั่ว ๆ ไป กล่าวคือเสียงต่ำจะนุ่มนวล เสียงสูงจะพราวพริ้ง บริสุทธิ์ แจ่มใส เสียงของฟลุทเหมาะที่จะใช้ล้อเลียนเสียงนกเล็ก ๆ ที่โผบินตามกิ่งไม้ได้เป็นอย่างดี
ขลุ่ยอีกชนิดหนึ่งมีขนาดเล็กกว่าเสียงฟลูท ขลุ่ยนั้นคือ “ขลุ่ยปิกโกโล” เสียงของปิกโกโลสูงมากและแหลมคมให้ความรู้สึกร่าเริงกระปรี้กระเปร่ากว่าฟลูท แม้ว่าในขณะที่เครื่องดนตรีทั้งหมดในวงจะเล่นประชันกันดังที่สุด แต่เสียงของขลุ่ยชนิดนี้ ซึ่งสูงกว่าเครื่องดนตรีทั้งหลาย จะปรากฏเด่นออกมาให้ผู้ฟังได้ยินอย่างชัดเจน
คราวนี้ก็มาถึงพวกปี่ ปี่ชนิดแรกที่จะแนะนำคือ “ปี่โอโบ” (oboe) โอโบเป็นปี่ลิ้นคู่ มีประวัติ มาช้านานแล้ว ตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณ ปี่ชนิดนี้เป่ายากมาก ผู้เป่าที่เก่งจริง ๆ เท่านั้น ที่จะเป่าปี่ได้อย่างไพเราะน่าฟัง และเป่าต่อเนื่องได้เป็นระยะเวลานาน เสียงของปี่โอโบคล้ายเสียงออกทางจมูกหรือที่เรียกว่าขึ้นเสียงนาสิก (nasal tone) และคล้ายเสียงปี่ที่พวกแขกเลี้ยงงูเป่า คือ มีลักษณะบีบ ๆ และแหลมคมแต่ ไม่แหลมบาดหูเหมือนกับขลุ่ยปิกโกโล
ปี่โอโบมี “พี่” ที่มีเสียงทุ้มกว่า คือ ปี่คอร์อองแกลส์ (coranglais) ปี่นี้บางครั้งเรียกว่า “ปี่อิงลิชฮอร์น” (English horn) มีผู้สงสัยกันนานแล้วว่ เหตุใดในฝรั่งเศสจึงเรียกปี่นี้ว่า คอร์อองแกลส์ หรือในภาษาอังกฤษว่า “อิงลิชฮอร์น” ทั้งที่มันเป็นปี่มิใช่แตร แต่แม้จนกระทั่งทุกวันนี้ก็ยังไม่มีผู้ใดทราบสาเหตุที่แน่นอน เสียงของคอร์อองแกลส์เหมาะที่จะใช้บรรยายความรู้สึกที่ค่อนข้างเศร้า เงียบเหงา อ้างว้าง วังเวง ฉะนั้น บทเพลงที่จะให้ปี่นี้บรรเลงมักจะกำหนดให้จะหวะของเพลงดำเนินไปอย่างช้าๆ
ต่อไปจะแนะนำให้รู้จักกับปี่เสียงทุ้มอีก ๒ ชนิด คือ “ปี่บาสซูน”-ผู้น้อง และ “ปี่ดับเบิลบาสซูน” -ผู้พี่ รูปร่างของ “ปี่บาสซูน” (bassoon) ดูประหลาดกว่าปี่ชนิดอื่น ๆ คือ เหมาะที่จะเป็นอาวุธปืนและบ้องกัญชามากกว่าเป็นเครื่องดนตรี ซ้ำสุ้มเสียงของมัน เมื่อฟังดูแล้วชวนให้ตลกขบขันอยู่มิใช่น้อย ปี่บาสซูนเหมาะที่จะบรรยายอาการตลกขบขัน ด้วยเหตุนี้ ปี่บาสซูนจึงได้รับฉายาว่า “ตัวตลกของวงดุริยางค์” (the clow of the orchestra)
ปี่ดับเบิลบาสซูน( double bassoon)-ผู้พี่ มีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมากกว่าปี่บาสซูน ปี่ชนิดนี้ผุ้เป่าจะตั้งตัวปี่กับพื้น เสียงของดับเบิลบาสซูนต่ำห้าว และให้ความรู้สึกลึกลับ น่ากลัว จึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะใช้ปี่ชนิดนี้บรรยายเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับภูตผีปีศาจ และความตาย
ปี่คลาริเนท (clarinet) เป็นปี่ที่รู้จักกันอย่างกว้างขว้าง เพราะเป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญของวงดุริยางค์ วงโยธวาทิต วงแจ๊ส และเหมาะที่จะใช้บรรเลงเดี่ยวอย่างมาก ปี่คลาริเนทมีช่วงลำดับเสียง (compass) กว้างมากที่สุดในบรรดาเครื่องลมไม้ เสียงสูงๆจะแหลมคม เสียงระดับกลาง ๆ จะราบเรียบนุ่มนวล กลมกล่อม ส่วนเสียงต่ำ ๆ จะทุ้ม ลึก มีลักษณะเฉพาะตัว
ปี่เบสคลาริเนท (bass clarinet) เป็นปี่ที่มีเสียงต่ำ สุ้มเสียงของมันนุ่มนวล ทุ้มลึก และน่าทึ่งมาก
 
