ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตะจาน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 9:
ตะจาน ก็คล้ายกับประเพณีสงกรานต์ในประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกัน คือ การเล่นสาดน้ำเพื่อคลายร้อน และจะไดเป็นการลบล้างสิ่งสกปรกจากปีเก่าเพื่อความรักใคร่ซึ่งกันและกัน ในสมัยอดีตจะใช้การเล่นสาดน้ำอย่างเบา ๆ โดยใช้ยอด[[หว้า]]อ่อนชุบใส่น้้ำปรุงแล้วแตะเบา ๆ บนไหล่ของผู้ที่จะเล่นสาดน้ำด้วย แต่ในปัจจุบันเป็นการเล่นสาดน้ำที่รุนแรงและสุดเหวี่ยงขึ้น บางครั้งอาจตั้งเวทีต่อสายยางฉีดน้ำใส่กัน บางส่วนก็ขับรถยนต์หรือมอเตอร์ไซด์เล่นน้ำกันด้วย นอกจากการเล่นสนุกสนานแล้ว ก็ยังมีประเพณีบุญ คือ การทำบุญเพื่อความเป็นสิริมงคล เช่น การตักบาตร, สรงน้ำพระพุทธรูป, ถือศีลปฏิบัติธรรม, ทำความสะอาดวัดหรือศาสนสถาน, ทำบุญบ้าน, สระผมหรืออาบน้ำทำความสะอาดให้แก่คนชราที่ไร้ญาติ รวมถึงการปล่อยสัตว์ต่าง ๆ เช่น นก, ปลา หรือสัตว์ใหญ่อย่าง วัวหรือควาย นอกจากนี้แล้วผู้คนที่ไปใช้ชีวิตอยู่ในต่างถิ่น ก็จะเดินทางกลับสู่ถิ่นเกิดเพื่อกราบไหว้ผู้ใหญ่ในครอบครัว เช่น พ่อแม่, ปู่ย่าตายาย, ลุงป้าน้าอา เป็นต้น
 
ในเทศกาลตะจานนี้ มีอาหารพิเศษหลายอย่าง เช่น ''โม่นโล่นเยบอ'' (မုန့်လုံးရေပေါ်) เป็นขนมที่ทำรับประทานกันโดยเฉพาะในช่วงนี้ โดยมีความหมายถึง ความสามัคคี เพราะเมื่อทำขนมนี้ต้องใช้ผู้คนหลายคน และแจกจ่ายแก่บุคคลอื่นที่ผ่านไปมา และ ''ตะจานทะมี้น'' (เป็นข้าวสวยที่แช่ในน้ำที่มีกลิ่นเทียนหอม รับประทานกับเครื่องเคียง คือ ปลาช่อนแห้งผัดกับหอมเจียว และยำมะม่วงดอง<ref>หน้า 22 การศึกษา, ''ปีใหม่พม่า หรือ เทศกาลน้ำ 'ตะ-จาน' '' โดย ตูซาร์ นวย. เดลินิวส์ฉบับที่ 23,556: วันศุกร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2556 ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 5 ปีมะเมีย</ref>
 
==อ้างอิง==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ตะจาน"