ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอ็นบีที 2 เอชดี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ZenithZealotry (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อน 1 การแก้ไขของ 171.101.88.122 (พูดคุย).ด้วยสจห.
บรรทัด 60:
สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ในฐานะที่เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ ดำเนินการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของราชการ และนำเสนอรายการที่เป็นสาระความรู้ โดยเฉพาะด้านการศึกษา, ศิลปวัฒนธรรม และประเพณี มาโดยตลอด ซึ่งรูปแบบการดำเนินงานนั้น สทท.11 ในส่วนกลางที่[[กรุงเทพมหานคร]] จะดำเนินการถ่ายทอดรายการเป็นส่วนมาก และบางช่วงเวลาจะให้สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยในส่วนภูมิภาค ดำเนินการถ่ายทอดรายการของตนเฉพาะท้องถิ่นไป แล้วแต่ช่วงเวลานั้นๆ อย่างไรก็ดีปฏิเสธไม่ได้ว่า ในช่วงระยะเวลาแรกๆ สทท.11 มักถูกมองข้ามจากผู้ชมส่วนใหญ่ เนื่องด้วยความเป็นสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาล ซึ่งไม่มีรายการที่สามารถดึงดูดผู้ชมได้ โดยเฉพาะรายการประเภทบันเทิง เช่น[[ละครโทรทัศน์]]หรือ[[เกมโชว์]] และประกอบกับเป็นสถานีโทรทัศน์ที่ไม่อาจหารายได้ด้วยการโฆษณา จึงทำให้ประเภทรายการที่ออกอากาศทาง สทท.11 มีอยู่อย่างจำกัด ส่งผลให้มีผู้ติดตามรับชมจำนวนไม่มากนัก
 
อย่างไรก็ดี ในปี [[พ.ศ. 2539]] สทท.11 มีข้อเสนอให้หน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะภาครัฐ สามารถแสดงภาพ[[สัญลักษณ์]]หรือ[[เครื่องหมายการค้า]]บนหน้าจอโทรทัศน์ได้ นอกจากนั้นก็ยังต่อยอดจากข้อเสนอข้างต้น ด้วยการผลิตภาพยนตร์โฆษณาของสถานีฯ เพื่อออกอากาศด้วยตนเอง อนึ่ง สทท.11 เริ่มมีชื่อเสียงในการถ่ายทอดการแข่งขันกีฬา จากการริเริ่มนำเทปการแข่งขัน[[มวยปล้ำ|มวยปล้ำอาชีพ]]มาออกอากาศในระยะหนึ่ง และถ่ายทอดสด[[ฟุตบอล]][[ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก]] ในช่วงปี [[พ.ศ. 2540]]-[[พ.ศ. 2543|2543]] จนกระทั่งในช่วงปี [[พ.ศ. 2545]] เป็นต้นมา สทท.11 ก็กลับมามีชื่อเสียงในเรื่องนี้อีกครั้ง เมื่อร่วมกับบริษัท ทศภาค จำกัด บริษัทลูกที่ประกอบกิจการโฆษณาในเครือ[[ไทยเบฟเวอเรจ]], [[สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์]] และ[[สถานีโทรทัศน์ไอทีวี]] (ปัจจุบันคือ [[สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส]]) ถ่ายทอดสดการแข่งขัน[[ฟุตบอลโลก 2002]] ซึ่งจัดขึ้นที่[[สาธารณรัฐเกาหลี]] (เกาหลีใต้) และประเทศ[[ญี่ปุ่น]] โดยไม่มีภาพยนตร์โฆษณาระหว่างการแข่งขัน ซึ่งหลังจากนั้น สทท.11 ก็ดำเนินการถ่ายทอดสดกีฬาอีกหลายรายการอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน อนึ่ง กรณีถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2002 นับเป็นเรื่องแปลกใหม่ของวงการโทรทัศน์ไทยในขณะนั้น เนื่องจากตามธรรมเนียมปกติที่ผ่านมา การถ่ายทอดโทรทัศน์ในมหกรรมกีฬาระดับนานาชาติ ผู้บริหาร[[รายชื่อสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย|สถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน]]ช่องต่างๆ มักรวมตัวกันในนาม''[[โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย]]'' (ทีวีพูล) เพื่อซื้อลิขสิทธิ์การเผยแพร่ในประเทศไทย และหารายได้ทดแทนค่าลิขสิทธิ์ ด้วยการเสนอภาพยนตร์โฆษณาสินค้าบริการต่างๆ คั่นระหว่างการถ่ายทอด
 
[[ไฟล์:รายละเอียดโลโก้เอ็นบีที.jpg|thumb|152px|left|รายละเอียดของตราสัญลักษณ์เอ็นบีที (2551)]]