ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaSearch
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
| ชื่อ = วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา | ภาพ =
| ชื่ออังกฤษ = Management for Development College
| ชื่อย่อ = UTSU-MDC
| คำขวัญ = ปัญญา จริยธรรม นำการพัฒนา
| ตำแหน่งหัวหน้า = ผู้อำนวยการ
| หัวหน้า = [[นายดร.ศาสดา อำพล ทิมาสารวิริยานุพงศ์]]
| สีประจำคณะ = แดง
| ที่ตั้ง = [[133]] [[อาคารซีโนบริต]] [[ถนนวิภาวดีรังสิต]] [[แขวงสามเสนใน]] [[เขตพญาไท]] [[กรุงเทพ]] [[10400]]
| เว็บไซต์ = [http://wwwbkk.u-mdcumdc.intsu.th/ www.u-mdc.inac.th]
}}
 
'''วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา''' [[มหาวิทยาลัยทักษิณ]] (UํTSU-MDC)
*ที่ทำการใหญ่ 133 อาคารซีโนบริต ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพ 10400
*ที่ทำการย่อยมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา 140 หมู่ 4 ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ชั้น 1 ตึกคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
 
== ประวัติการก่อตั้ง U-MDC ==
วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา (U-MDC) มหาวิทยาลัยทักษิณ ได้รับการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยทักษิณ ในการประชุมครั้งที่ 8/2549 วันที่ 28 ตุลาคม 254 9 และก่อตั้ง เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2550 โดยมีรองศาสตราจารย์ภายใต้ชื่อ ดร.สนธิ เตชานันท์เป็นผู้รักษาการแทนผู้อำนวยการวิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา ต่อมามีผู้อำนวยการวิทยาลัยคนปัจจุบันและผู้อำนวยการคนแรกคือมหาวิทยาลัยทักษิณ (ดร.จรินManagement ศิริfor Development College, Thaksin University) ได้เล่าให้ฟังมีชื่อย่อว่า TSU-MDC
วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา เป็นส่วนงานวิชาการหนึ่งของมหาวิทยาลัยทักษิณ มีฐานะเทียบเท่าคณะ อยู่ภายใต้การกำกับของมหาวิทยาลัย โดยเป็นหน่วยงานหารายได้ที่พึ่งพางบประมาณจากรายได้ของตนเองทั้งหมด มีความคล่องตัวทางการบริหารจัดการมากกว่าส่วนงานอื่น ๆ ของมหาวิทยาลัยพอสมควร
ปัจจุบันวิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มีบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ กับหน่วยงานชั้นนำหลายแห่งของประเทศไทย อาทิเช่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, บริษัทการบินไทย จำกัด มหาชน, กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน และกระทรวงกลาโหม
“จุดเริ่มต้นเกิดขึ้นเมื่อปี 2544 กระผมในฐานะอาจารย์ประจำคณะภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก ได้ขอทุนพัฒนาบุคลากรจากมหาวิทยาลัยทักษิณ เพื่อไปเรียนต่อปริญญาเอกสาขาการวางแผนและพัฒนาชนบท คณะธุรกิจการเกษตร ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ในขณะที่เรียนอยู่ปีสุดท้ายของปริญญาเอกประมาณปี 2547 ได้ทราบข่าวว่า รศ.