ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชาย เมืองสิงห์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ซวากสท์ ชาเกิล (คุย | ส่วนร่วม)
Plong (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล นักแสดง
{{ต้องการอ้างอิง}}
| bgcolour =
| name = ชาย เมืองสิงห์
| image = ชาย เมืองสิงห์.jpg
| imagesize =
| caption = สมเศียร พานทอง
| birthname = สมเศียร พานทอง
| nickname =
| birthdate = [[24 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2482]]
| location = [[ตำบลบางมัญ]] [[อำเภอเมืองสิงห์บุรี]] [[จังหวัดสิงห์บุรี]]
| deathdate =
| deathplace =
| othername =
| occupation = [[นักร้อง]]
| yearsactive =
| spouse =
| homepage =
| notable role =
| เครื่องดนตรี =
| แนวเพลง = [[เพลงลูกทุ่ง]]
| ค่าย =
| ส่วนเกี่ยวข้อง =
| academyaward =
| emmyaward =
| tonyaward =
| ตุ๊กตาทอง =
| สุพรรณหงส์ =
| ชมรมวิจารณ์บันเทิง =
| โทรทัศน์ทองคำ =
| เมขลา =
| imdb_id =
| thaifilmdb_id =
}}
 
'''ชาย เมืองสิงห์''' หรือชื่อจริง '''สมเศียร พานทอง''' เป็น[[ศิลปินแห่งชาติ]] สาขาศิลปะการแสดง นักร้อง-นักแต่งเพลงลูกทุ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2538 ชาย เมืองสิงห์ เป็นนักร้องที่มีลีลาการร้องเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง และแต่งเพลงได้เหมือนน้ำตกที่ไหลพรั่งพรูจากหน้าผาไม่มีวันเหือดแห้ง เพลงที่สร้างชื่อเสียงให้แก่ '''ชาย เมืองสิงห์''' คือ '''“เพลงมาลัยดอกรัก”'''และอีกมากมายหลายเพลง นอกจากนั้นเขาก็ยังได้ประพันธ์เพลงลูกทุ่งเอาไว้ประมาณ 1,000 เพลง ซึ่งก็มีทั้งที่เอาไว้สำหรับขับร้องเองและให้ผู้อื่นร้องมากกว่า และหลายเพลงก็ติดอันดับยอดนิยม เพลงลูกทุ่งของชาย เมืองสิงห์ มีเสน่ห์และแสดงความเป็นลูกทุ่งที่ชัดเจนเป็นเอกลักษณ์ด้วยการผสมผสานเสียงดนตรีไทยและดนตรีพื้นบ้าน กลายเป็นเพลงลูกผสมพันทางที่ฟังสนุกสนานกลมกลืนได้อย่างไพเราะ ด้วยความเป็นอัจฉริยะและความรู้ความสามารถ ทำให้ได้รับการขนานนามให้เป็น '''“ลูกทุ่งสามสมัย”''' คือ คงความยอดนิยมไว้ได้ทุกยุคทุกสมัย ชาย เมืองสิงห์ ได้รับรางวัลเกียรติคุณในฐานะศิลปินดีเด่นหลายรางวัล มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่ยอมรับในวงการลูกทุ่งเป็นอย่างยิ่ง
 
