ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาหรับ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดแม่แบบเรียงลำดับ
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
[[ไฟล์:Arab world.png|thumb|280px|กลุ่มประเทศอาหรับ]]
'''อาหรับ''' ({{lang-ar|<big>عربي</big>}}, ''ʿarabi'' พหูพจน์ <big>العرب</big> ''al-ʿarab'', {{lang-en|Arab}}) คือบุคคลกลุ่มบุคคลที่มีชาติพันธุ์ พูดภาษา หรือมีวัฒนธรรมที่เรียกว่า “อาหรับ”<ref>[http://lexicorient.com/cgi-bin/eo-direct.pl?hamas.htm Encyclopedia of the Orient]</ref><ref>Francis Mading Deng, ''War of Visions: Conflict of Identities in the Sudan '', Published 1995,
Brookings Institution Press, p. 405, via Google Books [http://books.google.com/books?id=iAPLHidx8MkC&pg=PA405&lpg=PA405&dq=definition+of+arabs&source=web&ots=H4z7bAsMBe&sig=6EMASoYXOzoWsTMBsAjDn1gucxg&hl=en]</ref>เป็นชนชาติหนึ่งที่อาศัยในบริเวณ[[คาบสมุทรอาหรับ]]ที่เป็นทะเลทราย รวมทั้งชนชาติที่พูดภาษาอาหรับในเอเชียตะวันตก และ[[แอฟริกาเหนือ]] ส่วนใหญ่นับถือ[[ศาสนาอิสลาม]] คำว่าอาหรับใน[[ตระกูลภาษาเซมิติก]]แปลว่า[[ทะเลทราย]]หรือผู้อาศัยอยู่ในทะเลทราย ส่วนใหญ่ดำรงชีพแบบเร่ร่อน จึงแปลคำว่าอาหรับว่าเร่ร่อนได้ด้วย
Brookings Institution Press, p. 405, via Google Books [http://books.google.com/books?id=iAPLHidx8MkC&pg=PA405&lpg=PA405&dq=definition+of+arabs&source=web&ots=H4z7bAsMBe&sig=6EMASoYXOzoWsTMBsAjDn1gucxg&hl=en]</ref>
 
ชาวอาหรับเป็นชาวเซมิติกเช่นเดียวกับ[[ชาวยิว]] จัดอยู่ในพวกคอเคเซอยด์ ในคัมภีร์[[ไบเบิล]]ภาคพันธสัญญาเก่ากล่าวว่าอับราฮัมมีลูกชาย 2 คน คนโตชื่ออิสไมส์หรืออิสมาอีลเป็นต้นตระกูลของชาวอาหรับ คนที่ 2 ชื่อไอแซกเป็นต้นตระกูลของชาวยิว ก่อนที่[[มุฮัมมัด]]จะประกาศศาสนาอิสลามชาวอาหรับจะอยู่กันเป็นเผ่า จงรักภักดีต่อเผ่าของตนมาก วิถีชีวิตของชาวอาหรับมีสองแบบ คือแบบอยู่เป็นหมู่บ้าน มีอาชีพค้าขายและทำการเกษตร อีกกลุ่มหนึ่งใช้ชีวิตแบบเร่ร่อนเรียกว่าเบดูอิน อาศัยอยู่ในกระโจมเพื่อเคลื่อนย้ายได้สะดวก ชาวเบดูอินกับชาวอาหรับที่ตั้งถิ่นฐานมักดูถูกกัน ไม่ลงรอยกัน หลังจากมุฮัมมัดประกาศศาสนาอิสลาม จึงเกิดความสามัคคีในหมูชาวอาหรับ ผู้นับถือศาสนาอิสลามในยุคแรกๆมักถูกกลั่นแกล้งและปราบปรามจึงเกิดการทำ[[ญิฮาด]]หรือการต่อสู้เพื่อศาสนาขึ้น
 
ปัจจุบันประเทศที่จัดว่าเป็นประเทศอาหรับเป็นสมาชิกของ[[สันนิบาตอาหรับ]] ในปัจจุบันมีสมาชิก 21 ประเทศ ได้แก่ [[แอลจีเรีย]] [[จิบูตี]] [[บาห์เรน]] [[อิรัก]] [[จอร์แดน]] [[คูเวต]] [[เลบานอน]] [[ลิเบีย]] [[มอริตาเนีย]] [[โมร็อกโก]] [[โอมาน]] [[ปาเลสไตน์]] [[กาตาร์]] [[ซาอุดิอาระเบีย]][[โซมาเลีย]] [[ซูดาน]] [[ซีเรีย]] [[ตูนีเซีย]] [[อียิปต์]] [[สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์]] และ[[เยเมน]] ในปัจจุบันยังมีความขัดแย้งในหมู่ชาวอาหรับอยู่ เช่น ปัญหาปาเลสไตน์ ความขัดแย้งทางศาสนา เช่น ความขัดแย้งระหว่างชาวอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์ในเลบานอน ความขัดแย้งระหว่างชาวอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลามนิกาย[[สุหนี่]]และ[[ชีอะห์]] เป็นต้น
 
[[ภาษาอาหรับ]]เป็นภาษาที่เก่ากว่า[[วัฒนธรรมอาหรับ]]ที่เริ่มเผยแพร่ใน[[ตะวันออกกลาง]]ตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 2 เมื่อ[[อาหรับคริสเตียน]]เช่น[[กาสนาวิยะห์]] [[ลักห์มิยะห์]] และ [[Banu Judham]] เริ่มโยกย้ายเข้าไปตั้งถิ่นฐานใน[[ทะเลทรายซีเรีย]]และในบริเวณ[[ลว้าน]]<ref>[http://www.witness-pioneer.org/vil/Books/SM_tsn/ch1s1.html Banu Judham migration]</ref><ref>[http://www-personal.umich.edu/~andyf/hist_arab.html#Linguistic%20Situation%20in%20Pre-Islamic%20Middle%20East Ghassanids Arabic linguistic influence in Syria]</ref> [[ภาษาอาหรับ]]เพิ่มความสำคัญมากขึ้นพร้อมกับการรุ่งเรืองของ[[ศาสนาอิสลาม]]ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ในการเป็นภาษาของ[[อัลกุรอาน]] และวัฒนธรรมอาหรับก็เริ่มเผยแพร่ออกไปพร้อมกับ[[การพิชิตดินแดนของมุสลิม|การขยายดินแดนของอิสลาม]]<ref>[http://islam.about.com/library/weekly/aa032300a.htm Islam and the Arabic language]</ref>
 
== อ้างอิง ==
* ศรีสุรางค์ พูลทรัพย์. อาหรับ ใน สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่: เอเชีย เล่ม 1 อักษร A-B ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กทม.ราชบัณฑิตยสถาน. 2539. หน้า 239 - 241
{{รายการอ้างอิง}}
 
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/อาหรับ"