ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: พรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศกัมพูชา ที่มีการเรียกตัวเองว่า''' พรร…
 
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ความหมายอื่น|พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาโดยภาพรวม|กลุ่มเขมรแดงของพล พต|เขมรแดง}}
พรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศกัมพูชา ที่มีการเรียกตัวเองว่า''' พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา''' อาจหมายถึงพรรคการเมืองดังต่อไปนี้
*'''พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา''' (Communist Party of Kampuchea) หรือ'''พรรคคอมมิวนิสต์เขมร''' (Khmer Communist Party) เป็นพรรคคอมมิวนิสต์ในกัมพูชา ซึ่งต่อมา กลุ่มที่ได้ครองอำนาจรัฐใน พ.ศ. 2518 ถูกเรียกว่าเขมรแดง ภายหลังได้แบ่งแยกออกเป็นสองพรรคคือ พรรคกัมพูชาประชาธิปไตยหรือ[[เขมรแดง]] เดิมเรียกตัวเองว่า พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา ต่อมาเปลี่ยนเป็นพรรคกัมพูชาประชาธิปไตย พรรคนี้ไม่ได้รับการยอมรับจาก[[พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม]]ว่าเป็นพรรคคอมมิวนิสต์เสมอกับตนแต่ถือเป็นเพียงสาขาของพรรคเท่านั้น แต่ได้รับการยอมรับและการสนับสนุนจาก[[พรรคคอมมิวนิสต์จีน]] <ref>เขียว สัมพัน. ประวัติศาสตร์กัมพูชากับจุดยืนที่ผ่านมาของข้าพเจ้า. อภิญญา ตะวันออก แปล. กทม.มติชน .2549.</ref> โดยทั่วไปนิยมเรียกว่าเขมรแดงมากกว่า อีกพรรคหนึ่งที่แยกตัวออกไปเมื่อ พ.ศ. 2521 คือ[[พรรคปฏิวัติประชาชนกัมพูชา]] เป็นพรรคที่มีอุดมการณ์แบบคอมมิวนิสต์ที่ได้รับการสนับสนุนจาก[[เวียดนาม]]และ[[สหภาพโซเวียต]] ต่อมาเปลี่ยนเป็น[[พรรคประชาชนกัมพูชา]]
== กัมพูชาฝ่ายซ้าย ==
* [[พรรคปฏิวัติประชาชนกัมพูชา]] เป็นพรรคที่มีอุดมการณ์แบบคอมมิวนิสต์ที่ได้รับการสนับสนุนจาก[[เวียดนาม]]และ[[สหภาพโซเวียต]] ต่อมาเปลี่ยนเป็น[[พรรคประชาชนกัมพูชา]]
วันที่ [[3 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2473]] [[โฮจิมินห์]]ได้ประกาศจัดตั้ง "[[พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม]]" (Parti communiste vietnamien หรือ Việt Nam Cộng Sản Đảng) ขึ้น ด้วยการรวมเอา[[พรรคคอมมิวนิสต์]]ใน[[เวียดนาม]] จากแคว้น[[ตังเกี๋ย]] [[อันนัม]] และ[[เทนินห์]] (โคชินจีน) จำนวน 3 กลุ่ม เข้าไว้ด้วยกัน แต่ต่อมาไม่นาน ชื่อพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเวียดนามก็ถูกเปลี่ยนเป็น "พรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน" (Parti communiste indochinois – PCI) <ref>ศรีประภา เพชรมีศรี. “การเมืองการปกครองของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม, ” ''เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : การเมืองการปกครองหลังสิ้นสุดสงครามเย็น'', สีดา สอนศรี บรรณาธิการ (กรุงเทพฯ : คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2544.) หน้า 337</ref><ref>การเปลี่ยนชื่อจาก พรรคคอมมิวนิสต์แห่งเวียดนาม เป็น พรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน นั้น นรนิติ เศรษฐบุตร ได้ให้เหตุผลว่า [[องค์การคอมมิวนิสต์สากล]] (Comintern) เห็นว่าถ้าใช้ชื่อพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามแล้ว แนวร่วมคอมมิวนิสต์ในกัมพูชาและลาวจะตีตนออกห่างได้ ดู นรนิติ เศรษฐบุตร. ''อุดมการณ์หรือผลประโยชน์ : การขัดกันระหว่างรัสเซียกับจีน และญวนกับเขมร'' (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แพร่พิทยา.) หน้า 13</ref> และได้รับเอากลุ่มปฏิวัติคอมมิวนิสต์จาก[[กัมพูชา]]และ[[ลาว]]เข้ามาเป็นสมาชิกด้วย ในช่วงแรก สมาชิกในพรรคส่วนใหญ่ยังเป็น[[ชาวเวียดนาม]] จนกระทั่งหลัง[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] สิ้นสุด ชาวกัมพูชาจึงเข้ามาร่วมเป็นสมาชิกเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม อิทธิพลที่สมาชิกชาวกัมพูชามีต่อการเคลื่อนไหวของลัทธิคอมมิวนิสต์ใน[[อินโดจีน]]และการพัฒนาภายในกัมพูชานั้น ยังอยู่ในระดับต่ำ
 
