ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชาวฮั่น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 197:
 
== "ฮั่น" แนวคิดที่เปลี่ยนไปมา ==
คำจำกัดความของความเป็นฮั่นนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปตลอดช่วงประวัติศาสตร์ ก่อนศตวรรษที่ 20 กลุ่มคนที่พูดภาษาจีนอื่นบางกลุ่ม เช่น ฮากกา และ ทันกา ไม่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นชาวฮั่น ในขณะที่บางครั้งคนบางกลุ่มที่ไม่ได้พูดภาษาจีนฮั่นเช่น จ้วง กลับเป็นชาวฮั่น ทุกวันนี้ชาวหุยได้รับการพิจารณาเป็นอีกกลุ่มชาติพันธุ์ แต่นอกเหนือจากการปฏิบัติตามศาสนกิจของศาสนาอิสลามแล้วมีสิ่งเล็กน้อยที่แบ่งแยกพวกเขาจากพวกฮั่น ชาวฮั่นสองคนจากพื้นที่ต่างกันอาจจะแตกต่างในทางภาษา,ประเพณีและวัฒนธรรมมากกว่าชาวหุยกับชาวฮั่นที่อาศัยอยู่ใกล้ชิดกันเสียอีก ในระหว่างราชวงศ์ชิงชาวฮั่นที่ได้เข้าสู่ระบบทหารแปดกองธงถือว่าป็นชาวแมนจู ในขณะที่ชาวจีนฮั่นชาตินิยมกำลังหาหนทางโค่นล้มระบอบกษัตริย์ก็ได้เน้นย้ำความเป็นฮั่นเพื่อให้แตกต่างจากผู้ปกครองชาวแมนจู นับตั้งแต่ก่อตั้งประเทศมาสาธารณรัฐจีนให้การรับรอง 5 กลุ่มชาติพันธุ์หลักได้แก่ ฮั่น, หุย, มองโกล, แมนจู และทิเบต ในขณะที่ตอนนี้สาธารณรัฐประชาชนจีนให้การรับรอง 56 กลุ่มชาติพันธุ์
 
ไม่ว่าจะมีนิยามของกลุ่มชาติพันธุ์ในจีนสมัยก่อนหรือไม่ยังคงเป็นคำถามที่น่าสงสัย อย่างไรก็ตามตลอดระยะเวลาประวัติศาสตร์ ชาวจีนส่วนใหญ่คิดว่าแต่ละคนเป็นพลเมืองของราชอาณาจักรใดๆโดยเฉพาะ ถึงกระนั้นก็ตามความเป็นเอกภาพหนึ่งเดียวภายใต้การปกครองของหลากหลายราชวงศ์ที่นำโดยชาวฮั่นนับพันๆปีได้นำมาซึ่งอัตลักษณ์ร่วมกัน นักวิชาการชาวจีนมากมายเช่น โห ปิงตี้ เชื่อว่านิยามของชาติพันธุ์ฮั่นเป็นของโบราณ นับย้อนไปถึงราชวงศ์ฮั่นนั่นเอง