ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าจอมมารดาศิลา ในรัชกาลที่ 2"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
อัครจิต (คุย | ส่วนร่วม)
อัครจิต (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 28:
 
==ประวัติ==
เจ้าจอมมารดาศสิลา ประมาณว่าเกิดในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นธิดาในขรัวยายฟักทอง ราชินิกุล ณ บางช้าง (ขรัวยายฟ้กทองนั้นมีบิดานาม ขุนสนิทภิรมย์ ซึ่งเป็นบุตรชายท่านยายเจ้ามุก ส่วนมารดาคือท่านยายเชียง บุตรสาวของท่านตาเจ้าแทนและท่านเจ้ามุก โดยเจ้าแทนมีศักดิ์เป็นพี่ชายและพี่สาวแท้ๆของ[[พระชนกทอง หรือณ บางช้าง]] พระชนก ของ [[สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี]] ในรัชกาลที่ 1) ไม่ทราบนามบิดา หากแต่นับได้ว่าเป็นพระญาติสนิทของ กรมสมเด็จพระอัมรินทรามาตย์ พระบรมราชินี ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) และเป็นพระสนมใน[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] ตั้งแต่ยังทรงพระยศเป็น[[สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร]]
 
เป็นต้นตํารับเพลงร้องแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเล่ากันต่อๆมาว่า เวลาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์บทละครต่าง ๆ โดยมี กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระราชโอรส (ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ท่านสุนทรภู่ ฯลฯ เป็นผู้ร่วมงานกวีนิพนธ์นั้น เมื่อแต่งเป็นกลอนเสร็จก็จะมีพระราชกระแสรับสั่งให้เจ้าจอมมารดาศิลา เป็นผู้บรรจุเพลงขับร้องถวายเป็นการทดลองก่อน ในขณะเดียวกันก็โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งพระฉายขนาดใหญ่ขึ้น แล้วโปรดเกล้า ฯ ให้พระองค์เจ้าชายพนมวัน กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ ทรงประดิษฐ์ท่ารำไปพร้อมกัน โดยทรงรำอยู่หน้าพระฉาย หากเพลงและกระบวนรำเข้ากันดีแล้ว ก็โปรด ฯ ให้บันทึกไว้นับเป็นแบบอย่างการแต่งบทละครที่สมบูรณ์แบบที่สุด ซึ่งเริ่มต้นในรัชกาลที่ ๒ ไม่มีหลักฐานยืนยันว่า เจ้าจอมมารดาศิลา ได้เรียนการขับร้องมาจากครูท่านใด แต่เมื่อทราบว่าเป็นชาวบางช้าง อันเป็นเมืองแห่งนักดนตรีแล้วก็เชื่อได้ว่า คงจะเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในเพลงการมาตามแนวของบรรพบุรุษอย่างแน่นอน ศิษย์ของท่านคือ หม่อมศิลา และหม่อมเปรม ในพระองค์เจ้าสิงหนาทราชดุรงค์ฤทธิ์ ทางขับร้องของเจ้าจอมมารดาศิลาตกทอดผ่านหม่อมศิลาผู้เป็นหลานสะไภ้ของท่านลงมายังนักร้องทุกคนในวังบ้านหม้อ อันได้แก่ หม่อมเจริญ หม่อมมาลัย หม่อมจันทร์ หม่อมคร้าม ฯลฯ ซึ่งเป็นภริยาของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว. หลาน กุญชร) เจ้ากรมมหรสพในรัชกาลที่ ๕