ในช่วงที่กัมพูชากำลังทำสงครามเรียกร้องเอกราชกับ[[ฝรั่งเศส]] กองกำลัง[[เวียดมินห์]] จากเวียดนาม ก็เริ่มเข้ามาสนับสนุนให้เกิด “การต่อสู้เพื่อปลดปล่อย” ขึ้นในกัมพูชา พร้อมกันนั้น รัฐบาลพลเรือนที่ปกครอง[[ราชอาณาจักรไทย]]ช่วง [[พ.ศ. 2489]] – [[พ.ศ. 2490|2490]] ก็มีนโยบายสนับสนุนกองกำลัง “[[เขมรอิสระ]]” (Khmer Issarak) ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อต่อต้านฝรั่งเศส ให้ปฏิบัติการตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และพื้นที่ใต้การยึดครองของไทยในขณะนั้น ซึ่งได้แก่ [[เสียมราฐ]]และ[[พระตะบอง]] ได้ ต่อมาใน [[พ.ศ. 2493]] (25 ปีก่อนที่กองกำลังเขมรแดงจะบุกยึด[[กรุงพนมเปญ]]) กลุ่มเขมรอิสระได้จัดการประชุมสมัชชาแห่งชาติเป็นครั้งแรก ในวันที่ [[17 เมษายน]] ผลจากการประชุมครั้งนั้น นำไปสู่การก่อตั้ง [[สมาคมเขมรอิสระ]] (United Issarak Front) โดยมีผู้นำกลุ่มคือ[[เซิง งอกมิญ]] ร่วมกับกลุ่มแกนนำที่ส่วนใหญ่เป็นสมาชิก[[พรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน]]เชื้อสายเขมร เมื่อเวลาผ่านไป กองกำลังเขมรอิสระภายใต้การควบคุมของฝ่ายคอมมิวนิสต์ ก็เติบโตมากขึ้น จนกระทั่งใน [[พ.ศ. 2495]] เขมรอิสระ ซึ่งปฏิบัติการร่วมกับขบวนการเวียดมินห์ ก็สามารถครองพื้นที่ได้ประมาณหนึ่งในหกของกัมพูชา และขยายอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ครึ่งหนึ่งของประเทศได้ ในอีก 2 ปีต่อมา ในช่วงที่มี[[การประชุมนานาชาติที่เมืองเจนีวา]] [[สมาพันธรัฐสวิส]]<ref>เดวิด แชนด์เลอร์, พรรณงาม เง่าธรรมสาร สดใส ขันติวรพงศ์ วงเดือน นาราสัจจ์ แปล. ''ประวัติศาสตร์กัมพูชา'', พรรณงาม เง่าธรรมสาร บรรณาธิการแปล (กรุงเทพฯ : มูลนิธิตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2543.) หน้า 284</ref>
 
ใน [[พ.ศ. 2494]] หลังจากที่พรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนยุบตัวลง ก็ได้มีการจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์เอกเทศขึ้น 3 พรรค ได้แก่ [[พรรคกรรมกรเวียดนาม]] (parti des travailleurs du Viêt Nam) ในเวียดนาม [[พรรคลาวอิสระ]] (Lao Itsala) ใน[[ลาว]] และ[[พรรคปฏิวัติประชาชนเขมร]] (Parti révolutionnaire du peuple du Kampuchea – PRPK) ในกัมพูชา โดยพรรคที่ถือว่ามีบทบาทในการเคลื่อนไหวมากที่สุดคือ[[พรรคกรรมกรเวียดนาม]]
 
== การก่อตั้งพรรคระยะแรก ==
พรรคก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2494 หลังจากที่พรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนสลายตัวเพื่อแยกเป็นพรรคในแต่ละประเทศคือกัมพูชา ลาว และเวียดนาม การตัดสินใจแยกพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาเกิดขึ้นในการประชุมใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์ชาวอินโดจีนในเดือนกุมภาพันธ์ วันที่ก่อตั้งพรรคและการประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งแรกในแต่ละแหล่งให้ข้อมูลต่างกันไป พรรคไม่ได้เลือกตั้งคณะกรรมการกลางแต่ได้ตั้งเป็นคณะกรรมการก่อตั้งพรรคและการขยายตัว ในช่วงแรก พรรคใช้ชื่อว่าพรรคปฏิวัติประชาชนเขมร ทั้งนี้ ผู้ที่มีบทบาทในพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนส่วนใหญ่เป็นชาวเวียดนาม ดังนั้น พรรคในระยะแรกจึงได้รับการสนับสนุนจากเวียดนามด้วยในระยะแรกของการต่อสู้ และเพราะการที่ชาวเวียดนามเข้ามามีบทบาทมากในช่วงแรกนี่เอง จึงได้มีการเขียนประวัติพรรคขึ้นใหม่ โดยให้ พ.ศ. 2503 เป็นปีก่อตั้งพรรค
 
