ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Billinghurst (คุย | ส่วนร่วม)
Duplicate: File:09-2361a.jpgFile:Eleanor Roosevelt, King George VI, Queen Elizabeth in London, England - NARA - 195320.jpg Exact or scaled-down duplicate: [[:commons::File:Eleanor Roosevelt, King George VI, Queen...
เจ้าฟ้า พระบรมราชชนนี พระบรมศพ มกุฎราชกุมารี
บรรทัด 19:
}}
 
'''สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระบรมราชชนนี''' (''เอลิซาเบธ แองเจลา มาร์เกอริต โบวส์-ลีออน''; [[4 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2443]] - [[30 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2545]]) เป็นสมเด็จพระราชินีมเหสีใน[[สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร]] ตั้งแต่ [[พ.ศ. 2479]] จนกระทั่งพระองค์เสด็จสวรรคตในปี [[พ.ศ. 2495]] หลังจากการเสด็จสวรรคตของพระสวามีได้ดำรงพระอิสริยยศเป็น '''สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระบรมราชชนนี''' (Queen Elizabeth, The Queen Mother) เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนกับพระธิดาองค์โตคือ [[สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร|สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2]] ก่อนการเสด็จขึ้นครองราชสมบัติของพระสวามีในช่วงระหว่างปี [[พ.ศ. 2466]] จนถึงปี [[พ.ศ. 2479]] ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น[[ดัชเชสแห่งยอร์ก]] อีกทั้งยังทรงเป็น[[สมเด็จพระราชินีแห่งไอร์แลนด์]]และ[[จักรพรรดินีแห่งอินเดีย]]พระองค์สุดท้ายอีกด้วย ประชาชนนิยมเรียกพระองค์ท่านว่า ''ควีนมัม''
 
เอลิซาเบธซึ่งเกิดในครอบครัวตระกูลผู้ดี[[ชาวสก็อต]] ได้กลายมาเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงในปี [[พ.ศ. 2466]] เมื่อเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับเจ้าชายอัลเบิร์ต ดยุกแห่งยอร์ก พระราชโอรสพระองค์ที่สองใน[[สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร|สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5]] และ [[แมรีแห่งเทก สมเด็จพระราชินีแห่งสหราชอาณาจักร|สมเด็จพระราชินีแมรี]] ในฐานะที่เป็นดัชเชสแห่งยอร์ก พระองค์ พระสวามีและพระธิดาทั้งสองคือ เจ้าเจ้าฟ้าหญิงเอลิซาเบธ มกุฎราชกุมารี และ[[เจ้าเจ้าฟ้าหญิงมาร์กาเรต เคาน์เตสแห่งสโนว์ดอน|เจ้าเจ้าฟ้าหญิงมาร์กาเรต]] ได้ทรงปฏิบัติตนตามแบบครอบครัวชนชั้นกลาง ดัชเชสได้ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจด้านสาธารณชนต่างๆ มากมายและเป็นที่รู้จักกันว่า ''"ดัชเชสผู้แย้มยิ้ม"'' อันเป็นผลมาจากการปรากฏองค์ต่อหน้าสาธารณชนอยู่เป็นประจำ
 
ในปี [[พ.ศ. 2479]] เอลิซาเบธได้ทรงกลายเป็นพระราชินีอย่างไม่คาดฝันเมื่อ[[สมเด็จพระเจ้าเอดเวิร์ดที่ 8]] ได้ทรงสละราชสมับติอย่างกะทันหันเพื่อไปอภิเษกกับนาง[[วอลลิส ซิมป์สัน]] แม่ม่ายชาวอเมริกันที่เคยหย่าร้างแล้วสองครั้ง ในฐานะสมเด็จพระราชินี พระองค์ได้โดยเสด็จพระราชสวามีไปในการเสด็จเยือนทางการทูตยัง[[ประเทศฝรั่งเศส]]และ[[ทวีปอเมริกาเหนือ]]ในช่วงก่อนเกิด[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] ในระหว่างสงครามด้วยความแข้มแข็งเด็ดเดี่ยวที่ไม่ย่อท้ออย่างเห็นได้ชัดทำให้เกิดแรงสนับสนุนทางจิตใจต่อสาธารณชนอังกฤษอย่างมากเท่ากับการสำเหนียกรู้ถึงภาระหน้าที่ในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการชวนเชื่อ ได้ทำให้[[อดอล์ฟ ฮิตเลอร์]]กล่าวถึงพระองค์ว่าเป็น ''"ผู้หญิงที่อันตรายที่สุดในยุโรป"'' หลังจากสงครามพระพลานามัยของพระสวามีได้อ่อนแอลงและทรงกลายเป็นม่ายเมื่อพระชนมายุ 51 พรรษา
บรรทัด 27:
ในการเสด็จไปประทับยังต่างประเทศของพระเชษฐภรรดาและการเสวยราชสมบัติเป็นสมเด็จพระราชินีนาถของพระธิดาองค์ใหญ่ตอนพระชนมายุ 26 พรรษาเมื่อสมเด็จพระราชินีแมรีเสด็จสวรรคตในปี [[พ.ศ. 2496]] พระองค์ได้ทรงเป็นเชื้อพระวงศ์ที่อาวุโสที่สุดและกลายเป็นหัวหน้าครอบครัว ในช่วงปลายพระชนม์ชีพก็ยังทรงเป็นสมาชิกในพระราชวงศ์อังกฤษที่มีชื่อเสียงอยู่อย่างต่อเนื่อง ขณะที่สมาชิกพระราชวงศ์องค์อื่นๆ ตกอยู่ในการเสื่อมความนิยมจากสาธาณชนมากขึ้น
 
