ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทหารรับจ้าง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดแม่แบบเรียงลำดับ
Varunrint (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
[[ไฟล์:Il Condottiere.jpg|thumb|right|280px|“ทหารรับจ้าง” โดย[[เลโอนาร์โด ดา วินชี]] ค.ศ. 1480]]
 
'''ทหารรับจ้าง''' ({{lang-en|'''mercenary'''}}) คือ บุคคลที่เข้าร่วมใน[[การขัดกันด้วยอาวุธ]]สู้รบ (armed conflict) โดยที่มิได้มีเชื้อชาติหรือเป็นสมาชิกของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งของคู่ขัดแย้ง แต่ "มีแรงจูงใจให้เข้าร่วมในการขัดกันสงคราม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพราะมีความประสงค์ส่วนตัวในอันค่าตอบแทนที่จะเอาซึ่ง และอันที่จริง เพราะได้รับคำมั่นของหรือในนามของคู่ขัดแย้งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งว่าจะให้ ค่าตอบแทนเป็นสำคัญ อันมีจำนวนซึ่งอาจจะมากมหาศาลยิ่งกว่าที่จะให้หรือได้ให้แก่นายทหารผู้อยู่ระดับเดียวกันและปฏิบัติการปฏิบัติหน้าที่ในกองทัพของภาคีผู้ว่าจ้างนั้น" (พิธีสารที่ 1 เพิ่มเติมเอกสารพิ่มเติม [[อนุสัญญากรุงเจนีวา ฉบับที่สาม]])<ref>[http://www.unhchr.ch/html/menu3/b/93.htm Protocol Additional to the Geneva Conventions of 12 August 1949, and relating to the Protection of Victims of International Armed Conflicts (Protocol 1)] Article 47</ref><ref> [http://www.m-w.com/dictionary/mercenary "mercenary"] in Webster's Dictionary. "one that serves merely for wages; especially a soldier hired into foreign service."</ref>
 
ผู้ที่เป็นทหารอาชีพที่ไม่ได้รับเกณฑ์ของกองทัพสามัญตามปกติไม่ถือว่าเป็นทหารรับจ้าง แม้ว่าจะได้รับเงินค่าตอบแทนจากบริการที่ให้ก็ตาม ฉะนั้นจึงเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าทหารรับจ้างเป็นผู้ที่มีอาชีพเช่นว่าเพราะสู้รบเพื่อเงินตอบแทน คำว่า “ทหารรับจ้าง” จึงเป็นคำที่มีความหมายเป็นนัยยะในทางลบ ถึงแม้ว่าจะมีบางกรณีที่เป็นการยกเว้นก็ตาม
 
ความแตกต่างระหว่าง “ทหารรับจ้าง” และ “[[อาสาสมัครต่างด้าว]]” (foreign volunteer) บางครั้งก็ออกจะคลุมเครือเมื่อ เพราะจุดประสงค์ในการเข้าร่วมการต่อสู้ของกองทหารด้าวไม่เป็นที่ชัดเจน ตัวอย่างเช่นในกรณีของ[[กองทหารต่างด้าวฝรั่งเศส]]” (French Foreign Legion) และ[[กองทหารกุรข่า]] (Brigade of Gurkhas) ที่ไม่ถือว่าเป็น “ทหารรับจ้าง” ภายใต้[[กฎการยุทธ]] (laws of war) เพราะแม้ว่าลักษณะของทั้งสองกลุ่มจะตรงกับคำจำกัดความของการเป็นทหารรับจ้างหลายอย่าง ที่ตรงกับที่ระบุไว้ในข้อ 47 ของพิธีสารที่ 1 เอกสารเพิ่มเติม [[อนุสัญญากรุงเจนีวา ฉบับที่สาม]] ค.ศ. 1949 แต่ก็ได้รับการยกเว้นภายใต้ข้อ 47 ข้อย่อย (ก), (ค), (ง),(จ) และ (ฉ) แต่จะอย่างไรก็ตามผู้สื่อข่าวบางคนก็ยังใช้คำว่า “ทหารรับจ้าง” ในการกล่าวถึงกองทหารสองกลุ่มนี้<ref>Hall, Macer. ''[http://www.telegraph.co.uk/htmlContent.jhtml?html=/archive/2000/03/19/nleg19.html Student joins Foreign Legion for his gap year]'' Sunday Telegraph, 19 March 2000</ref><ref>McLynn, Frank. ''[http://www.newstatesman.com/200001170056 Killer elite]'' New Statesman 17 January</ref>
 
== อ้างอิง ==