พรรคปฏิวัติประชาชนเขมรถือเป็นต้นกำเนิดของขบวนการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ในกัมพูชา ผู้นำของพรรค คือ [[เซิง งอกมิญ]]และ [[ตู สามุต]] ในช่วงแรกสมาชิกของพรรคส่วนใหญ่คือคนเชื้อสายเวียดนามที่อาศัยอยู่ในกัมพูชา ส่วนชาวกัมพูชาพื้นถิ่นจริง ๆ ที่เข้าร่วมกับพรรคมีจำนวนค่อนข้างน้อย พรรคปฏิวัติประชาชนเขมรได้ปฏิบัติการร่วมกับกองกำลังเขมรอิสระอื่น ๆ เข้าควบคุมพื้นที่ชนบทของประเทศได้อย่างกว้างขวาง แต่หลังจากที่[[พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหนุ]] สามารถเรียกร้องเอกราชของกัมพูชาคืนจากฝรั่งเศสได้สำเร็จ พระองค์ก็ใช้เวทีการประชุมว่าด้วยปัญหาอินโดจีน ที่จัดขึ้นใน [[พ.ศ. 2497]] ณ เมือง[[เจนีวา]] ต่อต้านข้อเรียกร้องของขบวนการคอมมิวนิสต์ ซึ่งที่ประชุมเองก็รับรองเอกราชของกัมพูชาภายใต้การนำของพระองค์ และไม่รับรองสถานะและกำหนดเขตที่ตั้งของฐานที่มั่นฝ่ายคอมมิวนิสต์ให้เช่นกัน จากมติการประชุมดังกล่าว ส่งผลให้ขบวนการคอมมิวนิสต์ รวมถึงพรรคปฏิวัติประชาชนเขมร สูญเสียบทบาททางการเมืองในกัมพูชา และต้องลี้ภัยไปอาศัยใน[[เวียดนามเหนือ]]ตามข้อตกลงเจนีวา จำนวนผู้ลี้ภัยในขณะนั้นมีประมาณ 2,000 คน ซึ่งหนึ่งในจำนวนนั้นมีซิง งอกมิญรวมอยู่ด้วย<ref>ธีระ นุชเปี่ยม. "การเมืองในกัมพูชา, " ''เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : การเมืองการปกครองหลังสิ้นสุดสงครามเย็น'', สีดา สอนศรี บรรณาธิการ (กรุงเทพฯ : คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2544.) หน้า 379, 381 – 382</ref>
 
สำหรับในมุมมองของเขมรแดง เวียดมิญล้มเหลวในการเจรจาเพื่อกำหนดบทบาทของพรรคในการประชุมเจนีวา พ.ศ. 2497 ขบวนการยังคงควบคุมพื้นที่ขนาดใหญ่ในเขตชนบท และควบคุมกำลังทหารราว 5,000 คน มีสมาชิกราว 1,000 คน รวมทั้งเซิง งอกมิญที่เดินทางไปยังเวียดนามเหนือและลี้ภัยที่นั่น ในปลายปี พ.ศ. 2497 กลุ่มที่เหลืออยู่ในกัมพูชาได้จัดตั้งพรรคที่ถูกกฎหมายคือกรมประชาชน ซึ่งเข้าร่วมในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2498 และ พ.ศ. 2501 ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2498 ได้คะแนน 4% แต่ไม่เพียงพอที่จะได้ที่นั่งในสภา สมาชิกพรรคถูกกล่าวหาว่าอยู่นอกระบบสังคมของพระนโรดม สีหนุ รัฐบาลได้ขัดขวางการเข้าร่วมการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2505 ของพรรค ทำให้พรรคต้องลงไปต่อสู้แบบใต้ดิน ในช่วงนี้เองที่พระนโรดม สีหนุเรียกเขมรฝ่ายซ้ายว่าเขมรแดง ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นชื่อของพรรคคอมมิวนิสต์ที่นำโดย พล พต นวน เจีย เอียง ซารี เขียว สัมพันและคนอื่นๆ
 