ดร. สมบูรณ์ ชิตพงษ์ ซึ่งเป็นอธิการบดีในขณะนั้นมีนโยบายนำมหาวิทยาลัยทักษิณออกนอกระบบการศึกษาภายใน 2 ปีอย่างแน่นอน ทั้งได้แจ้งให้ทุกหน่วยงานในมหาวิทยาลัยทักษิณได้เตรียมรับมือในการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ที่จะมีขึ้น เพราะมหาวิทยาลัยจะต้องสามารถเลี้ยงตัวเองได้ โดยรัฐบาลจัดงบประมาณสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยบริหารจัดการกันเอง ในขณะที่กระผมเรียนวิชาการวางแผนและพัฒนาทราบดีว่าอนาคตการศึกษาของประเทศไทยจะเป็นอย่างไร จึงได้คิดแผนงานที่จะพัฒนาคณะที่ตัวเองสังกัดอยู่ โดยเสนอโครงการความร่วมมือทางวิชาการไปยังกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เพื่อผลิตบัณฑิตให้กับหน่วยงานท้องถิ่นในสาขาการปกครองท้องถิ่น และโครงการฝึกอบรมหลายหลักสูตร โดยนำเรื่องนี้เข้าสู่ฝ่ายวิชาการของมหาวิทยาลัย แต่ได้รับการคัดค้านจากรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการในขณะนั้นว่าไม่เหมาะสมในการเปิดหลักสูตรดังกล่าว ในขณะที่กระผมมีแนวความคิดเพื่อหาช่องทางสร้างงานใหม่รองรับการออกนอกระบบของมหาวิทยาลัยในอนาคต จึงได้ลัดขั้นตอนให้อธิการบดีลงนามในหนังสือแสดงความจำนงความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยทักษิณกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นใน 2 เรื่องที่กล่าวมา โดยรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและคณบดีที่กระผมสังกัดไม่ทราบ (วันนี้ถ้าเรื่องนี้ถูกสอบสวนในระบบราชการ ผมมีความผิด เพราะลัดขั้นตอน)
ต่อมาในปี 2548 กระผมได้รายงานตัวกลับมาทำงานในคณะเดิม เป็นรองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา จึงได้ผลักดันโครงการความร่วมมือทางวิชาการกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย กระทั่งได้รับอนุมัติให้มหาวิทยาลัยทักษิณเปิดปริญญาตรี สาขาการปกครองท้องถิ่นร่วมกับมหาวิทยาลัยอื่นอีกหลายมหาวิทยาลัยพร้อมกันนั้นก็ได้จัดทำหลักสูตรการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอีก 2 หลักสูตร ซึ่งทั้ง 2 โครงการได้เปิดทำการเรียนการสอนและฝึกอบรมในปีเดียวกันนั้นเอง ขณะเดียวกับที่คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งเป็นคณะเก่าแก่ การเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างเชื่องช้า ผู้บริหารบางส่วนไม่เห็นด้วยในแนวคิด กระผมจึงได้ปรึกษากับรองอธิการบดี วิทยาเขตสงขลา คือ อาจารย์มนตรี สังข์มุสิกานนท์ และอธิการบดีคนใหม่ซึ่งมารับช่วงต่อจากอธิการบดีคนเก่า (รศ.ดร.สมบูรณ์ ชิตพงษ์) คือ รศ.ดร.สมเกียรติ สายธนู ถึงแนวทางการสร้างหน่วยงานใหม่ขึ้นมาเพื่อจะได้เป็นต้นแบบในการเตรียมความพร้อมการออกนอกระบบ กระผมได้เขียนโครงการและแผนงานพร้อมระเบียบและวิธีการบริหารจัดการเสนอต่อมหาวิทยาลัยในปี 2549 สุดท้ายได้รับการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยทุกอย่าง โดยการสนับสนุนของอธิการบดีและรองอธิการบดี วิทยาเขตสงขลา และโดยการตัดสินใจของสภามหาวิทยาลัยที่มีศ.ดร.สุจินต์ จินายน เป็นนายกสภาฯ เป็นผู้ฟันธงให้เกิดวิทยาลัยใหม่นี้อย่างสง่างาม
เมื่อได้รับอนุมัติการจัดตั้งวิทยาลัยแล้ว สภามหาวิทยาลัยทักษิณได้มีมติแต่งตั้งให้กระผมซึ่งในขณะนั้น ดำรงตำแหน่งเป็นรองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนาให้มาทำหน้าที่รักษาการผู้อำนวยการวิทยาลัย โดยมีการดำเนิน ภายใต้ชื่อ วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ (Thaksin University - Management for Development College) มีตัวย่อว่า U-MDC
