ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กระซู่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chale yan (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 78:
กระซู่มีพิสัยกระจัดกระจายเป็นวงกว้างมากกว่าแรดเอเชียชนิดอื่น ทำให้ยากต่อการอนุรักษ์สปีชีส์นี้ให้ได้ผล<ref name=Foose/> มีเพียงหกแห่งเท่านั้นที่มีกระซู่อยู่กันเป็นสังคมคือ อุทยานแห่งชาติบุกิต บาริสซัน ซลาตัน (Bukit Barisan Selatan) อุทยานแห่งชาติกุนนุง ลอุสเซร์ (Gunung Leuser) อุทยานแห่งชาติกรินจี เซอบลัต (Kerinci Seblat) และ อุทยานแห่งชาติวาย์ กัมบัส (Way Kambas) บนเกาะสุมาตรา [[อุทยานแห่งชาติทามันเนการา]]ในคาบสมุทรมาเลเซีย และ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตาบิน (Tabin) ใน[[รัฐซาบาห์]] [[ประเทศมาเลเซีย]]บนเกาะบอร์เนียว<ref name=Dinerstein/><ref name="Habitat loss">{{Cite book | author = Dean, Cathy | coauthors = Tom Foose | year = 2005 | chapter = Habitat loss | pages = 96–98 | editor = Fulconis, R. | title = Save the rhinos: EAZA Rhino Campaign 2005/6 | location = London | publisher = [[European Association of Zoos and Aquaria]] }}</ref>
 
ในประเทศไทยเองก็มีรายงานถึงการพบกระซู่ในหลายๆแห่งได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว [[อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน]] [[อุทยานแห่งชาติเขาสก]] [[เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง]] [[เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง|เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร]]<ref name="สารคดี" /> แต่ในปัจจุบันคาดว่ายังมีกระซู่หลงเหลืออยู่แค่ที่[[อุทยานแห่งชาติสันกาเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลาคีรี]]บริเวณป่าฮาลาบาลา<ref name="สารคดี" /><ref name="กองทุนสัตว์ป่าโลก" />แต่ก็ไม่มีการพบเห็นมานานแล้วทำให้กระซู่จัดเป็นสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติ (EW) แล้วในประเทศไทย<ref>ฐานข้อมูลชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามในประเทศไทย [http://chm-thai.onep.go.th/RedData/Default.aspx?GroupOf=MAMMAL กระซู่] ข้อมูลชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม</ref>
 
การวิเคราะห์ทางพันธุศาสตร์ในประชากรของกระซู่สามารถระบุเชื้อสายทางพันธุกรรมที่ต่างกันได้สามสาย<ref name= Morales/> [[ช่องแคบมะละกา|ช่องแคบระหว่างสุมาตราและมาเลเซีย]]ไม่เป็นอุปสรรคต่อกระซู่เหมือนกับภูเขาบารีซัน (Barisan) ดังนั้นกระซู่ในสุมาตราตะวันออกและคาบสมุทรมาเลเซียจึงมีความใกล้ชิดกันมากกว่ากระซู่ในอีกด้านของภูเขาในสุมาตราตะวันตก กระซู่ในสุมาตราตะวันออกและมาเลเซียแสดงความแตกต่างทางด้านพันธุกรรมเพียงเล็กน้อย ซึ่งหมายถึงประชากรไม่ได้แยกจากกันในสมัย[[ไพลสโตซีน]] อย่างไรก็ตามประชากรกระซู่ทั้งในสุมาตราและมาเลเซียที่มีความใกล้เคียงกันในทางพันธุกรรมมากจนสามารถผสมพันธุ์กันได้อย่างไม่เป็นปัญหา กระซู่ในบอร์เนียวนั้นต่างออกไปเป็นพิเศษว่าเพื่อการอนุรักษ์ความผันแปรของพันธุกรรมควรจะฝืนผสมข้ามกับเชื้อสายประชากรอื่น<ref name= Morales/> เมื่อเร็วๆนี้ มีการศึกษาการอนุรักษ์ความผันแปรของพันธุกรรมโดยศึกษาความหลากหลายของจีนพูล (gene pool) ในประชากรโดยการระบุบไมโครแซททัลไลท์ โลไซ (microsatellite loci) ผลทดสอบในเบื้องต้นพบว่าเมื่อเปรียบเทียบระดับของความหลากหลายในประชากร กระซู่นั้นมีความหลากหลายน้อยกว่าแรดแอฟริกาที่ใกล้สูญพันธุ์ แต่ความหลากหลายทางพันธุกรรมของกระซู่ยังคงต้องมีการศึกษาต่อไป<ref name=Scott04>{{Cite journal | author = Scott, C. | coauthors = T.J. Foose, C. Morales, P. Fernando, D.J. Melnick, P.T. Boag, J.A. Davila, P.J. Van Coeverden de Groot | year = 2004 | title = Optimization of novel polymorphic microsatellites in the endangered Sumatran rhinoceros (Dicerorhinus sumatrensis) | journal = Molecular Ecology Notes | volume = 4 | page = 194–196 | pages = 194 | doi = 10.1111/j.1471-8286.2004.00611.x}}</ref>
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/กระซู่"