ในช่วงปลาย พ.ศ. 2497 ขบวนการคอมมิวนิสต์ที่ยังอาศัยอยู่ในกัมพูชาได้จัดตั้งพรรคการเมืองถูก[[กฎหมาย]] โดยใช้ชื่อพรรคว่า “[[กรมประชาชน]]” (Krom Pracheachon; ''กร็อมปราเจียจ็วน'') หรือ “กลุ่มประชาชน” เพื่อลง[[เลือกตั้ง]]สภาใน [[พ.ศ. 2498]] ซึ่งผลปรากฏว่า พรรคประชาชนได้รับคะแนนเสียงจากการเลือกตั้งครั้งนั้นเพียงร้อยละ 3.5 เท่านั้น ไม่เพียงพอที่จะเข้าไปเป็นสมาชิก[[สภานิติบัญญัติ]]ได้ ส่วนพรรคที่ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดคือ [[พรรคสังคมราษฎร์นิยม]] (Sangkum Reastr Niyum) หรือ "กลุ่มสังคม” ของเจ้าสีหนุ <ref>ผล[[การเลือกตั้ง]]สภาใน [[พ.ศ. 2498]] พรรคสังคมราษฎร์นิยมได้รับคะแนนร้อยละ 83 และที่นั่งในสมัชชาแห่งชาติทุกที่นั่ง รองลงมา คือ พรรคประชาธิปไตย ได้รับคะแนนเสียงร้อยละ 13 และอันดับสุดท้ายคือ[[กรมประชาชน|พรรคประชาชน]]ที่ได้กล่าวไปแล้วในเนื้อความ ดู ธีระ นุชเปี่ยม. ''เพิ่งอ้าง''. หน้า 384</ref>
 
หลังจากการเลือกตั้งเสร็จสิ้นลง สมาชิกของพรรคประชาชนก็โดนกลุ่มของเจ้าสีหนุกดดันและตามจับกุมจนต้องหลบหนีไปอยู่ใต้ดิน เช่นเดียวกันกับ[[พรรคประชาธิปไตย (กัมพูชา)|พรรคประชาธิปไตย]]ที่ถูกเจ้าสีหนุกดดันจนต้องสลายตัวไปก่อนหน้านั้น เนื่องจากพระองค์กล่าวหาว่าพรรคเป็นอันตรายต่อนโยบายของพระองค์<ref>เดวิด แชนด์เลอร์. ''ประวัติศาสตร์กัมพูชา''. หน้า 300</ref> การหลบหนีของพรรคประชาชนในครั้งนั้น ส่งผลให้พรรคไม่ได้ลงเลือกตั้งครั้งต่อมา ใน [[พ.ศ. 2505]] ในช่วงนี้เอง ที่เจ้าสีหนุเริ่มเรียกกลุ่มฝ่ายซ้ายที่แฝงอยู่ตามท้องถิ่นต่าง ๆ ด้วยชื่อว่า “เขมรแดง”<ref>ชื่อ “เขมรแดง” มีที่มาจากการที่เจ้าสีหนุได้แบ่งกัมพูชาเป็นสี 3 สี เพื่อเป็นตัวแทนของกลุ่มการเมือง 3 กลุ่ม ได้แก่ “เขมรแดง” เป็นตัวแทนกลุ่มที่มีความคิดเห็นรุนแรง “เขมรน้ำเงิน” เป็นตัวแทนของกลุ่มอนุรักษนิยม ซึ่งหมายถึงตัวเจ้าสีหนุเอง และ “เขมรขาว” เป็นตัวแทนของกลุ่มที่ไม่ยอมรับกลุ่มใดเลย ดู เดวิด แชนด์เลอร์. ''เพิ่งอ้าง''. หน้า 309</ref>
 
=== กลุ่มปัญญาชนปารีส ===
เมื่อราว พ.ศ. 2493 นักศึกษาเขมรในปารีสได้จัดตั้งขบวนการของตนเอง ซึ่งมีการติดต่อกับส่วนของพรรคในบ้านเกิด กลุ่มนี้ได้กลับสู่กัมพูชาเมื่อ พ.ศ. 2503 และเป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในการต่อต้านสีหนุและลน นลใน พ.ศ. 2511 และเป็นกลุ่มที่ก่อตั้ง[[กัมพูชาประชาธิปไตย]] สมาชิกส่วนใหญ่ของกลุ่มปัญญาชนปารีสมาจากชนชั้นเจ้าของที่ดินหรือข้าราชการ และมีการแต่งงานกันเองในกลุ่ม [[พล พต]]แต่งงานกับ[[เขียว พอนนารี]] ส่วน[[เอียง ซารี]]แต่งงานกับ [[เขียว ธีริท]] ทั้งสองคนเป็นหญิงที่มีการศึกษาดี และต่อมามีบทบาทสำคัญในกัมพูชาประชาธิปไตย
 
