ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศมาเลเซีย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 164:
การกำหนดแนวทางเศรษฐกิจเพื่อสร้างความเจริญเติบโตของประเทศไปพร้อมกับการแก้ปัญหาสังคมและการเมืองถูกกำหนดไว้ในแผนพัมนาเศรษฐกิจ ซึ่งมีขึ้นตั้งแต่ยังเป็นสหพันธ์มลายาฉบับแรกๆ (ช่วงปี ค.ศ. 1956 - 1960) เน้นการสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ พยายามผลักดันอุตสาหกรรมในประเทศเพื่อทดแทนการนำเข้าแต่ไม่ค่อยได้ผล เพราะตลาดการค้าในประเทศยังเล็กมาก นอกจากนี้ยังมีเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ โดยพยายามทำให้รายได้กระจายไปสู่ประชากรอย่างทั่วถึง ให้ทุกคนมีงานทำ
 
ปัญหาทางเศรษกิจเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศมาเลเซีย ได้แก่ การว่างงานและความยากจน โดยเฉพาะกลุ่มชาวมลายูในชนบท รัฐบาลจึงพยายามพัฒนาที่ดินและสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ถนนหนทาง โรงเรียน สถานพยาบาล ระบบชลประทาน แต่ก็ช่วยแก้ปัญหาได้ระดับหนึ่งเท่านั้น ในขณะที่ชาวจีนซึ่งถือว่าเป็นคนมาอยู่ใหม่ ไม่ใช่เจ้าของที่กลับขยันขันแข้ง เข้ามาหักร้างถางพง และมีฐานะทางเศรษฐกิจดีกว่าชาวมลายูที่อยู่มาก่อน ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างชาวมลายูกับชาวจีนขณะนั้น ทำให้บางคนถึงกับคิดว่าในอนาคตชาวจีนจะควบคุมประเทศ ในขณะที่ชาวมลายูจะถูกไล่เข้าป่าดงดิบซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งที่นำไปสู่ความขัดแย้งทางเชื้อชาติ
 
หลังจากได้รับเอกราชในปี ค.ศ. 1957 เศรษฐกิจของมาเลเซียก็เติบโตขึ้น แล้วเริ่มเปลี่ยนจากการทำดีบุกกับยางพาราเป็นหลักไปเป็นทำอุตสาหกรรมที่หลากหลายและทันสมัยมากขึ้น แต่ก็ยังมีปัญหาใหญ่ที่คุกคามเศรษฐกิจคือ ปัญหาความขัดแย้งทางเชื้อชาติซึ่งเกิดปะทุขึ้นรุนแรงจนนำไปสู่จลาจลในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1969 รัฐบาลซึ่งขณะนั้นนำโดยพรรคอัมโนจึงคิดนโยบายเศรษฐกิจใหม่ (New Economic Policy-NEP) ออกมาแก้ปัญหา นำออกมาใช้ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1970 โดยเนื้อหาสำคัญคือ ให้สิทธิพิเศษแก่พวก "ภูมิบุตร" หรือพลเมืองเชื้อสายมลายูเช่น กำหนดสัดส่วนข้าราชการส่วนใหญ่ให้เป็นชาวมลายู ให้สิทธิการเข้าเรียน จัดแบ่งที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพานิชย์ให้แก่พลเมืองเชื้อสายมลายูก่อนพลเมืองเชื้อสายจีนหรืออินเดีย