จากนั้นได้วางกรอบงานเพื่อแสวงหาความร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานต่างๆ เช่น บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวเชียงใหม่ และหน่วยงานอื่นที่มีศักยภาพทางด้านบุคลากรและการเงิน โดยเป้าหมายหลักไม่ต้องการรับเงินงบประมาณจากมหาวิทยาลัย (โดยหลักการแล้วแม้จะทำเรื่องขอก็ไม่ได้ เพราะ U-MDC ไม่ได้อยู่ในแผนพัฒนามหาวิทยาลัย) รายได้ของวิทยาลัยเริ่มแรกมาจากการบริหารจัดการค่าลงทะเบียนหน่วยกิตของนิสิตในโครงการความร่วมมือทางวิชาการที่ร่วมกับ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นที่เปิดไปก่อนหน้านี้แล้ว
ขณะนั้นกระผมได้ขออนุตตัวเองมาราชการและจัดตั้งสำนักงานวิทยาลัย U-MDC ที่กรุงเทพฯ โดยไม่ของบประมาณและบุคลากรจากมหาวิทยาลัยเดิม เริ่มต้นจ้างเจ้าหน้าที่พิเศษ 2-3 คนมาทดลองงาน 3-4 เดือน ค่าเช่าอาคารสถานที่และวัสดุครุภัณฑ์ก็ใช้เครดิต กว่าจะได้จ่ายก็เมื่อได้ทำ MOU กับบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และสำนักงานตำรวจแห่งชาติแล้ว จากนั้นจึงได้ขยายสาขา และจัดจ้างบุคลากรเพิ่มขึ้นตามลำดับ
จนกระทั่งในปี 2550-2551 ได้ขยายศูนย์ไปทั่วประเทศถึง 16 ศูนย์ และสร้างความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในต่างประเทศถึง 6 แห่ง ใน 4 ประเทศ ได้แก่ สถาบันการศึกษาอิสลามแห่งรัฐเมืองบันดาอาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย, มหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์ เมืองหลวงพระบาง มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว เมืองเวียงจันทน์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, Florida International University เมืองไมอามี่ รัฐฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกา, มหาวิทยาลัย YZNU กรุงปักกิ่ง และมหาวิทยาลัยยูนนาน นอร์มอล ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
หลังจากนั้นก็ได้ทำความร่วมมือทางวิชาการกับอีกหลายหน่วยงาน ด้วยการพัฒนาศักยภาพได้อย่างรวดเร็วของ U-MDC จึงได้เปิดสอนโครงการปริญญาเอกสาขารัฐประศาสนศาสตร์ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ภายในปีเดียวมีผู้เรียนทั้งหมดกว่า 50 คน
ซึ่งในการดำเนินกิจกรรมของวิทยาลัย U-MDC ภายใต้วิธีคิดใหม่ทำใหม่ว่า คิดนอกกรอบ กล้าเปลี่ยนแปลง มีวิสัยทัศน์ และบูรณาการนำไปสู่การจัดการเพื่อการพัฒนา วิทยาลัย U-MDC จึงคิดนอกกรอบก่อนที่มหาวิทยาลัยจะออกนอกระบบในปี 2549 วิทยาลัยนี้จึงเป็นหน่วยงานแรกของมหาวิทยาลัยทักษิณที่ออกนอกระบบก่อนจะมาตั้งสำนักงานในกรุงเทพฯ และศูนย์เครือข่ายต่างๆ ทั่วประเทศทุกภูมิภาค
วันนี้ของวิทยาลัย U-MDC ประกอบด้วยบุคลากรประจำ และบุคลากรพิเศษกว่า 300 คน มีนิสิตนักศึกษาร่วม 3,000 คน ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมไปแล้วหลายพันคน และกำลังขยายการทำความร่วมมือไปยังหน่วยงานอื่น เช่น กระทรวงกลาโหม ซึ่งจะดำเนินการในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 เพื่อพัฒนาบุคลากรของกระทรวงกลาโหม 3 เหล่าทัพ คือ กองทัพเรือ กองทัพบก และกองทัพอากาศ เช่นเดียวกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และการบินไทย
 