ในช่วงเวลาเดียวกันระหว่าง พ.ศ. 2492 – 2494 พลพต และเอียง ซารีเข้าร่วมกับ[[พรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส]] ในพ.ศ. 2494 ได้เข้าไปใน[[เบอร์ลินตะวันออก]]เพื่อเข้าร่วมการเฉลิมฉลองระดับเยาวชน เมื่อพวกเขากลับมาทำงานร่วมกับกลุ่มที่เคยต่อสู้ร่วมกับเวียดมิญมาก่อน พวกเขาเห็นว่าการปฏิวัติโดยใช้กำลังเท่านั้นจึงจะสำเร็จ พวกเขาจัดตั้ง[[สมาคมนักศึกษาเขมร]] ที่มีนักศึกษาเขมรในปารีสเข้าร่วมราว 200 คน ใน พ.ศ. 2495 พล พต [[ฮู ยวน]] เอียง ซารีและสมาชิกฝ่ายซ้ายอื่นๆ ได้เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงพระนโรดม สีหนุ เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ในปีต่อมา ฝรั่งเศสสั่งยุบสมาคมนักศึกษาเขมร อย่างไรก็ตาม ใน พ.ศ. 2499 ฮู ยวนและเขียว สัมพันได้จัดตั้งกลุ่มใหม่ขึ้นในชื่อ[[สหภาพนักศึกษาเขมร]] ซึ่งยังเป็นกลุ่มฝ่ายซ้ายเช่นเดิม วิทยานิพนธ์ของฮู ยวนและ[[เขียว สัมพัน]]ได้แสดงแนวคิดที่ต่อมาจะถูกปรับเป็นนโยบายของกัมพูชาประชาธิปไตย โดยได้ท้าทายมุมมองของการพัฒนาโดยการทำให้เป็นเมืองและการขยายตัวของอุตสาหกรรมและชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจของกัมพูชาพึ่งพาประเทศที่พัฒนาแล้วมากเกินไป
 
หลังจากกลับสู่กัมพูชาใน พ.ศ. 2496 พล พตได้เข้าร่วมงานกับเวียดมิญในพื้นที่ชนบทของจังหวัดกำปงจาม เมื่อสงครามสิ้นสุด เขาเข้าสู่พนมเปญพร้อมกับกลุ่มของตู สามุต ซึ่งเขากลายเป็นจุดเชื่อมต่อกับพรรคที่ถูกกฎหมาย เอียง ซารี และฮู ยวนกลับมาเป็นครูในโรงเรียนมัธยมเอกชนที่ฮู ยวนช่วยในการก่อตั้งขึ้น เขียว สัมพันกลับจากปารีสใน พ.ศ. 2502 และไปสอนกฎหมายในมหาวิทยาลัยพนมเปญ และได้ออกหนังสือพิมพ์ฝ่ายซ้ายเป็นภาษาฝรั่งเศส ในชื่อ ''L'Observateur'' และถูกสั่งปิดในปีต่อมา เจ้าหน้าที่ตำรวจของพระนโรดม สีหนุจับเขียว สัมพันเปลื้องผ้าและถ่ายรูปโชว์ในที่สาธารณะ เขียว สัมพัน ฮู นิม และฮูยวนถูกบังคับให้เข้าร่วม
=== การแตกแยกภายในพรรค ===
เมื่อ พ.ศ. 2498 พรรคปฏิวัติประชาชนเขมรแบ่งออกเป็นสองขั้วคือฝ่ายในเมืองนำโดยตู สามุต และฝ่ายชนบทนำโดยเซียว เฮง ทั้งสองกลุ่มต้องการปฏิวัติแต่มีเป้าหมายต่างกัน ฝ่ายในเมืองเป็นกลุ่มที่เน้นความร่วมมือกับเวียดนามเหนือและยอมรับว่าพระนโรดม สีหนุเป็นผู้ที่ช่วยให้กัมพูชาได้รับเอกราช จากฝรั่งเศส เป้นผู้นำที่เป็นกลาง กลุ่มนี้หวังว่าพระนโรดม สีหนุจะแยกตัวออกจากฝ่ายขวา และปรับมาร่วมมือกับฝ่ายซ้ายได้ การที่[[เจ้าสีหนุ]] ดำเนินนโยบายต่างประเทศแบบเป็นกลางและไม่ได้รับความไว้วางใจจาก[[สหรัฐอเมริกา]]ในขณะนั้น<ref>สาเหตุที่ทำให้เจ้าสีหนุเลือกที่จะดำเนินนโยบายแบบเป็นกลาง เป็นผลมาจากพระองค์ผิดหวังกับท่าทีของกลุ่มประเทศตะวันตกที่มีต่อกัมพูชา โดยเฉพาะ[[สหรัฐอเมริกา]]ที่เอาใจใส่แต่ไทยและเวียดนามใต้ โดยไม่สนใจผลประโยชน์ของกัมพูชา และไม่เห็นด้วยกับเหตุผลที่พระองค์ต้องการเอกราชกลับคืนสู่กัมพูชา ในขณะเดียวกัน [[จีน]]กับ[[สหภาพโซเวียต]] ซึ่งเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ กลับแสดงท่าทีที่เป็นมิตรและให้กำลังใจแก่พระองค์มากกว่า จึงทำให้พระองค์หันมาสนับสนุนนโยบายเป็นกลางและการอยู่ร่วมกันโดยสันติ และคิดว่ากัมพูชาควรถ่วงดุลอำนาจกับอเมริกาโดยเป็นมิตรกับฝ่ายตรงข้ามของอเมริกาแทน ดู เสาวรส ณ บางช้าง. “เขมร : นโรดมสีหนุ วีรชนแห่งเขมร, ” ''วีรชนเอเชีย : Asian Heroes'', สุชาติ สวัสดิ์ศรี ชาญวิทย์ เกษตรศิริ บรรณาธิการ (กรุงเทพฯ : โครงการอาณาบริเวณศึกษา 5 ภูมิภาค, 2545.) หน้า 52 – 53</ref> จะทำให้เกิดประโยชน์ในการต่อสู้เพื่อ “ปลดปล่อย” [[เวียดนามใต้]] และมีแนวโน้มว่าพระองค์จะเปลี่ยนแปลงการดำเนินนโยบายเป็นแบบฝ่ายซ้ายแทน อีกกลุ่มหนึ่งเน้นความสำคัญของชนบท และต้องการกำจัดชนชั้นนายทุนให้หมดไป ฝ่ายชนบท ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองกำลังที่ในท้องที่ชนบทต่าง ๆ กลับสนับสนุนในมีการต่อสู้เพื่อล้มล้าง “[[ระบบขุนนาง]]” ของเจ้าสีหนุโดยเร็วที่สุด
 
