ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Wonton2ton (คุย | ส่วนร่วม)
Rotlink (คุย | ส่วนร่วม)
fixing dead links
บรรทัด 22:
ภายหลังจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลกยกฐานะขึ้นเป็น ''"มหาวิทยาลัยนเรศวร"'' เมื่อวันที่ [[29 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2533]] แล้ว การจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ได้ดำเนินการอีกครั้งในปี [[พ.ศ. 2536]] ซึ่งรัฐบาลในขณะนั้นมีนโยบายแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในส่วนภูมิภาค โดยจัดให้มีการผลิตแพทย์เพิ่มและกระจายแพทย์ลงสู่ส่วนภูมิภาคให้มากขึ้น รัฐบาลจึงศึกษาความเป็นไปได้ถึงความเหมาะสมของการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ขึ้นใหม่ในมหาวิทยาลัยภูมิภาค<ref name="ประวัติคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร">[http://www.med.nu.ac.th/2008/data/Index-history.php ประวัติคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร]</ref>
 
จากแนวทางดังกล่าว มหาวิทยาลัยนเรศวรได้เสนอความเห็นเกี่ยวกับการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ต่อ[[ทบวงมหาวิทยาลัย]] เมื่อวันที่ [[18 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2536]] โดยมีแนวทางที่จะใช้ทรัพยากรของมหาวิทยาลัยร่วมกับโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดภาคเหนือตอนล่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงได้ลงนามความร่วมมือการผลิตแพทย์ระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและมหาวิทยาลัยนเรศวรในปี [[พ.ศ. 2537]]<ref>[http://web.archive.org/20071212054603/www.budhosp.go.th/mec/index.php?option=com_content&task=blogcategory&id=18&Itemid=27 ประวัติ-ความเป็นมา ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก]</ref> หลังจากที่คณะรัฐมนตรีในขณะนั้นมีมติเห็นชอบให้[[กระทรวงสาธารณสุข]] ร่วมมือกับ[[ทบวงมหาวิทยาลัย]] จัดทำโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (The Collaborative Project to Increase Production of Rural Doctor-CPIRD)
 
คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เมื่อวันที่ [[18 มกราคม]] [[พ.ศ. 2537]]<ref name="ประวัติคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร"/> และในคราวเดียวกันนั้น คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการก่อสร้างอาคารศูนย์วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยมุ่งหวังให้เป็นสถานที่สำหรับการเรียนการสอนนิสิตในกลุ่ม[[วิทยาศาสตร์สุขภาพ]]ทั้งหมดของมหาวิทยาลัย และเพื่อเป็นโรงพยาบาลหลักของคณะสำหรับการเรียนการสอนของนิสิตแพทย์ต่อไปในอนาคต ซึ่งการก่อสร้างอาคารศูนย์วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพแล้วเสร็จและเริ่มเปิดให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2545]] ในช่วงแรกได้ใช้ชื่อว่า ''"สถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร"'' โดยเป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อมหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อความคล่องตัวในการบริหารงาน และต่อมาได้เข้ารวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของคณะแพทยศาสตร์ในปี [[พ.ศ. 2548]] พร้อมทั้งใช้ชื่อเป็น '''"[[โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร]]"'''<ref name="ประวัติโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร"/>
บรรทัด 58:
 
== ภาควิชา ==
ปัจจุบัน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรประกอบด้วยภาควิชาทั้งสิ้น 15 ภาควิชา<ref name="คู่มือนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีการศึกษา 2551"/><ref>[http://web.archive.org/20080509163734/www.med.nu.ac.th/anniversary/index-manage-edu2.html การจัดการศึกษาในหลักสูตรต่างๆ ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร]</ref><ref>[http://office.nu.ac.th/webapp/tools/meeting1/app/ การขออนุมัติเปลี่ยนแปลงชื่อภาควิชาและจัดตั้งภาควิชาเพิ่มเติมของคณะแพทยศาสตร์]</ref>ดังต่อไปนี้
{{บน}}
* ภาควิชา[[กุมารเวชศาสตร์]]<ref>[http://www.med.nu.ac.th/2008/department/Index-main.php?depart=3 ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร]</ref>
บรรทัด 144:
[[ไฟล์:NuHospital.jpg|330px|thumb|พระราชานุสาวรีย์ [[สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก]] และ[[สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี]] บริเวณด้านหน้าโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร]]
 
จากการที่มหาวิทยาลัยนเรศวรได้วางเป้าหมายให้เป็น ''"มหาวิทยาลัยวิจัย (Research University) "''<ref>[http://web.archive.org/20051228201537/www.nu.ac.th/ab-goal.htm เป้าหมายในการบริหารมหาวิทยาลัยนเรศวร]</ref> ดังนั้น คณะแพทยศาสตร์จึงสนับสนุนและส่งเสริมให้อาจารย์แพทย์ นิสิตแพทย์ รวมถึงบุคลากรของคณะในการทำวิจัย โดยได้มีการจัดตั้ง '''"งานวิจัย"''' ในสังกัด '''"ฝ่ายประกันคุณภาพและวิจัย"''' ภายใต้การกำกับของรองคณบดีและผู้ช่วยคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพและวิจัย<ref>[http://student.nu.ac.th/tinnakornh/research/org.php โครงสร้างองค์กรงานวิจัย ฝ่ายประกันคุณภาพและวิจัย]</ref> เพื่อเป็นหน่วยงานในการบริหาร ประสานงานและพัฒนางานวิจัยของคณะ<ref>[http://student.nu.ac.th/tinnakornh/research/direc.php นโยบาย ยุทธศาสตร์และภารกิจการวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร]</ref>
 
