ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เสาชิงช้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Nakhonkup999 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 24:
'''เสาชิงช้า''' เป็น[[สถาปัตยกรรม]]ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีโล้ชิงช้า ใน[[พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย]]ของ[[ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู]] โดยทั่วไปหมายถึงเสาชิงช้าที่ตั้งอยู่หน้า[[วัดสุทัศน์เทพวราราม]] และลานหน้า[[กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)|ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร]] (ลานคนเมือง) ใกล้กับ[[เทวสถานโบสถ์พราหมณ์]] ในพื้นที่แขวงเสาชิงช้าและแขวงวัดราชบพิธ [[เขตพระนคร]] [[กรุงเทพมหานคร]] ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของกรุงเทพมหานคร แม้พิธีโล้ชิงช้าได้เลิกไปแล้วตั้งแต่สมัย[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 7 ก็ตาม
 
นอกจากนี้ ในประเทศไทยยังมีเสาชิงช้าอีกแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ที่ หน้าหอพระอิศวร [[เทศบาลนครนครศรีธรรมราช|เมืองนครศรีธรรมราช]] ซึ่งมีการประกอบพิธีโล้ชิงช้ามาแต่โบราณเช่นกัน แต่ได้เลิกไปก่อนที่จะมีการก่อสร้างขึ้นใหม่ในภายหลัง โดยจำลองแบบมาจากเสาชิงช้าที่กรุงเทพมหานคร
 
เสาชิงช้าที่กรุงเทพมหานครแห่งนี้ มีลักษณะเป็นเสาชิงช้าขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนแท่นหินขนาดใหญ่ สูง 21.15 [[เมตร]] [[เส้นผ่านศูนย์กลาง]]ฐานกลมประมาณ 10.50 เมตร ฐานกลมก่อเป็นฐานปัทม์ทำด้วยหินล้างสีขาว พื้นบนปูกระเบื้องดินเผาสีแดง มีบันได 2 ขั้น ทั้ง 2 ด้าน ตามแนวโค้งของฐานติดแผ่นจารึกประวัติเสาชิงช้า เสาไม้แกนกลางคู่และเสาตะเกียบ 2 คู่ เป็นเสาหัวเม็ด ล้วนทำด้วย[[ไม้สัก]]กลึงกลม โครงยึดหัวเสาทั้งคู่แกะสลักอย่างสวยงาม [[กระจัง]]และ[[หูช้าง]]ไม้เป็นลวดลายไทย ทั้งหมดทา[[สีแดง|สีแดงชาด]] ติด[[สายล่อฟ้า]]จากลวดลายกระจังด้านบนลงดิน