ใน พ.ศ. 2502 เซียว เฮงยอมมอบตัวต่อรัฐบาลและให้ข้อมูลที่ตั้งพรรคในเขตชนบท ทำให้รัฐบาลทำลายที่ตั้งของพรรคได้ถึง 90% ส่งผลให้ใน [[พ.ศ. 2503]] จำนวนกองกำลังคอมมิวนิสต์ในกรุงพนมเปญและเมืองอื่น ๆ ของกัมพูชา ซึ่งในขณะนั้นอยู่ภายใต้เขตอำนาจของตู สามุตเป็นส่วนใหญ่ เหลือสมาชิกไม่ถึงร้อยคนใน พ.ศ. 2503
== ในระบอบสังคมของพระนโรดม สีหนุ ==
ระหว่างวันที่ 28 – 30 กันยายน พ.ศ. 2503 ผู้นำ 21 คนของพรรคปฏิวัติได้มีการประชุมลับที่สถานีรถไฟในกรุงพนมเปญ ซึ่งมาจากฝายในเมือง 14 คน ฝายชนบท 7 คน และเกิดความขัดแย้งระหว่างฝ่ายที่นิยมเวียดนามและฝ่ายต่อต้านเวียดนามขึ้นในการประชุมครั้งนี้ ในการประชุมครั้งนี้ พรรคเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคกรรมกรกัมพูชา โดยมีประเด็นสำคัญคือจะร่วมมือกับพระนโรดม สีหนุหรือไม่ มีการจัดตั้งโครงสร้างพรรคขึ้นใหม่ โดยมีคณะกรรมการกลาง ตู สามุตเป็นเลขาธิการทั่วไป นวน เจียเป็นรองเลขาธิการ คณะกรรมการมี พล พต เอียง ซารี และ[[แก้ว เมียส]] ในสมัยกัมพูชาประชาธิปไตยจะถือว่าวันนี้เป็นวันก่อตั้งพรรค
 
ต่อมา ในวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ตู สามุตถูกฝ่ายรัฐบาลสังหาร บ้างว่าหายตัวไป ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 ในการประชุมทั่วไปของพรรคครั้งที่ 2 พล พตได้เป็นเลขาธิการทั่วไปสืบต่อจากตู สามุต นวน เจีย และแก้วเมียส ถูกปลดออกจากคณะกรรมการ โดยซอน เซนและ วอน เวตขึ้นดำรงตำแหน่งแทน ทำให้พล พต และกลุ่มปัญญาชนปารีสขึ้นครองอำนาจในพรรค และเริ่มกำจัดผู้ที่นิยมเวียดนามออกไป
== การต่อสู้ในเขตชนบท ==
ในเดือดกรกฎาคม พ.ศ. 2506 พล พตและคณะกรรมการกลางส่วนใหญ่ออกจากพนมเปญไปตั้งฐานที่มั่นใน[[จังหวัดรัตนคีรี]]ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ก่อนหน้านั้น พล พตอยู่ในรายชื่อฝ่ายซ้าย 34 คน ที่ถูกเชิญชวนโดยพระนโรดม สีหนุ ให้เข้าร่วมกับฝ่ายรัฐบาล มีเพียง พล พตกับจู เจตที่เป็นคนในรายชื่อนั้นที่หนีไป คนที่เหลือเข้าร่วมในรัฐบาลและถูกจับตามอง 24 ชั่วโมงโดยตำรวจ
 