ผลงานวิจัยของอาจารย์แพทย์และบุคลากรของคณะที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ระดับชาติ รวมทั้งที่ได้รับการเผยแพร่ในที่ประชุม สัมมนา ระดับนานาชาติและระดับชาตินับตั้งแต่ [[พ.ศ. 2544]] จนถึงปีงบประมาณปัจจุบัน ([[พ.ศ. 2554]]) มีมากกว่า 170 ผลงาน<ref>[http://student.nu.ac.th/tinnakornh/research/shwres.php ผลงานวิจัย อาจารย์แพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร]</ref> โดยในปีงบประมาณ [[พ.ศ. 2554]] มีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่รวมทั้งสิ้น 19 ผลงาน<ref>[http://student.nu.ac.th/tinnakornh/research/shwres.php?Yr=2554 ผลงานวิจัย อาจารย์แพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีงบประมาณ 2554]</ref>
บรรทัด 167:
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรมีพื้นที่ในส่วนต่างๆ ดังนี้
 
; '''อาคารคณะแพทยศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์''' : อาคารคณะแพทยศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นอาคารรูปตัวยู สูง 5 ชั้น อยู่ด้านข้างกลุ่มอาคาร[[คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร|คณะเภสัชศาสตร์]] และด้านหน้าอาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินินาถ โดยอาคารนี้ได้รับงบประมาณผูกผันในการก่อสร้างในช่วงปีงบประมาณ [[พ.ศ. 2535]] - [[พ.ศ. 2541]]<ref name="อนุทินของการเป็นมหาวิทยาลัยนเรศวร"/> แต่เดิมอาคารทั้งหมดนั้นเป็นของคณะแพทยศาสตร์ แต่เมื่อทางมหาวิทยาลัยได้จัดตั้ง[[คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร|คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์]] เมื่อเดือน [[กันยายน]] [[พ.ศ. 2544]]<ref>[http://web.archive.org/20070512190958/www.medsci.nu.ac.th/History.asp ประวัติคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร]</ref> จึงได้โอนพื้นที่ส่วนใหญ่ของอาคารให้คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปัจจุบันคณะแพทยศาสตร์จึงเหลือพื้นที่ในฝั่งใต้ของอาคาร โดยเป็นที่ตั้งของภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว ศูนย์วิจัยและติดตามความเป็นธรรมทางสุขภาพ (ศธส.) สำนักงานกิจการนิสิตและสร้างเสริมสุขภาพ ห้องออกกำลังกายคณะแพทยศาสตร์ และสโมสรนิสิตคณะแพทยศาสตร์
 
[[ไฟล์:NUH1.jpg|350px|thumb|right| อาคารสิรินธร และอาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา 1 โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร ขณะดำเนินการก่อสร้าง ]]
 
; '''โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร''' : ประกอบด้วยอาคาร 3 หลัง<ref name="ประวัติโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร"/> ดังนี้
* ''อาคารสิรินธร'' เป็นอาคารโรงพยาบาล สูง 9 ชั้น โดยนอกจากเป็นอาคารบริการทางด้านการรักษาพยาบาลแล้ว ยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานคณบดี สำนักงานเลขานุการคณะ ภาควิชาต่างๆ อีก 12 ภาควิชา สำนักงานแพทยศาสตรศึกษา ศูนย์ต่างๆ ของคณะแพทยศาสตร์ และศูนย์นิติวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์<ref>[http://web.archive.org/20070823083400/www.medsci.nu.ac.th/siteforensic ศูนย์นิติวิทยาศาสตร์และหน่วยงานปฏิบัติการกลางและส่งเสริมงานวิจัย คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์]</ref>
* ''อาคารบริการ'' เป็นอาคารสูง 3 ชั้น ตั้งอยู่ด้านหลังโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร โดยเป็นที่ตั้งของภาควิชานิติเวชศาสตร์ หน่วยโภชนาการ หน่วยซักล้าง และศูนย์อาหาร
* ''อาคารรังสีรักษา'' ดำเนินการก่อสร้างระหว่างปี [[พ.ศ. 2555]] - [[พ.ศ. 2556]] เพื่อรองรับการบริการทางด้านรังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์ รวมทั้งเป็นหอผู้ป่วยสงฆ์อาพาธด้วย โดยเป็นอาคารสูง 2 ชั้น ตั้งอยู่ระหว่างอาคารสิรินธร และอาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา 2 (ที่ดินอาคารโภชนาการเดิม)