เส้น 9 ⟶ 42:
พอถึงปี 2504 ชาย เมืองสิงห์ มีโอกาสพบกับครู[[มงคล อมาตยกุล]] หัวหน้า[[วงจุฬารัตน์]] จึงได้ขอสมัครเป็นนักร้องในวง แต่ครูมงคลยื่นเงื่อนไขว่าจะรับเขามาร่วมวง ก็ให้ไปแหล่สดๆแข่งกับ[[พร ภิรมย์]] นักร้องดังในวงจุฬารัตน์ และนักร้องลูกทุ่งชั้นแนวหน้าของประเทศในยุคนั้น ซึ่งชาย เมืองสิงห์ ก็ฝ่าด่านหินนั้นมาได้ด้วยการมาแหล่สดๆออกอากาศโต้กับพร ภิรมย์ ซึ่งด้วยน้ำเสียงที่แปลกเป็นเอกลักษณ์ และไหวพริบปฏิภาณที่ยอดเยี่ยมทำให้เขาได้รับการชื่นชมจากแฟนเพลงที่ฟังรายการ จนครูมงคล ต้องยอมรับเขาเข้าร่วมวงตามที่ประกาศเอาไว้ รวมทั้งตั้งชื่อให้เขาว่าชาย เมืองสิงห์ ก่อนจะผลักดันให้มีโอกาสบันทึกเสียงผลงานเพลงของตัวเอง ซึ่งชาย เมืองสิงห์ ก็ไม่ได้ทำให้ใครผิดหวัง เมื่อเขามีชื่อเสียงขึ้นมาอย่างรวดเร็ว จากคุณสมบัติที่กล่าวมาแล้ว บวกกับความสามารถด้านการแสดงหน้าเวที ขณะเดียวกัน จากหน้าตาที่หล่อเหลาไม่เบาของเขา จึงทำให้เขาได้รับฉายาว่า “[[อเลน เดอลอง]] เมืองไทย” ต่อมา คณะตลกเมืองไทยก็ตั้งฉายาให้เขาว่า “ แมน ซิตี้ไลอ้อน “ ตามชื่อที่ถอดความมาจากภาษาอังกฤษ และฉายานี้ก็ยิ่งทำให้เขาเป็นที่ชื่นชอบของผู้คนมากขึ้นไปอีก แม้ในกลุ่มคนที่ไม่ฟังเพลงในแนวของเขา
 
ชาย เมืองสิงห์ อยู่กับวงจุฬารัตน์ 5 ปี พอถึงปี 2510 ก็ออกมารับงานร้องเพลงทั่วไปเอง ในปีต่อมาก็ตั้งวงดนตรีเล็กๆชื่อ “วงหลังเขาประยุกต์ “ ต่อมาขยายวงและเปลี่ยนชื่อเป็น “ จุฬาทิพย์ “ เพื่อรำลึกถึงวงที่ทำให้เขาโด่งดัง ซึ่งในช่วงที่ทำวงนี้ ชาย เมืองสิงห์ ได้ปลุกปั้นให้ลูกวงของเขาโด่งดังขึ้นมาในระดับแนวหน้าในภายหลังหลายคน เช่น [[โชคดี พักภู่]] , [[เพชร โพธิ์ทอง]] , [[ระพิน ภูไท]] , [[ดี๋ ดอกมะดัน]] , [[ดู๋ ดอกกระโดน]] , [[สีหนุ่ม เชิญยิ้ม]] , [[หนุ่ม เมืองไพร]] , [[ดาวไทย ยืนยง]] , [[ถนอม จันทรเกตุ]]
 
== กลับมาอีกครั้ง ==
ชาย เมืองสิงห์ ทำวงอยู่ 10 ปี ก็ยุบวงไป เพราะมรสุมชีวิต ทั้งปัญหาครอบครัว และพ่อแม่เสียชีวิต เขาจึงห่างหายจากวงการเพลงไปนาน เมื่อผันตัวไปเป็นเกษตรกรทำไร่นาสวนผสมที่บ้านเกิดนานถึง 10 ปี จนได้รางวัลเกษตรกรดีเด่นของจังหวัด
ต่อมาเมื่อมีการจัดงาน[[กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย]]ครั้งที่ 1 ในปี 2532 ชาย เมืองสิงห์ ได้รับพระราชทานรางวัลจาก[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]]ถึง 4 รางวัล เขาจึงกลับเข้าสู่วงการเพลงลูกทุ่งไทยอีกครั้ง โดยมีการนำเอาทั้งเพลงเก่าและเพลงใหม่มาบันทึกเสียงจวบจนถึงทุกวันนี้ <ref>[http://www.baanbaimai.com/forum/index.php?topic=3748.0 ประวัติชาย เมืองสิงห์]</ref>
 
== แต่งเพลง ==