ในพื้นที่ที่พล พตไปตั้งฐานที่มั่นนั้น เป็นพื้นที่ของชาวเขมรบน ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในกัมพูชา ใน พ.ศ. 2508 พล พตได้ไปเยื่อนเวียดนามเหนือและจีนเป็นเวลาหลายเดือนและอาจจะได้รับการอบรมในจีน ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2509 พล พตได้เปลี่ยนชื่อพรรคเป็นพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาซึ่งเป็นความลับ<ref>The party statutes, published in mid-1970s, claims that the name change was approved by the party congress in 1971.[http://www.yale.edu/cgp/iengsary.htm]</ref> กว่าที่สมาชิกระดับล่างและเวียดนามจะรู้ก็อีกหลายปีต่อมา การต่อสู้ของพรรคในการต่อต้านรัฐบาลเริ่มต้นเมื่อ พ.ศ. 2510 ในช่วงแรกประสบความสำเร็จน้อย
 
ใน พ.ศ. 2511 เขมรแดงได้ประกาศยึดครองพื้นที่ในกัมพูชา แม้ว่าเวียดนามเหนือไม่ได้ร่วมในการตัดสินใจ แต่ก็ได้ส่งอาวุธให้เขมรแดงเมื่อเริ่มการยึดครอง กองทหารของพรรคได้ประกาศจัดตั้งเป็นกองทัพปฏิวัติแห่งกัมพูชา
== การขึ้นสู่อำนาจ ==
ความสำคัญทางการเมืองของเขมรแดงเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากรัฐประหาร พ.ศ. 2513 พระนโรดม สีหนุที่ลี้ภัยไปปักกิ่งได้ตกลงเป็นพันธมิตรกับเขมรแดงและประกาศตนเป็นรัฐบาลพลัดถิ่น ซึ่งมรจีนหนุนหลัง ความนิยมต่อพระนโรดม สีหนุในเขตชนบท ทำให้เขมรแดงแผ่อำนาจได้เร็ว และสามารถยึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ในกัมพูชาได้ ใน พ.ศ. 2516 นักประวัติศาสตร์มักจะกล่าวว่าการแทรกแซงและการทิ้งระเบิดของสหรัฐระหว่าง พ.ศ. 2508 – 2516 เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เขมรแดงได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น เมื่อสหรัฐหยุดให้ความช่วยเหลือแก่รัฐบาลของ[[ลน นล]]ใน พ.ศ. 2516 เขมรแดงได้ครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศก่อนจะเข้ายึดพนมเปญในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2518 ล้มล้างรัฐบาล[[สาธารณรัฐเขมร]]ในที่สุด
== เขมรแดงเมื่อครองอำนาจ ==
ผู้นำของเขมรแดงไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คณะกรรมการของพรรคระหว่างครองอำนาจได้แก่
* พี่ชายหมายเลข 1 พล พต หรือลต ซอร์ เป็นเลขาธิการทั่วไปของพรรคระหว่าง พ.ศ. 2506 – 2541 เป็นนายกรัฐมนตรีของกัมพูชาประชาธิปไตยระหว่าง พ.ศ. 2519 – 2522
* พี่ชายหมายเลข 2 [[นวน เจีย]]หรือฬง บุนรวต ประธานสภาตัวแทนประชาชนกัมพูชา
* พี่ชายหมายเลข 3 [[เอียง ซารี]] รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พ.ศ.2518 – 2522
* พี่ชายหมายเลข 4 เขียว สัมพัน ประธานสภาเปรซิเดียมและประมุขรัฐของกัมพูชาประชาธิปไตย
* พี่ชายหมายเลข 5 [[ตา มก]] หรือ ชิต เชือน ผู้นำกองทัพแห่งชาติกัมพูชาประชาธิปไตย ผู้นำเขมรแดงคนสุดท้าย เลขาธิการเขตตะวันตกเฉียงใต้ (เสียชีวิตระหว่างรอพิจารณาคดีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เมื่อ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2549)
* พี่ชายหมายเลข 13 [[เก ปวก]] เลขาธิการทั่วไปเขตเหนือ
* [[ซอน เซน]] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
* [[ยุน ยัต]] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2518 – 2520 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสารสนเทศ (แทนที่ ฮู นิมใน พ.ศ. 2520)
ในระหว่างที่มีอำนาจ เขมรแดงจัดการให้ประเทศปลอดจากอิทธิพลของต่างชาติ ปิดโรงเรียน โรงพยาบาล โรงงานอุตสาหกรรม ยกเลิกธนาคาร การเงิน สกุลเงิน สั่งให้การนับถือศาสนาผิดกฎหมาย บังคับให้ประชาชนอพยพออกจากเมือง ไปอยู่ในนารวม เพื่อเปลี่ยนชาวกัมพูชาทั้งหมดให้เป็นประชาชนเก่าที่อยู่ได้ด้วยการเกษตร ทำให้ประชาชนจำนวนมากต้องล้มตาย ทั้งการขาดอาหาร โรคระบาด และถูกประหาร ในพนมเปญและเมืองอื่นๆ เขมรแดงบังคับให้ประชาชนอพยพออกมาเพราะอ้างว่าสหรัฐอเมริกาจะมาทิ้งระเบิด ประชาชนต้องไปอยู่ตามคอมมูน และค่ายสำหรับใช้แรงงาน คนบางกลุ่มถูกเลือกไปประหารชีวิต เช่นเจ้าหน้าที่ของสาธารณรัฐเขมร และคนที่มีความรู้ รวมทั้งคนที่สงสัยว่าจะทรยศ
 
