ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส (ราม รามางกูร)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''อาชญาเจ้า ขุนรามราชรามางกูร''' ({{lang-roman|Arjjaya Chao Khun Rammarajaramangkura}}; ราวพุทธศักราช 2300–ราวพุทธศักราช 2400) ทรงเป็นต้นตระกูล [[รามางกูร]] (Ramangkura) แห่งอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ทรงเป็นเจ้าเมืองพนมหรือเจ้า[[เมืองธาตุพนม]]พระองค์แรกจาก[[ราชวงศ์เวียงจันทน์]] ใน[[ราชอาณาจักรศรีสัตนาคนหุตล้านช้างเวียงจันทน์]] ก่อนตกเป็นประเทศราชของราชอาณาจักรสยาม<ref>วีรพงษ์ รามางกูร, ''อนุสรณ์ ร้อยตำรวจตรีประดิษฐ์ รามางกูร 22 กันยายน 2528'', 1.</ref> และทรงเป็นเจ้าขุนโอกลาษผู้รักษาพระบรมมหาธาตุเจ้าเจดีย์พระนม (พระธาตุพนม) พระองค์แรกแห่งราชวงศ์เวียงจันทน์ด้วย<ref>พระครูสิริเจติยานุรักษ์, ''บทสัมภาษณ์เรื่อง เจ้าขุนโอกาสพระธาตุพนมและประวัติราชตระกูลรามางกูร'', ไม่ปรากฏหน้า.</ref> ระหว่างราวปี พ.ศ. 2330 ถึงราวปี พ.ศ. 2350 ซึ่งตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 3 ([[สมเด็จพระเจ้าสิริบุญสาร]]) หรือรัชสมัยของ[[สมเด็จพระเจ้านันทเสน]] ถึงรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 5 (สมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์) แห่งราชอาณาจักรเวียงจันทน์ และตรงกับรัชสมัย[[สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร]]แห่ง[[ราชอาณาจักรศรีอยุธยา]] ถึงรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]]แห่ง[[กรุงเทพพระมหานคร]] พระองค์นับเป็นราชวงศ์ผู้เป็นปฐมราชตระกูลดั้งเดิมที่มีชื่อเสียงและเก่าแก่แห่งเมืองธาตุพนมอยู่จำนวนมากมายหลายตระกูล ทรงเป็นผู้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในดินแดนพนมซึ่งเป็นหัวเมืองสำคัญทางพระพุทธศาสนาแถบริมฝั่งแม่น้ำโขงในอดีต และเป็นหัวเมืองสำคัญชายพระราชอาณาเขตสยามภายหลังกบฏสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์แห่งนครเวียงจันทน์ ทรงเป็นผู้สถาปนา[[วัดหัวเวียงรังษี]]<ref>นางจันเนา รามางกูร, ''บทสัมภาษณ์เรื่อง ขุนรามราชรามางกูรกับการสร้างวัดหัวเวียงรังสี : วัดประจำราชตระกูลรามางกูร'', ไม่ปรากฏหน้า.</ref> ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่และสำคัญที่สุดเพียงวัดเดียวที่ได้รับการอนุญาตจากชาวบ้านให้สร้างขึ้นในบริเวณใกล้เคียงกับองค์พระธาตุพนม อันถือเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกที่สำคัญที่สุดในเมืองธาตุพนม ในดินแดนอีสาน และในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อย่างไรก็ตาม สถานะเจ้าผู้ปกครองเมืองธาตุพนมของพระองค์นั้น มีความแตกต่างจากเจ้าเมืองทั่วๆ ไป เพราะเมืองธาตุพนมเป็นเมืองพิเศษ คือ เมืองธาตุพนมเป็นเมืองที่กษัตริย์ล้านช้างถวายเป็นกัลปนาให้แก่พระธาตุพนม ผู้คนที่ถูกถวายกัลปนานี้ถือเป็นข้าโอกาสพระธาตุพนม ผู้ปกครองเมืองหรือเจ้าขุนโอกาสมีสถานะเป็นข้าโอกาสด้วยเช่นกัน เจ้าผู้ปกครองไม่อาจจะใช้พระราชอาชญาลงโทษหรือกะเกณฑ์เก็บส่วยข้าทาสในเมืองธาตุพนมมาใช้สอยส่วนตัว หรือสักเลขประชาชนในเมืองของตนได้ พระราชอำนาจของพระองค์จึงถูกจำกัดในทางการปกครอง และเป็นเจ้าเมืองที่มีสถานะพิเศษกว่าหัวเมืองต่างๆ ในอีสาน ซึ่งเป็นไปในทำนองเดียวกับ เจ้าหม่อมบ่าวหลวงเจ้าเมืองหลวงโพนสิม ในแขวงสุวรรณเขตของลาว ที่เป็นเจ้าเมืองข้าโอกาสพระธาตุอิงฮัง
 
==พระราชประวัติ==