ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปราสาทโอซากะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Natty sci (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Natty sci (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 22:
 
หอสูงของปราสาทได้รับการซ่อมแซมใหม่ในปี [[พ.ศ. 2540]] การซ่อมแซมในครั้งนี้ได้นำโครงสร้างอันงดงามของกำแพงความบริสุทธิ์และความสุกใสของทองคำกลับมาให้เราเห็นอีกครั้ง ความงดงามของปราสาทจึงได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของเมืองโอซะกะ
 
=== ประวัติ ===
ในปี ค.ศ. 1583 [[โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ]] สั่งให้มีการก่อสร้างปราสาทโอซะกะที่บริเวณวัดอิชิยะมะฮงกัน โดยนำแบบแปลนมาจาก[[ปราสาทอะซุชิ]] อันเป็นศูนย์บัญชาการหลักของ[[โอะดะ โนะบุนะงะ]] โทะโยะโตะมิต้องการจะสร้างให้เหมือนกับปราสาทอะซุชิ แต่สุดท้ายแล้วกลับโดดเด่นกว่า โดยหอคอยหลักมี 5 ชั้น และมีชั้นใต้ดินอีก 3 ชั้น มีใบไม้ทองที่ด้านข้างของปราสาท ทำให้ตัวปราสาทสวยงามโดดเด่นประทับใจผู้พบเห็น ในปี ค.ศ. 1585 เมื่อตัวปราสาทแล้วเสร็จ โทะโยะโตะมิจึงเริ่มแผนขยายตัวปราสาทเพิ่อป้องกันการรุกรานจากข้าศึก จนประทั่งในปี ค.ศ. 1597 การก่อสร้างได้แล้วเสร็จและฮิเดะโยะชิได้เสียชีวิตลง ตัวปราสาทจึงตกเป็นของบุตรของฮิเดะโยะชิ คือ [[โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะริ]]
 
ในปี ค.ศ. 1600 [[โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ]] ปราบศัตรูลงได้ใน[[ยุทธการเซะกิงะฮะระ]]และเริ่มจัดตั้ง[[รัฐบาลบะกุฟุ]]ที่[[เอะโดะ]] ในปี ค.ศ. 1614 โทะกุงะวะเริ่มโจมตีกองกำลังของฮิเดะโยะริในช่วงหน้าหนาวจนเข้าสู่ยุทธการ[[การล้อมโอซะกะ]]<ref>{{cite news | first=Miki | last=Meek | coauthors= | title=The Siege of Osaka Castle | date= | publisher= | url =http://ngm.nationalgeographic.com/ngm/0312/feature5/zoomify/main.html | work =National Geographic Magazine | pages = | accessdate = 2008-01-22 | language = }}</ref> แม้กองกำลังของโทะโยะโตะมิมีจะน้อยกว่ากองกำลังของโทะกุงะวะเกือบครึ่งหนึ่ง แต่ก็สามารถต้านทานทัพ 200,000 นายของโทะกุงะวะและรักษากำแพงเมืองเอาไว้ได้
 
ในช่วงฤดูร้อนปี ค.ศ. 1615 ฮิเดะโยะริเริ่มขุดคูเมืองรอบนอกเพิ่มขึ้นอีกชั้น โทะกุงะวะจึงได้ส่งกองกำลังของตนไปโจมตีปราสาทโอซะกะอีกครั้งหนึ่งและสามารถเจาะกำลังทหารของโทะโยะโตะมิเข้าไปในกำแพงเมืองได้เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ปราสาทโอซะกะจึงตกเป็นของโทะกุงะวะ และตระกูลโทะโยะโตะมิก็ถึงคราอวสาน
 
ในปี ค.ศ. 1620 [[โทะกุงะวะ ฮิเดะตะดะ]] โชกุนคนที่ 2 แห่ง[[ตระกูลโทะกุงะวะ]] เริ่มบูรณะและสร้างปราสาทโอซะกะขึ้นมาใหม่ ยกระดับหอคอยให้สูงขึ้น ภายนอกมี 5 ชั้น ภายในมี 8 ชั้น ก่อสร้างกำแพงใหม่ให้เป็นเกียรติแต่ตระกูลซะมุไรแต่ละคน กำแพงในสมัยนั้นยังคงอยู่มาจนทุกวันนี้โดยนำหินมาจาก[[ทะเลเซะโตะใน]] และสลักยอดด้วยชื่อของตระกูลที่อุทิศให้กับการสร้างกำแพงเหล่านี้
 
ในปี ค.ศ. 1660 เกิดเหตุการณ์ฟ้าผ่าที่คลังแสงเป็นผลให้เกิดระเบิดและไฟไหม้ตัวปราสาท จากนั้นในปี 1665 เกิดฟ้าผ่าทำให้ตัวปราสาทหลักได้รับความเสียหายและพังลงมา
 
หลังถูกปล่อยทิ้งร้างมานาน รัฐบาลบะกุฟุต้องการจะซ่อมตัวปราสาทซึ่งมีส่วนให้ต้องซ่อมอีกมาก ในปี 1843 รัฐบาลจึงได้เรี่ยไรเงินจากประชาชนในท้องถิ่นเพื่อสร้างคอคอยขึ้นมาใหม่อีกครั้ง
 
ในปี ค.ศ. 1868 ปราสาทโอซะกะถูกล้อมด้วยกองกำลังจักรพรรดิต่อต้านรัฐบาลบะกุฟุ และตัวปราสาทก็ถูกเผาในสงครามกลางเมืองสมัย[[การปฏิรูปเมจิ]]
 
ต่อมา รัฐบาลเมจิได้ให้ปราสาทโอวะกะเป็นคลังแสงผลิตปืน อาวุธยุทธภัณฑ์ และระเบิด เพื่อขยายขีดความสามารถทางการทหารของญี่ปุ่นในแบบฉบับของตะวันตก<ref name="autogenerated1">{{cite web|url=http://www.ndl.go.jp/scenery/kansai/e/column/osaka_army_arsenal.html |title=Osaka Army Arsenal |publisher=Ndl.go.jp |date= |accessdate=2013-02-15}}</ref>
 
ในปี ค.ศ. 1928 ได้มีการสร้างหอคอยหลักขึ้นมาใหม่หลังจากที่เทศบาลเมืองโอซะกะสามารถระดมทุนจากประชาชนมาจำนวนมาก
 
ในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] คลังแสงกลายเป็นแหล่งผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ที่สำคัญของญี่ปุ่น มีคนงานกว่า 60,000 คน และเป็นเป้าหมายการโจมตีทางอากาศของฝ่ายพันธมิตรด้วย ทำให้ปราสาทโอซะกะเสียหายอย่างหนักในช่วงท้ายสงครามเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1945 จากการทิ้งระเบิดครั้งใหญ่ คลังแสงเสียหายไปร้อยละ 90 และคนงานเสียชีวิต 382 คน
 
ในปี ค.ศ. 1995 เทศบาลนครโอซะกะเริ่มต้นโครงการบูรณะปราสาทโอซะกะอีกครั้ง โดยให้ภายนอกยังคงความเป็นยุคเอะโดะ แผนการบูรณะแล้วเสร็จในปี 1997 ตัวปราสาทมีความทันสมัยขึ้นมาก มีลิฟต์ติดตั้งภายในและมีสิ่งอำนวยความสะดวกแบบสมัยใหม่มากมาย
 
== อ้างอิง ==