หลังจากการประชวรและการสิ้นพระชนม์ของเจ้าเจ้าฟ้าหญิงมาร์กาเรต พระธิดาองค์เล็กเพียงไม่นาน พระพลานามัยของพระองค์ก็แย่ลงเรื่อย ๆ และได้เสด็จสวรรคตในอีกหกสัปดาห์ให้หลัง ขณะมีพระชนมายุ 101 พรรษา
 
== ชีวิตในวัยเยาว์ ==
บรรทัด 64:
พระองค์เสด็จเยี่ยมสถานที่ต่างๆ ที่ตกเป็นเป้าทิ้งระเบิดจากกองทัพอากาศ[[นาซีเยอรมัน]]ในกรุงลอนดอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขตใน East End ใกล้กับเขต London's docks การเสด็จเยี่ยมในตอนแรกทำให้เกิดการต่อต้าน ผู้คนปาเศษขยะและหัวเราะเยาะใส่พระองค์ ส่วนหนึ่งมาจากการที่ฉลองพระองค์ด้วยอาภรณ์ที่หรูหราราคาแพง ซึ่งทำให้พระองค์ผิดแผกแปลกไปจากคนอื่นซึ่งทุกข์ทรมานจากการขาดแคลนสิ่งจำเป็นในการดำรงชีพอันเกิดจากสงคราม พระองค์ตรัสอธิบายว่าถ้าสาธารณชนมาเห็นพระองค์ก็จะแต่งตัวให้ดีที่สุดเช่นกัน ดังนั้นพระองค์จึงต้องตอบสนองไปในแบบเดียวกัน [[นอร์แมน ฮาร์ทเนลล์]] ช่างพระภูษาประจำราชวงศ์ได้ฉลองพระองค์ให้สมเด็จพระราชินีด้วยสีอ่อนหวานและไม่ใช้สีดำเลย เพื่อแสดงให้เห็นถึง "สายรุ้งแห่งความหวัง" เมื่อ[[พระราชวังบักกิงแฮม]]โดนระเบิดหลายครั้งระหว่างการทิ้งระเบิดหนักที่สุด พระองค์ตรัสว่า "ข้าพเจ้าดีใจที่พวกเราโดนทิ้งระเบิด มันทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกว่าสามารถมองเห็น East End อยู่ไม่ไกลนัก"
 
แม้ว่าพระมหากษัตริย์และพระราชินีทรงปฏิบัติพระราชภารกิจระหว่างวันที่พระราชวังบักกิงแฮม ในส่วนของความปลอดภัยและเหตุผลของครอบครัวทั้งสองพระองค์จึงประทับค้างคืนที่[[ปราสาทวินด์เซอร์]] (ประมาณ 20 ไมล์ หรือ 35 กิโลเมตรไปทางตะวันตกจากใจกลางกรุงลอนดอน) พร้อมกับเจ้าเจ้าฟ้าหญิงเอลิซาเบธ มกุฎราชกุมารีและเจ้าเจ้าฟ้าหญิงมาร์กาเรต สำนักพระราชวังต้องสูญเสียข้าราชบริพารจำนวนมากให้กับกองทัพและห้องในพระราชวังส่วนมากก็ถูกปิดลง
 
