ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รักสุดเพี้ยนของยัยเกรียนหลุดโลก!"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Magnamonkun (คุย | ส่วนร่วม)
Magnamonkun (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 100:
** ให้เสียงโดย : {{flag_icon|ญี่ปุ่น}} คิคุโกะ อิโนะอุเอะ
:: อาจารย์ประจำห้องของยูตะ
 
==โรคเพ้อฝันที่ผิดแปลกจากความเป็นจริง==
โรคเพ้อฝันที่ผิดแปลกจากความเป็นจริง ({{lang-en|Adolescent Delusions}}, {{ญี่ปุ่น|中二病|chūnibyō| ภาวะป่วยของนักเรียนม.ต้น ปี2}}) เป็นโรคแปลกประหลาดอย่างหนึ่ง ที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากเชื้อโรค แต่เป็นพฤติกรรมที่เกิดมาจากการซึมซับสิ่งเร้าต่างๆ ของกลุ่มเด็กวัยรุ่นตอนต้นที่กำลังจะเปลี่ยนผ่านจากวัยเด็กเป็นวัยผู้ใหญ่ ส่วนหนึ่งเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากใต้จิตสำนึกของแต่ละบุคคลที่ "อยากหลุดพ้นจากความเป็นเด็ก" แต่ก็ "ไม่อยากเติบโตเป็นผู้ใหญ่" เกิดการซ้อนทับกันอยู่
 
ลักษณะอาการของคนที่เป็นโรคนี้ก็คือ มักจะคิดเรื่องราวเพ้อฝันที่ผิดแปลกจากความเป็นจริงโดยไม่ได้ตั้งใจ เช่น คิดว่าตัวเองเป็นจอมเวทย์ผู้แข็งแกร่งที่เดินทางมาจากอีกฝากของมิติ หรือคิดว่าเป็นผู้ที่สามารถสื่อสารอะไรกับโลกอีกฟากหนึ่งได้เป็นต้น ซึ่งอาการของคนที่เป็นโรคนี้จะไม่ใช้เหตุข้างต้นก็ได้ บางคนอาจจะเป็นโรคนี้เพราะอยากเป็นผู้ใหญ่ เช่น อยากกินกาแฟดำชนิดเข้มข้น อยากรู้อยากลองในสิ่งที่ไม่ควรลอง หรือแม้แต่การปฏิเสธตัวจากสังคมเพราะคิดว่าตัวเองไม่ใช่เด็กแล้วเป็นต้น
 
ทั้งนี้อาการดังกล่าวไม่ได้สร้างผลเสียอะไรให้กับตัววัยรุ่นมากนัก เพราะสามารถหายไปได้เองเมื่อผู้ที่เป็นโรคนี้เติบโตขึ้นตามวัย หรือสามารถปรับตัวให้กลมกลืนและเข้ากับสังคมที่ตนอาศัยอยู่ได้อย่างไม่มีปัญหา แต่กลับกันถ้าเด็กไม่สามารถปรับตัวเข้าหาความจริงได้และยิ่งถลำลึกเข้าไปอีก ก็จะกลายเป็นบุคคลในกลุ่ม Denpa ({{ญี่ปุ่น| 電波 |denpa}}) ซึ่งเป็นคำศัพท์แสลงที่ชาวญี่ปุ่นนิยมใช้เรียกกลุ่มคนที่มีอาการเพ้อฝันจนไม่สามารถกลับสู่โลกแห่งความเป็นจริงและไม่สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุขได้ ซึ่งกลุ่มนี้มักจะถูกพาไปรักษาตัวด้วยจิตแพทย์เพื่อฟื้นฟูสภาพจิตใจให้กลับมาเป็นเหมือนเดิม แต่อาการหนึ่งที่คนที่เคยเป็นโรคนี้และหายได้ด้วยตัวเองต้องเป็นทุกคน นั่นก็คือเวลาที่นึกถึงสิ่งที่ทำไปในระหว่างที่เป็นโรคแล้ว มักจะเกิดอาการเขินอายและขำขันว่าตอนนั้นทำไปได้อย่างไร แต่บางคนก็มีอาการหนักถึงขั้นย้ายถิ่นเพื่อหลีกหนีความจริงจากคนที่รู้ว่าผู้ป่วยเคยเป็นโรคนี้มาก่อน
 
ตัวอย่างในเรื่องนี้ก็คือ โทกาชิ ยูตะ และ นิบุทานิ ชินกะ ที่เป็นโรคนี้และสามารถหายได้ด้วยตัวเอง แต่กลับมีอาการหนักเวลาที่นึกถึงสิ่งที่ทำไปในอดีตนั่นเอง
 
== อ้างอิง ==