ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สังคมสงเคราะห์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 8:
ขณะที่สังคมสงเคราะห์ดำเนินการบนรากฐานที่เป็นวิทยาศาสตร์มากกว่าโดยมุ่งควบคุมและปฏิรูปปัจเจกบุคคล (ครั้งหนึ่ง ได้มีการสนับสนุนญัตติว่าความยากจนเป็นโรคอย่างหนึ่ง) ในสมัยปัจจุบันได้มีการใช้แนวเข้าสู่การศึกษาที่มีวิจารณญาณและเป็นองค์รวมมากขึ้นเพื่อทำความเข้าใจและแทรกแซงปัญหาสังคม ตัวอย่างเช่น สังคมสงเคราะห์ปัจจุบันได้นำไปสู่การสร้างกรอบมโนทัศน์ความยากจนใหม่ว่าเป็นปัญหาของผู้มีอันจะกินต่อผู้ไม่มีอันจะกินมากกว่าสถานะในอดีตที่เป็นโรค ความเจ็บป่วยหรือข้อบกพร่องทางศีลธรรมที่ต้องการการรักษา ซึ่งยังชี้ไปยังการพัฒนาทางประวัติศาสตร์อีกอย่างหนึ่งในวิวัฒนาการของสังคมสงเคราะห์ คือ เมื่อสังคมสงเคราะห์มีส่วนมากขึ้นในการควบคุมสังคม ก็ได้กลายมาเป็นวิชาชีพที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างพลังทางสังคมมากขึ้น ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่านักสังคมสงเคราะห์สมัยใหม่ไม่ได้ข้องเกี่ยวกับการควบคุมสังคม (พิจารณาตัวอย่างเช่น นักคุ้มครองเด็กตามกฎหมาย) และนักสังคมสงเคราะห์ส่วนมากจะตกลงว่าสังคมสงเคราะห์สมัยใหม่เป็นความตึงเครียดและการถกเถียงที่กำลังดำเนินอยู่
== ความหมายใหม่ของสังคมสงเคราะห์ ==
สมาพันธ์นักสังคมสงเคราะห์นานาชาติ (International Federation of Social Workers-IFSW) และสมาคมโรงเรียนสังคมสงเคราะห์นานาชาติ International Assosiation of Schools of Social work-IASSW) ได้มีการให้ความหมายใหม่ของสังคมสงเคราะห์ในเดือนมีนาคม 2013 และประกาศในวันที่ 10 เมษายน 2013 ถึงนิยามใหม่ของสังคมสงเคราะห์ที่ใช้ในระดับนานาชาติไว้ดังนี้ สังคมสงเคราะห์ หมายถึง "วิชาชีพสังคมสงเคราะห์ " ส่งเสริมสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การแก้ปัญหาความสัมพันธ์ของมนุษย์ เสริมพลัง และส่งเสริมเสรีภาพของประชาชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยใช้ทฤษฎีที่เกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์และระบบสังคม งานสังคมสงเคราะห์ต้องเข้าแทรกแซงช่วยเหลือในจุดที่คนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมของเขา สิทธิมนุษยชนและความเป็นธรรมทางสังคมเป็นหลักการพื้นฐานในงานสังคมสงเคราะห์
สังคมสงเคราะห์ หมายถึง "วิชาชีพสังคมสงเคราะห์ " ส่งเสริมสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การแก้ปัญหาความสัมพันธ์ของมนุษย์ เสริมพลัง และส่งเสริมเสรีภาพของประชาชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยใช้ทฤษฎีที่เกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์และระบบสังคม งานสังคมสงเคราะห์ต้องเข้าแทรกแซงช่วยเหลือในจุดที่คนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมของเขา สิทธิมนุษยชนและความเป็นธรรมทางสังคมเป็นหลักการพื้นฐานในงานสังคมสงเคราะห์
 
== การพัฒนาวิชาชีพร่วมสมัย ==