ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลาไน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 31:
เป็นปลาที่มีรูปร่างป้อม แบนข้างเล็กน้อย ส่วนหัวลาด ปากมีขนาดเล็ก มีหนวดสั้น 2 คู่ ครีบหลังค่อนข้างยาว ครีบหางเป็นเว้าแฉกลึก สีลำตัวมีสีน้ำตาลคล้ำอมทองหรือน้ำตาลอ่อน ท้องสีจาง บางตัวอาจมีสีสัน ปลาตัวผู้ในฤดูผสมพันธุ์จะมีตุ่มสิวขึ้นบริเวณใบหน้า และครีบอก ผสมพันธุ์และวางไข่ได้ทุกฤดูโดยวางติดกับพืชน้ำ
 
ปลาไนมีขนาดโตเต็มที่ได้มากกว่า 1.5 เมตร หนักกว่า 134 ปอนด์ 7 ออนซ์ หรือ 60 กิโลกรัม<ref>[http://forum.khonkaenlink.info/index.php?topic=17168473.0 ฮือฮา"ไทยแลนด์ได้หน้า"ฝรั่งจับปลาคาร์พยักษ์ทุบสถิติโลกได้ ที่จว.กระบี่ จาก [[http://www.khaosod.co.th]]]</ref> และสามารถวางไข่ได้ถึง 1 แสนฟอง ชอบอาศัยรวมเป็นฝูงในแหล่งน้ำไหลเชี่ยว และสามารถปรับตัวได้ทุกสภาพแหล่งน้ำ แต่จะไม่วางไข่ในแหล่งน้ำนิ่ง เป็นปลาพื้นเมืองของประเทศจีนตะวันตกและภูมิภาค[[ยุโรปตะวันออก]] ปลาไนมีชื่อเรียกใน[[ภาษาจีนแต้จิ๋ว|ภาษาแต้จิ๋ว]]ว่า '''หลีฮื้อ''' ([[อักษรจีนตัวเต็ม|จีนตัวเต็ม]]: 鯉魚) (ใน[[ภาษาไทย]]เรียกรวมกับปลาชนิดอื่นที่มีความใกล้เคียงกันว่า ปลาจีน) นิยมบริโภคด้วยการปรุงสด จัดเป็นปลาที่มีรสชาติดี เนื้อนุ่ม อร่อย และมีราคาแพง แต่ในบางภูมิภาค เช่น [[ออสเตรเลีย]] ปลาไนได้ถูกนำเข้าและถูกปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาต้ จนแพร่ขยายพันธุ์กระทบต่อสัตว์น้ำพื้นเมืองเป็น[[ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น|เอเลี่ยนสปีชีส์]] มีฉายาเรียกว่า "กระต่ายแม่น้ำ" (River Rabbit)
 
==การรับประทาน==
ปลาไนมีชื่อเรียกใน[[ภาษาจีนแต้จิ๋ว|ภาษาแต้จิ๋ว]]ว่า '''หลีฮื้อ''' ([[อักษรจีนตัวเต็ม|จีนตัวเต็ม]]: 鯉魚) (ใน[[ภาษาไทย]]เรียกรวมกับปลาชนิดอื่นที่มีความใกล้เคียงกันว่า ปลาจีน) นิยมบริโภคด้วยการปรุงสด จัดเป็นปลาที่มีรสชาติดี เนื้อนุ่ม อร่อย และมีราคาแพง
 
ในประเทศไทยถูกนำเข้าโดย[[ชาวจีน]]ที่เดินทางมาทางเรือ ในปี [[พ.ศ. 2455]] เพื่อเป็นอาหาร และได้ถูกเลี้ยงครั้งแรกในพื้นที่แถบ[[กรุงเทพมหานคร]]และปริมณฑล
 
ปลาไน เป็นปลาที่มีความเชื่อของชาวจีนและชาวญี่ปุ่นว่า เมื่อได้รับประทานแล้วจะพบกับความเป็นสิริมงคล เป็นสัญลักษณ์ของความก้าวหน้าและแข็งแกร่ง ที่ประเทศญี่ปุ่นมีฟาร์มเลี้ยงปลาไนที่ขึ้นชื่อที่สุด อยู่ที่เมือง[[อุกิฮะ]] [[จังหวัดฟุกุโอกะ]] เนื่องจากมีแหล่งน้ำที่ใสสะอาด เหมาะแก่การอยู่อาศัยของปลาไน โดยเปิดให้น้ำจากแม่น้ำไหลเข้าบ่อเลี้ยง น้ำที่ใช้เลี้ยงจะวนตลอดเพื่อให้ปลาว่ายทวนน้ำเหมือนในธรรมชาติ เนื้อของปลาไนเหมาะกับมารดาที่มีลูกอ่อน เมื่อได้รับประทานแล้วจะช่วยในการบำรุงน้ำนม<ref>{{cite web|url=http://shows.ch7.com/detail/58927/%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B8%9F_%E0%B9%80%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%99_%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%A1_%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%9F_%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%96%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD_%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87.html|title= “กอล์ฟ-เฟิร์น” พาชิม “ปลาคาร์ฟ” วัตถุดิบแห่งความเชื่อ ของชาวญี่ปุ่น|date=22 January 2014|accessdate=4 April 2014|publisher=เชพกระทะเหล็กประเทศไทย}}</ref>
== ปลาสวยงาม ==
''ดูบทความหลักที่ [[ปลาแฟนซีคาร์ป]]''
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ปลาไน"