เนื่องจากอิทธิพลของสมเด็จพระราชินีต่อจิตใจชาวอังกฤษ กล่าวกันอดอล์ฟ ฮิตเลอร์เรียกพระองค์เป็น "ผู้หญิงที่อันตรายที่สุดในยุโรป" อย่างไรก็ดี ก่อนสงครามจะประทุขึ้น พระองค์และพระราชสวามี เช่นเดียวกับเสียงข้างมากในรัฐสภาและสาธารณชนอังกฤษได้สนับสนุนการยอมอ่อนข้อและ[[เนวิลล์ แชมเบอร์เลน]] ที่เชื่อในประสบการณ์จากสงครามโลกครั้งที่ 1 เห็นว่าจะต้องหลีกเลี่ยงสงครามไม่ว่าอย่างไรก็ตาม หลังจากการลาออกของแชมเบอร์เลน สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 ทรงขอให้[[วินส์ตัน เชอร์ชิลล์]]ตั้งรัฐบาลขึ้นมา แม้ว่าในตอนแรกพระองค์ยังทรงลังเลที่จะสนับสนุนเชอร์ชิลล์ แต่ทั้งพระองค์และสมเด็จพระราชินีก็ทรงเคารพนับถือและชื่นชอบในความกล้าหาญและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวของเขา
บรรทัด 70:
== สมเด็จพระราชชนนี (พ.ศ. 2495 - พ.ศ. 2545) ==
=== บทบาทใหม่ในความเป็นหม้าย ===
เมื่อวันที่ [[6 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2495]] สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 เสด็จสวรรคตด้วยพระโรคมะเร็งที่บัปผาสะ หลังจากนั้นไม่นานสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น "สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระบรมราชชนนี" พระอิสริยยศนี้ได้ถูกนำเอามาใช้เพราะว่าพระอิสริยยศตามธรรมดาของพระราชินีหม้ายในกษัตริย์องค์ก่อน "สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ" คล้ายคลึงกับพระอิสริยยศของพระธิดาองค์โต ซึ่งตอนนี้คือ [[สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร|สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2]] มากเกินไป พระองค์ทรงเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายว่า "สมเด็จพระบรมราชชนนี" หรือ "ควีนมัม"
 
พระองค์ทรงโทมนัสกับการเสด็จสวรรคตของพระราชสวามีเป็นอย่างมากและได้ทรงปลีกพระองค์ไปประทับยังสก็อตแลนด์ แต่กระนั้นหลังจากการพบปะกับนายวินส์ตัน เชอร์ชิลล์ นายกรัฐมนตรีแล้วก็ทรงเลิกเก็บพระองค์อยู่โดดเดี่ยวและเสด็จกลับมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจเช่นเดิม ในที่สุดพระองค์ก็ทรงงานมากมายในฐานะพระราชชนนีอย่างที่เคยทรงกระทำในสมัยเป็นพระราชินี ในช่วงเดือนกรกฎาคม [[พ.ศ. 2496]] พระองค์เสด็จเยือนต่างประเทศเป็นครั้งแรกตั้งแต่งานพระราชพิธีศพของพระราชสวามีไปในการวางฐานเสาหินที่เมือง Mount Pleasant ซึ่งเป็นที่ตั้งของ[[มหาวิทยาลัยซิมบับเว]]ในปัจจุบัน
บรรทัด 76:
สมเด็จพระราชินีหม้ายยังทรงควบคุมงานบูรณปฏิสังขรณ์[[ปราสาทเมย์]]ที่ตั้งอยู่ไกลออกไปตรงชายฝั่งมณฑล[[เคธเนส]] [[สก็อตแลนด์]] ซึ่งได้เคยทรงใช้เป็นที่ "หลบให้พ้นจากทุกสิ่งทุกอย่าง" เป็นเวลาสามสัปดาหในเดือนสิงหาคมและสิบวันในเดือนตุลาคม พระองค์ทรงเริ่มสนพระทัยในการแข่งม้าที่ยังอยู่ต่อเนื่องตลอดพระชนม์ชีพ โดยทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ผู้ชนะจากการแข่งขันจำนวนห้าร้อยรายการ สีฟ้าอ่อนที่โดดเด่นของพระองค์ได้นำมาผูกไว้กับม้ามากมาย อย่างเช่น Special Cargo ซึ่งเป็นผู้ชนะในการแข่งขัน Whitbread Gold Cup และ The Argonaut ในปี [[พ.ศ. 2527]] แม้ (ตรงข้ามกับข่าวลือ) พระองค์ไม่ทรงเคยวางพนัน แต่ก็ทรงได้บทวิจารณ์การณ์การแข่งขันโดยตรงยัง[[ตำหนักคลาเรนซ์]] พระราชฐานในกรุงลอนดอนของพระองค์ ดังนั้นจึงทรงติดตามการแข่งขันได้
 