กลุ่มเครื่องลมทองเหลือง
 
ถ้ากลุ่มเครื่องลมไม้เป็นเครื่องดนตรีที่แต้มเติมเสริมแต่งให้วงดุริยางค์มีสีสันของบรรเจิดงดงาม แล้วละก็ กลุ่มเครื่องลมทองเหลืองหรือแตรก็จะเป็นเครื่องดนตรีที่หนุนให้วงดุริยางค์มีพลังอำนาจ
เกริกเกรียงไกรยิ่งขึ้น
แตรที่จะแนะนำให้รู้จักอันดับแรกคือ “เฟรนช์ฮอร์น” (French horn) หรือมักจะเรียกกันสั้น ๆ ว่า “ฮอร์น” ฮอร์นเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่มากชนิดหนึ่ง ต้นกำเนิดของแตรชนิดนี้คือเขาสัตว์ ดังจะเห็นได้จากแตรโชฟาร์ (shofar) ของชาวฮิบรูที่ทำด้วยเขาแกะ แตรฮอร์นได้มีพัฒนาการต่อเนื่องมาทุกยุคทุกสมัยจนกระทั่งกลายเป็น “แตรสำหรับใช้ในการล่าสัตว์” (hunting horn) ในสมัยก่อน พวกผู้ดีชาวยุโรป เมื่อจะออกไปล่าสัตว์ จะต้องจัดขบวนเป็นการใหญ่ มีทั้งนายพราน สมุนบริวารขี่ม้าพร้อมด้วยสุนัขติดตามไปด้วยจำนวนมาก และบุคคลที่ขาดไม่ได้คือ “คนเป่าแตรล่าสัตว์” ซึ่งจะต้องติดตามไปด้วยเพื่อให้สัญญาณต่าง ๆ สัญญาณฮอร์น (horn signals) น่าฟังมาก ถ้าได้ยินแว่วมาจากไกลๆ ด้วยเหตุนี้ จึงมีคีตกวีหลายคนชอบที่จะนำสัญญาณฮอร์นมาสอดแทรกบทเพลงที่เขาประพันธ์ขึ้น เสียงของฮอร์นเหมือนเสียงเป่าเขาสัตว์ คือมีลักษณะโปร่งเบา นุ่มนวล กังวาน เป็นเสียงที่ก่อให้เกิดความสง่างามที่สุดในบรรดาเครื่องดนตรีทั้งหลาย ผู้เป่าจะเล่นให้แผดก้องแสดงอำนาจก็ได้ หรือจะเล่นอ่อนหวานละมุนละไมก็ได้ คีตกวีหลายคนนิยมใช้ฮอร์นบรรยายความงดงามของธรรมชาติ
ถัดจากแตรฮอร์นก็ได้แก่ “ทรัมเปต” (trumpet) ทรัมเปตเป็นแตรที่รู้จักกันดีทั้งในด้านรูปร่างและ สุ้มเสียงของมัน เสียงของแตรนี้สดใส ชัดเจน บริสุทธิ์ สามารถปลุกให้เกิดความกล้าหาญ ตื่นเต้นและรุกเร้าใจได้ดีว่าเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆ
ทรอมโบน (trombone) เป็นแตรอันดับถัดไป แตรทรอมโบนสามารถเปล่งเสียงระดับต่าง ๆ ได้ด้วยการเลื่อนท่อลมเข้า-ออก ฉะนั้น แตรนี้ จึงมีชื่อว่า”สไลด์” ทรอมโบน” (slide trombone) ทรอมโบนเป็นแตรที่สามารถ ให้เสียงแสดงถึงความอำนาจและสง่าผ่าเผยได้มิใช่น้อย
แตรอันดับสุดท้ายที่จะกล่าวถึงคือ “ทูบา” (tuba) ทูบาเป็นแตรขนาดใหญ่จนผู้เป่าจะต้องอุ้มแตรนี้เวลาเป่า เสียงของทูบาทุ้มลึก นุ่มนวล ไม่ค่อยแตกพร่า และบางครั้งออกจะติดตลกอยู่บ้าง
 
