ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัฒนธรรมกัมพูชา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 56:
 
== ศิลปะและวรรณคดี ==
=== ทัศนศิลป์ ===
ประวัติของทัศนศิลป์ในกัมพูชาย้อนหลังไปถึงยุคของนครวัดที่นิยมจารึกลงบนศิลา และได้รับศิลปะแบบตะวันตกเข้าสู่ประเทศด้วย แต่ศิลปะพื้นบ้านและศิลปะสมัยใหม่ตกต่ำลงในสมัยเขมรแดงที่มีการสังหารศิลปินและการทำลายศิลปะ ศิลปินที่รอดชีวิตได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล องค์กรเอกชนและต่างประเทศมากขึ้น
=== ดนตรี ===
ในช่วง พ.ศ. 2503 – 2513 [[สิน สีสมุท]]และ[[รส เสเร็ยโสเทีย]]เป็นนักร้องที่โด่งดังในประเทศ หลังจากที่ทั้งสองคนเสียชีวิตได้มีนักร้องรุ่นใหม่เกิดขึ้นและกัมพูชาได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากขึ้น
 
ดนตรีคลาสสิกของกัมพูชาเช่นพิณเพียต นิยมบรรเลงในงานเทศกาลต่างๆ และประกอบการแสดงระบำ เครื่องดนตรีประกอบด้วยโรเนียตเอกหรือระนาดเอก โรเนียตทุงหรือระนาดทุ้ม กองวงตวจหรือฆ้องวงเล็กและกองวงทมหรือฆ้องวงใหญ่ กลองสัมโพ กลองสกอร์ทมและสราไลหรือปี่
=== นาฏศิลป์ ===
{{บทความหลัก|นาฏศิลป์ในประเทศกัมพูชา}}
[[File:Danseuses kmer (2).JPG|thumb|right|220px|ระบำเทพอัปสรา]]
นาฏศิลป์ในประเทศกัมพูชาแบ่งได้เป็นนาฏศิลป์คลาสสิก นาฏศิลป์พื้นบ้านและการแสดงทางสังคม นาฏศิลป์คลาสสิกเกิดขึ้นในราชสำนัก มีความคล้ายคลึงกับนาฏศิลป์ไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2493 จะแสดงในงานเฉลิมฉลอง เทศกาลสำคัญและเพื่อการท่องเที่ยว ช่วง พ.ศ. 2503 เป็นยุคทองของนาฏศิลป์คลาสสิก บัลเลต์หลวงของกัมพูชาได้รับการยกย่องว่าเป็นความทรงจำของโลก นาฏศิลป์ของกัมพูชานิยมแสดงเกี่ยวกับเรื่องเรียมเกอร์หรือรามเกียรติ์ เช่นระบำสุวรรณมัจฉาและระบำมณีเมขลา ระบำอัปสราเป็นการแสดงของกัมพูชาที่กำเนิดจากรูปนางอัปสราสมัยพระนคร เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว ริเริ่มโดยพระนโรดม บุปผาเทวีก่อนสมัยเขมรแดงปกครองประเทศ และได้รับการยกย่องให้เป็นสัญลักษณ์ของกัมพูชา
 
ระบำพื้นบ้านของกัมพูชาเป็นการแสดงที่รูปแบบไม่ได้กำหนดตายตัวเช่นระบำคลาสสิก การแต่งกายเป็นไปตามการแต่งกายของกลุ่มชน เช่น ชาวจาม ชาวเขมรบนเผ่าต่างๆ และชาวนา นิยมบรรเลงด้วยวงมโหรี
ระบำเชิงสังคมเป็นการแสดงในโอกาสที่มีการเฉลิมฉลองทางสังคมเช่น รอมวง รอมกบัจ รอมสาละวันและลำเลียบ บางส่วนได้รับอิทธิพลจากการแสดงพื้นบ้านของลาวยกเว้นรอมกบัจที่ได้อิทธิพลจากระบำราชสำนักมาก
=== วรรณคดี ===
{{บทความหลัก|วรรณคดีกัมพูชา}}
[[File:Vorvong-Sorvong-tale-Pavie9.jpg|thumb|175px|left|ภาพวาดเรื่องวรวงศ์]]
วรรณคดียุคเริ่มแรกของกัมพูชาเป็นจารึกบนศิลาซึ่งเล่าถึงการสืบเชื้อสายของราชวงศ์ การศาสนา อาณาเขตยึดครอง และการจัดการภายในราชอาณาจักร เอกสารภาษาเขมรที่เก่าแก่ที่สุดเป็นการแปลพระไตรปิฎกและอรรถกถาจากภาษาบาลี เขียนโดยพระสงฆ์ลงบนใบลาน
 
เรียมเกอร์เป็นรามายณะฉบับเขมรที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียและยังมีอิทธิพลต่อระบำคลาสสิก และเป็นเรื่องที่มีประวัติการนำมาแสดงเก่าแก่ที่สุดในกัมพูชา กัมพูชามีวรรณกรรมมุขปาฐะที่หลากหลาย ซึ่งไม่มีการเขียนจนกระทั่งได้รับอิทธิพลจากยุโรป เรื่องที่มีชื่อเสียงมากคือวรวงศ์และสรวงศ์หรือวรวงศ์และเสารวงศ์ซึ่งเป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับเจ้าชายเขมรสององค์ มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรที่พระตะบอง ตุมเตียว เป็นเรื่องแนวความรักที่เป็นที่นิยมในกัมพูชา โครงเรื่องคล้าย[[โรมิโอและจูเลียต]]ของ[[เชคสเปียร์]] โดยมีที่มาจากกวีนิพนธ์ของ[[พระปทุมเถระ (โสม)]]
 
=== หนังตะลุง ===
[[ไฟล์:Nang Talung puppet.jpg|thumb|right|150px|''นังสเบกธม'']]