ก่อนการอภิเษกสมรสของ[[ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์|ไดอานา สเปนเซอร์]]กับ[[เจ้าเจ้าฟ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์|เจ้าเจ้าฟ้าชายชาลส์]]และหลังจากการสิ้นพระชนม์ของไดอานา สมเด็จพระบรมราชชนนีซึ่งเป็นที่รู้จักในเรื่องของเสน่ห์ส่วนพระองค์และต่อสาธารณชนทรงเป็นสมาชิกที่น่านิยมชมชอบมากที่สุดในพระราชวงศ์อังกฤษ ฉลองพระองค์อันเป็นสัญลักษณ์ที่มีพระมาลาเปิดหน้าประดับด้วยตาข่ายและชุดกระโปรงที่มีดิ้นประดับลายผ้ากลายมาเป็นรูปแบบส่วนพระองค์ที่โดดเด่นเป็นพิเศษ สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงมีความรักอันเข้าถึงได้ต่อศิลปะและทรงซื้อผลงานของ[[โคลด โมเน็ต์]] [[ออกัสตัส จอห์น]] และ[[ปีเตอร์ คาร์ล ฟาแบร์เช]] มากกว่าศิลปินคนอื่นๆ ภาพเขียนต่างๆ ที่ทรงซื้อมาได้โอนย้ายไปสู่[[สำนักการสะสมงานศิลป์หลวง]] (Royal Collection) ภายหลังจากการเสด็จสวรรคตของพระองค์
 
=== หนึ่งร้อยพรรษา ===
[[ไฟล์:QueenMum100.jpg|thumb|200px|พระฉายาลักษณ์สมเด็จพระบรมราชชนนี ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 100 พรรษา]]
 
ในช่วงปลายพระชนม์ชีพ สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงเป็นที่รู้จักในเรื่องของพระชนมายุที่ยืนยาว งานเฉลิมพระชนมพรรษาครบรอบ 100 พรรษาจัดขึ้นในหลายรูปแบบ เช่น ขบวนพาเหรดที่เฉลิมฉลองเหตุการณ์สำคัญในพระชนม์ชีพของพระองค์ การร่วมแสดงของ[[นอร์แมน วิสด็อม]]และ[[จอห์น มิลส์]] พระองค์ทรงร่วมเสวยพระกระยาหารกลางวันที่[[ศาลาว่าการกิลด์ฮอล]] กรุง[[ลอนดอน]] กับ [[จอร์จ คาเรย์]] [[อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี]] ซึ่งพยายามจะดื่มไวน์ในแก้วของพระองค์โดยบังเอิญ แต่การรีบห้ามของพระองค์โดยตรัสว่า ''"นั่นของเรานะ"'' ได้สร้างความขบขันไปทั่ว
 
ในเดือนธันวาคม [[พ.ศ. 2544]] สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงหกล้ม ทำให้กระดูกเชิงกรานของพระองค์ร้าว แต่ยังทรงยืนกรานที่ยืนเคารพเพลงชาติในงานพระราชพิธีรำลึกถึงพระราชสวามีเมื่อวันที่ [[6 กุมภาพันธ์]]ในปีต่อมา เพียงสามวันต่อมา [[เจ้าเจ้าฟ้าหญิงมาร์กาเรต เคาน์เตสแห่งสโนว์ดอน|เจ้าเจ้าฟ้าหญิงมาร์กาเรต]] พระราชธิดาพระองค์ที่สองก็สิ้นพระชนม์ลง นอกจากนี้พระองค์ทรงหกล้มและ เกิดบาดแผลบนพระกรในวันที่ [[13 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2545]] ณ [[พระราชวังซันดริงแฮม]] แพทย์และรถพยาบาลพร้อมด้วยหน่วยช่วยชีวิต (หน่วยหลังมาเพื่อการป้องกันไว้ล่วงหน้า) ถูกเรียกมายังพระราชวังแซนดริงแฮม ซึ่งแพทย์ได้รักษาบาดแผลที่พระกรให้กับพระองค์ แม้ว่าจะทรงหกล้ม สมเด็จพระบรมราชชนนีมีพระประสงค์จะเสด็จไปในงานพระศพของเจ้าเจ้าฟ้าหญิงมาร์กาเรตที่[[โบสถ์เซนต์จอร์จ]] [[ปราสาทวินด์เซอร์]]ในสองวันต่อมา ซึ่งเป็นวันศุกร์ในสัปดาห์นั้น สมเด็จพระราชินีนาถและพระบรมวงศ์ต่างก็ทรงเป็นห่วงกับการเสด็จมาของสมเด็จพระบรมราชชนนีซึ่งต้องเสด็จตรงจาก[[นอร์โฟล์ค]]ยังวินด์เซอร์ แม้กระนั้นพระองค์ก็เสด็จมาแต่ทรงยืนกรานว่าจะต้องไม่ทรงเผชิญหน้ากับสื่อมวลชนเลย ดังนั้นจึงไม่มีภาพของพระองค์ประทับบนเก้าอี้รถเข็นให้เห็นเลย
 