อย่างไรก็ตาม ภายในพรรคได้เกิดความแตกแยกภายในโดยเกิดกลุ่มที่ต่อต้าน พล พตขึ้น โดยเกิดการต่อต้านใน พ.ศ. 2520 และ 2521 ทำให้มีผู้ถูกประหารชีวิตนับพันคนรวมทั้งผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ด้วย ทั้งนี้ ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์รุ่นเก่าที่เคยมีความเกี่ยวข้องกับเวียดนามจะตกเป็นเป้าหมายของ พล พต
=== องค์กรหรืออังการ์ ===
ในวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2520 พล พตประกาศถึงการมีอยู่ของพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาในสุนทรพจน์นาน 5 ชั่วโมง โดยประกาศตั้งอังการ์ (ภาษาเขมร: អង្គការ หมายถึงองค์กร) เป็นหน่วยงานที่ครองอำนาจสูงสุดในกัมพูชา ก่อนหน้านี้การมีอยู่ของพรรคถือว่าเป็นความลับ และพล พตยังคงถือเป็นความลับอยู่ในช่วงสองปีแรกที่ขึ้นครองอำนาจ เพื่อป้องกันศัตรูภายใน การประกาศการมีอยู่ของพรรคเกิดขึ้นในช่วงสั้นๆก่อนที่ พล พตจะเดินทางไปเยือนจีน และเขมรแดงต้องพึ่งพาจีนมากขึ้นในการต่อต้านเวียดนาม พล พตกล่าวว่าพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาจัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2503 โดยไม่เกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ในเวียดนาม
== ความตกต่ำของเขมรแดง ==
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2521 เนื่องจากความขัดแย้งที่สะสมมาหลายปี ทำให้มีผู้อพยพชาวกัมพูชาจำนวนมากเข้าไปสู่เวียดนาม พล พตกลัวการโจมตีของเวียดนาม จึงให้กองทหารของเขาข้ามแดนเข้าไปในเวียดนามและเผาทำลายหมู่บ้านโดยไม่ได้รับความช่วยเหลือจากจีนหรือสหรัฐ ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2522กลุ่มนิยมเวียดนามในพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชานำโดยแปน โสวัณได้จัดการประชุมพรรคใกล้กับชายแดนเวียดนามและได้ร่วมมือกับ[[เฮง สัมริน]]จัดตั้ง[[แนวร่วมสามัคคีประชาชาติกู้ชาติกัมพูชา]] เพื่อต่อต้านเขมรแดง ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์แตกออกเป็นสองส่วน กลุ่มที่นำโดย[[แปน โสวัณ]]แยกไปเป็นอีกพรรคหนึ่ง
 
กองกำลังเวียดนามบุกรุกเข้าสู่กัมพูชาพร้อมกับแนวร่วมประชาชาติฯและเข้ายึดครองพนมเปญได้ในวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2522 กลุ่มของแปน โสวัณจัดตั้ง[[สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา]] พรรคคอมมิวนิสต์ที่นำโดยพล พตถอนกองกำลังและเคลื่อนย้ายไปทางตะวันตกไปตั้งมั่นตามแนวชายแดนไทยและเริ่มการต่อสู้แบบกองโจรต่อต้านสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา โดยมีเขียว สัมพันเป็นผู้นำ ต่อมา ใน พ.ศ. 2524 พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาได้สลายตัวและจัดตั้ง[[พรรคกัมพูชาประชาธิปไตย]]ขึ้นแทน
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
{{แก้กำกวม}}
[[หมวดหมู่:ขบวนการทางการเมืองในประเทศกัมพูชา]]
[[หมวดหมู่:พรรคคอมมิวนิสต์]]