โครงการความร่วมมือการผลิตบัณฑิตกับมหาวิทยาลัย YZNU ประเทศจีน ซึ่งเป็นโครงการให่ที่สำคัโครงการหนึ่งของวิทยาลัย ในปี 2552 คือความร่วมมือผลิตบัณฑิตสาขาการค้าระหว่างประเทศและทูตพาณิชย์ โดยที่ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะทำหลักสูตรการเรียนการสอนร่วมกัน พร้อมกับการเตรียมการจัดตั้งหน่วยงานพิเศษรองรับเพื่อทำการค้าอย่างจริงจังระหว่างสองประเทศ เป้าหมายคือการแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตร และเกษตรแปรรูป รายได้จากส่วนนี้จะนำมาสนับสนุนผู้เรียนของทั้งสองฝ่ายเท่าๆ กัน
สำหรับโครงการแผนพัฒนาวิทยาลัยใน 10 ปีข้างหน้าได้วางเป้าหมายให้ U-MDC เป็นวิทยาลัยต้นแบบของการบริหารจัดการแนวใหม่ โดยใช้ทรัพยากรบุคคลเป็นทุนในการหารายได้เพื่อเลี้ยงตัวเองทั้งระบบ แทนการพึ่งพางบประมาณแผ่นดินจากรัฐบาล ในขณะเดียวกันให้ความสำคั­กับหลักสูตรการพัฒนาคนแบบต่อยอดนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้จริง โดยแบ่งภาคในการทำความร่วมมือในระดับท้องถิ่น เพื่อให้เป็นวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยท้องถิ่น โดยระดมความคิดเห็นจาก อบจ. อบต. และเทศบาล ในการทำหลักสูตรและผลิตบัณฑิต รวมทั้งหลักสูตรฝึกอบรมที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ซึ่งจัดแบ่งการบริหารจัดการตามภูมิภาคออกเป็น 5 กลุ่มด้วยกัน คือ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือ มี อบจ. อบต. และเทศบาลในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และแม่ฮ่องสอน ร่วมกันดูแลวิทยาลัย U-MDC ในระดับท้องถิ่น กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีจังหวัดอุดรธานีเป็นจุดศูนย์กลาง เลย หนองคาย และสกลนคร อบจ. อบต. และเทศบาลเป็นผู้ดูแลศูนย์ U-MDC หรือวิทยาลัยท้องถิ่นของ U-MDC ประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางมีจังหวัดลพบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท โดยมี อบจ. อบต. และเทศบาลเป็นผู้ดูแล U-MDC ภาคตะวันออกมีจังหวัดสระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อบจ. อบต. และเทศบาลเป็นคนดูแล จังหวัดภาคใต้ มีจังหวัดสงขลา พัทลุง ตรัง สตูล เป็นผู้ดูแล จังหวัดหรือท้องถิ่นเหล่านี้จะต้องทำการเชื่อมโยงกับต่างประเทศ 4 ประเทศคือ ศูนย์เชียงใหม่ประสานงานกับลาว และพม่า ศูนย์อุดรธานีรับผิดชอบลาวและเวียดนาม กลุ่มจังหวัดภาคกลางรวมถึงสมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงครามดูแลอุตสาหกรรมหรือนิคมอุตสาหกรรม เพื่อเป็นการฝึกอบรมสำหรับบุคลากรที่ต้องการทำงานในโรงงานของี่ปุ่น จีน เกาหลี และฟิลิปปินส์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นศูนย์ ประสานงานประเทศกัมพูชา และประเทศเวียดนาม ส่วนกลุ่มภาคใต้คือกลุ่มสงขลาเป็นศูนย์ประสานงานของประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ซึ่งแต่ละศูนย์ของกลุ่มจังหวัดเหล่านี้จะต้องมีหลักสูตรการค้าชายแดน และมีร้านค้าชายแดนที่เกิดจากการพัฒนาของ U-MDC
วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา U-MDC ซึ่งครบ 2 ปีในวันที่ 3 มีนาคม 2552 นี้ ประกอบด้วยศูนย์การศึกษาภายในประเทศ 16 ศูนย์ ศูนย์การศึกษาในต่างประเทศ 4 ประเทศ 6 ศูนย์ มีอาจารย์ พนักงานประจำ และวิทยากรพิเศษกว่า 300 ท่าน นักศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก รวม 3,000 กว่าคน ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรม และอยู่ในช่วงการฝึกอบรมตั้งแต่ปี 2550 ถึงสิ้นปี 2552 ประมาณ 30,000 คน”
วันนี้ของวิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา คือ วันเริ่มต้นของการจัดการศึกษาแนวใหม่โดยพัฒนาคน พัฒนางาน นำไปสู่การพัฒนาประเทศแนวใหม่ทั้งสิ้น
 
== วิสัยทัศน์ ==
เส้น 55 ⟶ 29:
 
 
:<big>วิสัยทัศน์ วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา UTSU-MDC</big>
 
::วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนาเป็นสถาบันการศึกษาด้านการจัดการเชิงบูรณาการชั้นนำ มุ่งสู่ความเป็นเลิศในอาเซียน
::จัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ และมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานสากลและเป็นที่ยอมรับขององค์กรโดยทั่วไป ทั้งภายในและภายนอกประเทศ
 
== พันธกิจ ==
เส้น 80 ⟶ 54:
*โครงการบริหารร้านค้าปลีก U-MDC Shop
 
*โครงการร้านกาแฟ ร่วมกับโครงการหลวง UTSU-MDC Coffee Home
 
*โครงการตลาดสินค้า
เส้น 203 ⟶ 177:
วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ (U-MDC) ที่ทำการใหญ่
133 อาคารซีโนบริต ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ 0-26442657-8282, 0-2644-84489999
โทรสาร 0-26442657-85509994 , 0-12657-9995
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://wwwbkk.u-mdcumdc.comtsu.ac.th วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ]
 
{{หน่วยงานในมหาวิทยาลัยทักษิณ}}