== สวรรคต ==
ในวันที่ [[30 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2545]] เวลา 15.30 นาฬิกา สมเด็จพระบรมราชชนนีเสด็จสวรรคตอย่างสงบขณะบรรทมหลับที่ตำหนักรอยัลล็อดจ์ เมืองวินด์เซอร์ โดยมี[[สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร|สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2]] พระธิดายังคงทรงพระชนม์ชีพประทับอยู่เคียงข้าง พระองค์ประชวรด้วยโรคหวัดมาตลอดสี่เดือน มีพระชนมพรรษาได้ 101 พรรษาและยังทรงเป็นเชื้อพระวงศ์ที่มีพระชนม์ชีพยาวนานที่สุดใน[[ประวัติศาสตร์อังกฤษ]]
 
พระองค์ทรงปลูกดอกชาในทุกอุทยานของพระองค์ และด้วยพระบรมศพของพระองค์ถูกนำมาจากตำหนักรอยัลล็อดจ์ เมืองวินด์เซอร์เพื่อตั้งไว้ให้พสกนิกรมาสักการะที่[[ห้องโถงใหญ่เวสต์มินสเตอร์]] ดอกชาจากอุทยานของพระองค์จึงถูกนำมาวางบนโลงพระบรมศพคลุมด้วยธงชาติอังกฤษ พสกนิกรจำนวนมากกว่าสองแสนคนเรียงแถวมาถวายสักการะพระบรมศพเพราะว่าโลงพระบรมศพตั้งอยู่ในห้องโถงใหญ่เวสต์มินสเตอร์ ใน[[อาคารรัฐสภา]]เป็นเวลาสามวัน ในช่วงเวลานั้นโลงพระบรมศพจะมีทหารม้าของสำนักพระราชวังและจากเหล่าทัพอื่นคุ้มกันอยู่ พระภาติยะทั้งสี่พระองค์คือ [[เจ้าเจ้าฟ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์]] [[เจ้าเจ้าฟ้าชายแอนดรูว์ ดยุกแห่งยอร์ก]] [[เจ้าเจ้าฟ้าชายเอ็ดเวิร์ด เอิร์ลแห่งเวสเซ็กส์]] และ[[ไวส์เค้านท์ลินเลย์]] ได้ประทับยืนคุ้มกันอยู่สี่มุมของโลงพระบรมศพที่จุดหนึ่ง นอกจากนี้ยังมี[[เจมส์ บลันท์]] พนักงานหน่วยกู้ชีวิตหนุ่ม ซึ่งต่อมากลายเป็นนักร้องชื่อดัง ร่วมยืนแบกโลงพระศพในช่วงเวลาหนึ่งด้วยเหมือนกัน
 
[[9 เมษายน]] ซึ่งเป็นวันพิธีพระบรมศพ พสกนิกรมากกว่าหนึ่งล้านคนอยู่เต็มลานนอก[[เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์]]และยาวตลอด 23 ไมล์จากใจกลางกรุงลอนดอนจนถึงที่พำนักสุดท้ายของพระองค์เคียงข้างพระราชสวามีและพระราชธิดาองค์เล็กในโบสถ์เซ็นต์จอร์จ ที่ปราสาทวินด์เซอร์ และจากความต้องการของพระองค์ หลังจากพิธีพระบรมศพให้นำพวงหรีดที่ได้วางอยู่บนโลงพระศพไปวางไว้บนหลุมฝังศพของทหารนิรนามในเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ ซึ่งสะท้อนให้รำลึกถึงวันอภิเษกสมรสของพระองค์
 
== พระอิสริยยศ และ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
บรรทัด 100:
* [[พ.ศ. 2479]] - [[พ.ศ. 2481]]: สมเด็จพระราชินี-จักรพรรดินี (Her Majesty The Queen-Empress)
* [[พ.ศ. 2481]] - [[พ.ศ. 2495]]: สมเด็จพระราชินี (Her Majesty The Queen)
* [[พ.ศ. 2495]] - [[พ.ศ. 2545]]: สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระบรมราชชนนี (Her Majesty Queen Elizabeth The Queen Mother)
 
=== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ===
บรรทัด 126:
{{จบกล่อง}}
 
{{พระราชสวามีและพระมเหสีอัครมเหสีสหราชอาณาจักร}}
 
{{เรียงลำดับ|อลิซาเบธ โบวส์ ลีออน}}