กลุ่มเครื่องเพอคัชฌัน
 
เครื่องดนตรีกลุ่มสุดท้ายของวงดุริยางค์ คือ “กลุ่มเครื่องเพอคัชฌัน” เครื่องเพอคัชฌัน มีผู้เรียก ในภาษาไทยว่า เครื่องตีบ้าง เครื่องกระทบบ้าง และเครื่องประกอบจังหวะบ้าง จะว่าไปแล้ว การเรียกเครื่องตีก็ยังไม่ถูกต้องนัก เพราะเครื่องดนตรีประเภทนี้มีมากมายหลายชนิด บางชนิดจะเขย่าก็ได้ สั่นก็ได้ รูดก็ได้ เคาะก็ได้ ฯลฯ หรือการเรียกว่า เครื่องกระทบ ก็ยังมิได้ครอบคลุมทั้งหมดของการบรรเลง ส่วนที่เรียกว่าเครื่องประกอบจังหวะนั้น จะเห็นว่าเครื่องดนตรีบางชนิดในกลุ่มนี้ก็มิได้ประกอบจังหวะแต่อย่างเดียว บางชนิดยังอาจสามารถเล่นท่วงทำนอง (melody) ได้อีกด้วย ฉะนั้น เมื่อยังไม่มีคำในภาษาไทยเหมาะสมที่จะใช้เรียกเครื่องดนตรีในกลุ่มนี้ จึงของเรียกว่า เครื่องเพอคัชฌัน ไปพลาง ๆ ก่อน
เครื่องเพอคัชฌันมีมากมายหลายชนิด สุดแล้วแต่คีตกวีจะนำมาใช้ แต่ที่สำคัญที่สุดคือ “กลองทิมพานี” (timpani) นอกนั้น ก็มีพวกเครื่องเพอคัชฌันที่สำคัญอื่น ๆอีก เช่น
- กลองใหญ่ (bass drum) - ฆ้อง (gong)
- กลองเล็ก (Snare drum or side drum) - วู้ดบล้อคส์ (wood blocks)
- ฉาบ (cymbals) - ไซโลโฟน( xylophone)
- กิ๋ง( trianglc) - กลอคเค็นชปิล( glockenspicl)
- กรับสเปน (castanets) - เชลเลสตา (celesta)
- รำมะนา (tambourine) - ระฆังราว (tubular bells)
 
== ประวัติ ==